เทียนชัย สิริสัมพันธ์

(เปลี่ยนทางจาก เทียนชัย ศิริสัมพันธ์)

พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ (19 มีนาคม พ.ศ. 2467 – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก รวมทั้งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และหัวหน้าพรรคราษฎร และมีฉายานามว่า"เจ้าพ่อป่าหวาย"

เทียนชัย สิริสัมพันธ์
เทียนชัยในปี 2502
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าประจวบ สุนทรางกูร
ถัดไปอาทิตย์ กำลังเอก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้ามานะ รัตนโกเศศ
ถัดไปก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 มีนาคม พ.ศ. 2467
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต3 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 (96 ปี)
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคราษฎร​ (2529–2535)
คู่สมรสคุณหญิงประพาฬสิทธิ์ สิริสัมพันธ์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พลเอก

ประวัติ

แก้

เทียนชัยเกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2467 เป็นบุตรขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี (จำรัส ศิริสัมพันธ์) และนางฉลอง ศิริสัมพันธ์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล วิทยาศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนเตรียมนายร้อยทหารบก รุ่นที่ 5 (ตทบ.5) และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 16

ครอบครัว

แก้

สมรสกับคุณหญิงประพาฬสิทธิ์ สิริสัมพันธ์ มีบุตรธิดา 4 คน คือ

  1. พล.ต. สิทธิชัย สิริสัมพันธ์
  2. พล.ต.หญิง สุนันทา สิริสัมพันธ์
  3. พล.อ. วุฒิชัย สิริสัมพันธ์
  4. ศจีจันท สิริสัมพันธ์

การทำงาน

แก้

พล.อ. เทียนชัย เริ่มรับราชการเป็นทหาร สังกัดกองทัพบก ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษป่าหวาย และเป็นผู้ก่อตั้งหน่วยทหารหน่วยนี้ จนได้รับฉายา ”เจ้าพ่อป่าหวาย” ต่อมาได้รับตำแหน่งเจ้ากรมรักษาดินแดน และรองผู้บัญชาการทหารบก ในระหว่างรับราชการทหาร ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ปราบสลัดอากาศ และยับยั้งการปฏิวัติรัฐประหารหลายครั้ง โดยครั้งสำคัญ คือ กบฏทหารนอกราชการ (กบฏ 9 กันยา) ซึ่ง พล.ต. มนูญกฤต รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พล.อ. เสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลของพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ระหว่างการไปราชการต่างประเทศ พร้อมกับพล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งพล.อ. เทียนชัย ในฐานะรองผู้บัญชาการทหารบก ได้รวมตัวกันต่อต้าน และควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา

หลังจากเกษียณอายุราชการได้เข้าทำงานทางการเมืองร่วมกับพล.อ. มานะ รัตนโกเศศ ก่อตั้งพรรคราษฎร (เปลี่ยนชื่อจากพรรคสหชาติ) จนได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[1] ต่อมาได้ปรับไปรับตำแหน่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[2] และดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 ในปี พ.ศ. 2533[3] นอกจากนั้นยังได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[4] ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และเขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[5]

เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย และมีความสนใจในด้านกีฬามวยไทย จนได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสหพันธ์สหพันธ์สมาคมมวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ และเป็นประธานที่ปรึกษาของสมาคมครูมวยไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  5. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๗๓ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เก็บถาวร 2022-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๕๙, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๒๖๗๓, ๑๙ สิงหาคม ๒๔๙๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖๓, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๖ ง หน้า ๕๑๘๘, ๘ ธันวาคม ๒๔๙๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ เก็บถาวร 2022-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๒๕๗๗, ๑๙ สิงหาคม ๒๔๙๕
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๓๙๗๑, ๑๘ กันยายน ๒๔๙๔
  19. AGO 1976-22 — HQDA GENERAL ORDERS: MULTIPLE AWARDS BY PARAGRAPHS
  20. HEADQUARTERS DEPARTMENT OF THE ARMY WASHINGTON, DC, 12 September 1986