โนพลอมแพลม [note 1] เป็นสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 4 ของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว แต่เป็นชุดแรกที่ใช้ชื่อจริงคือ ยืนยง โอภากุล ปรากฏบนปกเทป(เป็นอัลบั้มที่โด่งดังในอัลบั้มหนึ่ง ของ แอ๊ด คาราบาว)

โนพลอมแพลม
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาดพฤศจิกายน พ.ศ. 2533
บันทึกเสียงเซ็นเตอร์ สเตจ (2533)
แนวเพลงเพลงเพื่อชีวิต, ฮาร์ดร็อก
ค่ายเพลงดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์
โปรดิวเซอร์ยืนยง โอภากุล
ลำดับอัลบั้มของยืนยง โอภากุล
ก้นบึ้ง
(2533)ก้นบึ้ง2533
โนพลอมแพลม
(2533)
เวิลด์ โฟล์คเซน
(2534)เวิลด์ โฟล์คเซน2534

เดิมแอ๊ดกำหนดวางจำหน่ายอัลบั้มในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 แต่ติดเงื่อนไขที่มีเพลงซึ่งไม่ผ่านการเห็นชอบจาก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ กบว. อยู่ 3 เพลง คือ ไอ้หำ กับ ขนม ซึ่งถูกสั่งห้ามออกอากาศอย่างเด็ดขาด และ โนพลอมแพลม ซึ่งต้องใช้เวลาในการแก้ไขอยู่หลายครั้ง โดยใช้เวลาครึ่งเดือน จึงผ่านการอนุมัติให้สามารถออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ได้ เนื่องจากต้องใช้ในการโฆษณาสินค้าชนิดหนึ่ง จึงออกวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในปลายเดือนพฤศจิกายน โดยเป็นอัลบั้มชุดแรกของค่ายเพลง ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ (ปัจจุบัน วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ ถือลิขสิทธิ์ผลงานเพลงที่ทำกับดี-เดย์ เพื่อวางจำหน่ายซ้ำ)

เพลงต่าง ๆ ในอัลบั้ม แอ๊ดได้ตีแผ่ประเด็นต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีเพลงเกี่ยวกับความรักเช่นในอัลบั้มก่อน ๆ โดยประกาศจุดยืนตรงข้ามกับรัฐบาล (สมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี) [1] มีเพลงที่พอจะเป็นที่รู้จักและมีการเผยแพร่สืบต่อกันมา อย่างเช่น สืบทอดเจตนา ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อรำลึกแด่ สืบ นาคะเสถียร ที่เสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 โดยการฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้สังคมเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นำไปสู่การประชุมเพื่อกำหนดมาตรการป้องกันการบุกรุกป่าห้วยขาแข้งในอีก 2 สัปดาห์หลังสืบฆ่าตัวตาย และทำให้องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกประกาศให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ที่สืบเคยเป็นหัวหน้าเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ. 2534 หรือปีถัดมานั่นเอง

อัลบั้มชุดนี้ได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ สาขาอัลบั้มยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2533 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่กำหนดรางวัลนี้ขึ้นมาและยังใช้กันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยคณะกรรมการให้เหตุผลว่า ด้านดนตรีมีความหนักแน่นขึ้น พร้อมกับเนื้อหาที่เข้มข้นยิ่งขึ้น แสดงตัวตนของแอ๊ดได้อย่างเด่นชัดที่สุด

ในปี พ.ศ. 2562 เพลงโนพลอมแพลมได้นำมาทำเนื้อร้องใหม่อีกครั้ง ในชื่อเพลง "ชาติพัฒนา โนพรอบแบลม" เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการหาเสียงของพรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 [2]

รายชื่อเพลงในอัลบั้ม

แก้
  1. โนพลอมแพลม
  2. ไอ้หำ
  3. เขื่อน
  4. สนั่นป่า
  5. มากะพระ
  6. สืบทอดเจตนา
  7. ภควัทคีตา
  8. ขนม
  9. แมงกะไซด์
  10. ยืนยง

