อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ
อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือ โบว์ เป็นสมาชิกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ขณะมีอายุได้ 28 ปี 3 เดือน 1 วัน
อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ | |
---|---|
เกิด | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (28 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 |
บิดามารดา | จินดา ระดับปัญญาวุฒิ วิชชุดา ระดับปัญญาวุฒิ |
การศึกษา
แก้บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
- จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสายปัญญา
- จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
เข้าร่วมชุมนุม
แก้จากการเปิดเผยของจินดา ผู้เป็นบิดา กล่าวว่า อังคณามิได้เป็นผู้ที่ชื่นชอบหรือสนใจการเมืองแต่ประการใด แต่เป็นคนที่ทนไม่ได้กับการโกงชาติและหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงมาร่วมชุมนุมกับทางพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้งครอบครัว ในวันที่เสียชีวิต เมื่อได้ทราบข่าวการสลายการชุมนุมที่หน้าอาคารรัฐสภา ทั้งครอบครัวก็ได้ออกเดินทางบ้านมาที่ชุมนุมทันที โดยที่จินดาบอกให้อังคณากลับบ้านไปอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าเสียก่อน แต่อังคณาได้ปฏิเสธ และเป็นหนึ่งในผู้ที่ไปชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล วังปารุสกวัน ในเวลาหัวค่ำ และถูกสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา อังคณาได้รับบาดเจ็บสาหัสโดยที่ซีกซ้ายของลำตัวตั้งแต่หน้าอกลงไปเหวอะหวะ หลังจากการตรวจสอบโดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ข้อสรุปสาเหตุการเสียชีวิตของ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ มาจากสารระเบิดแรงสูง 2 ชนิดด้วยกันคือ C4 และ RDX ซื่งเมื่อเทียบปริมาณสารเหล่านี้ที่มาจาก แก๊สน้ำตาที่ผลิตจากประเทศจีน จะมีสาร RDX อยู่ 7 กรัมแต่จากสภาพศพที่มี บาดแผลขนาดใหญ่บริเวณชายโครงด้านซ้ายและใต้ท้องแขนซ้ายท่อนบน ลึกถึงกระดูก และมีรอยสะเก็ดเป็นจุดเล็ก ๆ ที่หลังเท้า ข้างเท้า และบริเวณใกล้ตาตุ่มเท้าซ้ายบาดแผล[1] ดังกล่าวน่าจะเกิดจากสารระเบิดน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 200 กรัม แต่อย่างไรก็ดี สาเหตุของการเสียชีวิตครั้งนี้ ไม่สามารถสรุปได้เนื่องจากพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุถูกทำลาย มีการเคลื่อนย้ายผู้ตายออกจากที่เกิดเหตุโดยพลการ และมีการตรวจสถานที่เกิดเหตุแล้ว และไม่ได้มาตรฐานตามหลักสากล[2] ในส่วนของนาง วิชชุดา ผู้เป็นมารดา และนางสาว ดารณี น้องสาวคนกลาง นางสาว สุภาพร น้องสาวคนเล็กก็ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุมด้วย โดยต้องพักรักษาตัวกันที่โรงพยาบาล[3]
ปฏิกิริยาของสังคม
แก้หลังจากการเสียชีวิตของอังคณาแล้ว สังคมต่าง ๆ มีปฏิกิริยาต่อกรณีนี้อย่างรุนแรง
นาวาอากาศตรี จักรี จงศิริ กัปตันการบินไทยปฏิเสธที่จะไม่ให้ ส.ส.พรรคพลังประชาชนโดยสารไปในเที่ยวบินที่ตนขับด้วย หรือแพทย์ขึ้นป้ายว่าปฏิเสธที่จะรักษาตำรวจ[4] เป็นต้น และในส่วนที่กล่าวขานกันถึงมากที่สุด คือ การที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพที่นำโดย พล.อ. ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ออกแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ทางช่อง 3 สัมภาษณ์โดย สรยุทธ สุทัศนะจินดา เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยมีเนื้อหาเรียกร้องให้รัฐบาล สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออก
และต่อมาทางกลุ่มพันธมิตร ก็ได้เปิดสะพานไม้ไผ่ข้ามระหว่างทางเดินด้านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร กับทำเนียบรัฐบาล โดยให้ชื่อว่า สะพานอังคณา-เมธี เพื่อเป็นการระลึกถึงอังคณา และพันตำรวจโทเมธี ชาติมนตรี อีกหนึ่งผู้เสียชีวิตในวันที่ 7 ตุลาคม นี้ด้วย
พิธีสวดพระอภิธรรม
แก้ในวันที่ 8 ตุลาคม นางลีนา จังจรรจา เดินทางมาที่โรงพยาบาลรามาธิบดีและมอบเงินบริจาค 10000 บาท[5]ต่อมาศาสตราจารย์ ระพี สาคริก อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ องอาจ คล้ามไพบูลย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 กรุงเทพมหานคร เข้าร่วมเป็นประธานพิธีสวดอภิธรรม[6]ในขณะที่พันเอก ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ส่งพวงหรีดร่วมไว้อาลัย
