รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494 หรือ รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เป็นการรัฐประหารอีกครั้งที่เกิดในประเทศไทย แต่เป็นรัฐประหารครั้งแรกที่เรียกได้ว่า เป็นการ รัฐประหารตัวเอง (ยึดอำนาจตัวเอง)
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้ยึดอำนาจในปี พ.ศ. 2494 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
คณะบริหารประเทศชั่วคราว | คณะรัฐมนตรีชุดจอมพลป. 2/1 | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม | นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) |
เหตุเนื่องจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี อ้างว่าไม่ได้รับความสะดวกในการบริหารราชการแผ่นดิน เหตุสืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2492 อันเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ขณะนั้น ไม่เอื้อให้เกิดอำนาจ คือให้ผู้ที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาจะเป็นข้าราชการประจำไม่ได้
สาเหตุ
แก้การยึดอำนาจกระทำโดยไม่ใช้การเคลื่อนกำลังใด ๆ เพียงแต่มีความเคลื่อนไหวโดยมีตำรวจและทหาร รวมทั้งรถถังเฝ้าประจำการในจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มาตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน จนกระทั่งในเวลาหัวค่ำ ของวันที่ 29 พฤศจิกายน ก็ได้มีการประกาศผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ว่าบัดนี้ คณะบริหารประเทศชั่วคราว ประกอบด้วย หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) พลเรือตรี สุนทร สุนทรนาวิน พลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี พลอากาศโท หลวงเชิดวุฒากาศ พลอากาศโท หลวงปรุงปรีชากาศ [1] ได้กระทำการยึดอำนาจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อผดุงไว้ซึ่งความมั่นคงของประเทศชาติ จากภัยคอมมิวนิสต์ที่กำลังคุกคามอย่างรุนแรง โดยเรียกตัวเองว่า "คณะบริหารประเทศชั่วคราว" และได้ความร่วมมือจากทั้ง 3 กองทัพ และตำรวจ โดยในประกาศ คณะบริหารประเทศชั่วคราว ฉบับที่ 1 คณะบริหารประเทศชั่วคราว แต่งตั้ง นายพลตำรวจโท เผ่า ศรียานนท์[2]เป็นผู้รักษาความสงบภายในทั่วราชอาณาจักร ต่อมา ในประกาศ คณะบริหารประเทศชั่วคราว ฉบับที่ 3 คณะบริหารประเทศชั่วคราว ได้เพิ่ม พลเอก ผิน ชุณหะวัณ พลโท เดช เดชประดิษฐยุทธ พลโท สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ให้ดำรงตำแหน่งคณะบริหารประเทศชั่วคราว[3]โดยผลของประกาศดังกล่าวส่งผลให้อำนาจหน้าที่ทั้งหลายทั้งปวงอันเป็นอำนาจบริหารราชการแผ่นดินอยู่ในบังคับบัญชาของ หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) พลเรือตรี สุนทร สุนทรนาวิน พลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี พลอากาศโท หลวงเชิดวุฒากาศ พลอากาศโท หลวงปรุงปรีชากาศ พลเอก ผิน ชุณหะวัน พลโท เดช เดชประดิษฐยุทธ พลโท สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในประกาศ คณะบริหารประเทศชั่วคราว ฉบับที่ 4 คณะบริหารประเทศชั่วคราว แต่งตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่ควบคุมและตรวจข่าวโฆษณาทางหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ จำนวน 15 ราย[4]ได้แก่ พันเอกหาญ อุดมสรยุทธ ว่าที่พันเอกอัมพร จินตกานนท์ นายพันตำรวจโทชีพ ประพันธ์เนติวุฒิ นายร้อยตำรวจเอกสัมพันธ์ รัญเสวะ พันตรีสุรแสง วิบูลย์เสข พันตรีทองหล่อ วีระโสภณ นายร้อยตำรวจเอกจำเนียร วงศ์ไชยบูรณ์ นายร้อยตำรวจเอกกวี บุษกร นายอิสระ กาญจนะคูหะ นายวิชิต หอมโกศล นายบรรเทอน อมาตยกุล นายประพัฒน์ ชื่นประสิทธิ์ นายชวน คนิษฐ์ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