ผู้ร่วมงาน

แก้
  1. ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) : แต่งเพลงทั้งหมดในอัลบั้มนี้, กีตาร์, ร้องนำ
  2. อนุพงษ์ ประถมปัทมะ (อ๊อด คาราบาว) : เบส
  3. พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ปุ้ม ตาวัน) : คีย์บอร์ด, เรียบเรียง
  4. วงศกร รัศมิทัต (ต้น แมคอินทอช/ตาวัน) : กลองไฟฟ้า
  5. กิตติพันธ์ ปุณกะบุตร (หมู ตาวัน) : คีย์บอร์ด
  6. น้อย สตาร์ไบรท์ : ออร์แกน เพลง ยืนยง
  7. พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ (หมู) : ให้เสียงช่วงโซโล่เพลง ขนม
  8. อนุพงษ์ ประถมปัทมะ, เอก, ตาวัน : มิกซ์เสียง

เชิงอรรถ

แก้
  1. เป็นคำล้อเลียน "โนพร็อบเบลม" (No Problem, ไม่มีปัญหา) คำพูดติดปาก พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เมื่อให้สัมภาษณ์นักข่าว

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.carabao2524.com/board/show.php?ques_no=2365[ลิงก์เสีย]
  2. [1], เปิดตัวเพลงประจำพรรคเวอร์ชันใหม่

ข้อความในอัลบั้ม

แก้

งานชุดนี้ชื่อ โนพลอมแพลม ความจริงจะต้องออก
ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 33 แต่งานชุดนี้มีเพลงที่ไม่ผ่าน
การเห็นชอบจาก กบว.คือเพลง ไอ้หำ, โนพลอมแพลม,
ขนม ผมต้องเสียเวลากับการแก้ไขเพลงโนพลอมแพลม
อยู่ครึ่งเดือน เพื่อให้มันออกมาอย่างที่เห็น เพราะเพลง
อื่นแบนได้ แต่เพลงหัวนั้นต้องใช้สำหรับการโฆษณาถ้าถูก
แบนก็จะมีผลต่อการประชาสัมพันธ์ถ้าให้ผมเป็นเจ้าหน้าที่
กบว.ผมก็คงต้องคิดหนักต่อเพลงชุดนี้แต่ความเป็นจริง
ย่อมมิอาจปฏิเสธได้ เราต่างก็ทำหน้าที่ของพลเมืองตาม
หน้าที่ของแต่ละคน สิ่งที่ผมเห็นอาจจะเป็นสิ่งเดียวกับ
ที่เจ้าหน้าที่ กบว. เห็น แต่ท่านเหล่านั้นมิอาจทำอะไร
ได้มากกว่านี้ การอาศัยเพลงเป็นสื่อในการให้ความรู้และ
เรื่องราวชีวิตของผู้คนของแผ่นดินมีมานมนานแล้ว และผู้
ทำก็ได้รับความรู้สึกที่แตกต่างไปจากคนทำเพลงประเภทอื่น การสูญเสียพี่สืบ นาคะเสถียร เป็นอีกชีวิตหนึ่งที่น่า
เสียดายยิ่ง ทำไมประเทศไทยจึงละเลยต่อสิ่งที่ควรจะทำ
อย่างเช่น การพัฒนาวัฒนธรรมของชาติ การแก้ปัญหา
ความยากจน การศึกษา ป่าไม้และการอนุรักษ์ธรรมชาติ
ฯลฯ ดีกว่าที่นักการเมืองจะคิดแต่การลงทุน มันไม่ง่ายไป
หน่อยหรือ ? การเล่นกับเงินจำนวนมหาศาลย่อมบ่งชี้
ให้เห็นถึงเจตนาอันเป็นไปของ พณฯ ท่านทั้งหลาย การ
ทวนกระแสเช่นนี้ ถ้าคิดว่าเป็นความไม่หวังดีต่อชาติก็ช่วย
ไม่ได้ อาจจะยังไม่สายเกินไปถ้าจะเริ่มต้นใหม่ ไถ่บาปกรรม
ที่พวกเรากระทำกันไว้ต่อประเทศชาติและประชาชน จิตใจ
ของผมยังรักและเป็นห่วงทุกชีวิต จึงยังมิอาจแยกใครเป็น
ธรรมะ และ อธรรม อย่าละเลยต่อสิ่งที่ผมกำลังพูดถึง
เพราะมันคือปัญหาจริงๆ ในสังคมปัจจุบัน

— แอ๊ด คาราบาว