ซึ่งมีคำปรารภในการรัฐประหารครั้งนี้ว่า
เนื่องจากสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันตกอยู่ในความคับขันทั่วไป
ภัยแห่งคอมมิวนิสต์ได้ถูกคุกคามเข้ามาอย่างรุนแรง ในคณะรัฐมนตรีปัจจุบัน
นี้ก็ยังดี ในรัฐสภาก็ดี มีอิทธิพลของคอมมิวนิสต์เข้าแทรกซึมอยู่เป็นมาก
แม้ว่ารัฐบาลจะทำความพยายามสักเพียงใด ก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหา
เรื่องคอมมิวนิสต์ได้ ทั้งไม่สามารถปราบการทุจริตที่เรียกว่า คอร์รับชั่น
ดังที่มุ่งหมายว่าจะปราบนั้นด้วย ความเสื่อมโทรมมีมากขึ้น จนเป็นทีวิตก
กันทั่วไปว่า ประเทศชาติจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในสถานการณ์
การเมืองอย่างนี้
จึงคณะทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ ผู้ก่อการ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คณะรัฐประหาร พ.ศ. 2490
พร้อมด้วยประชาชนผู้รักชาติ มุ่งความมั่นคงดำรงอยู่แห่งชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์บรมราชจักรีวงศ์ และระบอบรัฐธรรมนูญ ได้พร้อมกัน
เป็นเอกฉันท์ กระทำการเพื่อนำเอารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 กลับมาใช้ให้เป็นความ
รุ่งเรืองสถาพรแก่ประเทศชาติสืบไป
ผลลัพธ์
แก้จากนั้นคณะบริหารประเทศชั่วคราวได้สั่งยกเลิกรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2492 หันกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2475 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกมาใช้แทน ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้เป็นเหตุให้พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศคว่ำบาตรรัฐบาลทุกประการ เช่น ไม่ร่วมเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2495 เป็นต้น
อนึ่ง การรัฐประหารครั้งนี้ได้เกิดขึ้นก่อนที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งขณะนั้นได้เสด็จกลับจากสวิสเซอร์แลนด์เรือพระที่นั่งจะเข้าอ่าวไทย จะเสด็จนิวัติพระนครเพียง 16 ชั่วโมง[5] เท่านั้น พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินออกจากประเทศสิงคโปร์มายังประเทศไทยในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 และเสด็จพระราชดำเนินถึงประเทศไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2494 โดยที่คณะบริหารประเทศชั่วคราวได้ขอให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ลงพระนามในประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ แต่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัตฯ มิได้ทรงลงพระนาม โดยทรงให้เหตุผลว่า ควรจะยกให้เป็นพระราชวินิจฉัย อย่างไรก็ตามในวันต่อมา ก็ได้มีประกาศว่า คณะรัฐมนตรีชั่วคราว ถืออำนาจแทนพระเจ้าแผ่นดิน ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแล้ว[6][7] [8]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชโองการ
- ↑ ประกาศ คณะบริหารประเทศชั่วคราว ฉบับที่ 1
- ↑ ตำแหน่งคณะบริหารประเทศชั่วคราว
- ↑ ประกาศ คณะบริหารประเทศชั่วคราว ฉบับที่ 4
- ↑ เสด็จประพาสสวิสเซอร์แลนด์
- ↑ หน้า 198, นายควง อภัยวงศ์ กับ พรรคประชาธิปัตย์ โดย ณัฐวัติ สุทธิสงคราม (พ.ศ. 2522)
- ↑ หน้า 49, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (พ.ศ. 2555) ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ บทความที่ ๑๑๗. สยามวิกฤติ ตอนที่ ๑๑