ในวันที่ 9 ตุลาคม ท่านผู้หญิง ฉัตรแก้ว นันทาภิวัฒน์ รองราชเลขาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เดินทางมาเป็นตัวแทนอัญเชิญพวงมาลาวางหน้าศพพระราชทาน[7] มีผู้เข้าร่วมงานสวดอภิธรรมศพ เช่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 8 คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 กรุงเทพมหานคร สำราญ รอดเพชร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549 วีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน
วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2551 พลตรี จำลอง ศรีเมือง อดีตรองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาคาราวะศพและร่วมงานสวดอภิธรรม[8]
ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพปรากฎว่ามี เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ประเวศ วะสี จิระนันท์ พิตรปรีชา อังคาร กัลยาณพงศ์ คมทวน คันธนู ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิวกานท์ ปทุมสูติ กรรมการสมาคมภาษาและหนังสือในพระบรมราชูปถัมภ์[9] โสภณ สุภาพงษ์ สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานครวุฒิสภาไทย ชุดที่ 8 เขียนไว้อาลัย[10]
พิธีพระราชทานเพลิงศพ
แก้วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ไปยังเมรุวัดศรีประวัติ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เพื่อทรงเป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ นางสาว อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ โดยมีผู้เข้าเฝ้ารับเสด็จจำนวนมากหลากหลายกลุ่มอาทิ กลุ่มองคมนตรี พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ศาตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย องคมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายกองเอก พลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี
กลุ่มผู้บัญชาการทหารผู้บัญชาการตำรวจ พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[11] พลเอก อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม และพล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[12]
กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นาย กรณ์ จาติกวณิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 นาย ศิริโชค โสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 นาย บุญยอด สุขถิ่นไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 ศาสตราจารย์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 22[13]
กลุ่มสมาชิกวุฒิสภาไทย นางสาว รสนา โตสิตระกูล สมาชิก วุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 คำนูณ สิทธิสมาน สมาชิก วุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 และ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 นาย ประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 และ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 รองศาสตราจารย์ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 8 นาย ประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
นาย อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คุณหญิง จารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 นายกองเอก เชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี[14] และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต่าง ๆ เฝ้ารับเสด็จ รวมถึงแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นาย พิภพ ธงไชย นาย สมศักดิ์ โกศัยสุข นาย สุริยะใส กตะศิลา นาย ศรัณยู วงศ์กระจ่าง นางสาว ศิริลักษณ์ ผ่องโชค นาง สุนทรี เวชานนท์ นางสาว ลานนา คัมมินส์ นางสาว สโรชา พรอุดมศักดิ์ นางสาว อัญชลี ไพรีรักษ์[15]นาย สนธิ ลิ้มทองกุล และนาย วสันต์ วานิชย์[16] ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ
การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ส่งผลให้ฝ่ายพันธมิตรฯ ประกาศเลื่อนการชุมนุมที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งกำหนดให้มีในวันนี้ออกไปสองวัน[17][18]
สมเด็จพระบรมราชินีนาถมีพระราชปฏิสันถารกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต ซึ่งนาย จินดา ระดับปัญญาวุฒิ บิดา เปิดเผยว่าทรงแสดงความกังวลในสวัสดิภาพของผู้ชุมนุม และมีรับสั่งว่าจะจัดดอกไม้มาให้ภายหลังด้วย[18] กับทั้งมีพระราชปฏิสันถารกับ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งนายสนธิมิได้เปิดเผยรายละเอียด กล่าวเพียงว่าเป็นแต่เรื่องส่วนตัวที่ไม่สำคัญนัก[17]ในงานมีการแจกหนังสือที่ระลึกพระราชทานเพลิงศพเขียนคำไว้อาลัยโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี
ก่อนหน้านี้ สมเด็จพระบรมราชินีนาถได้ทรงพระราชอุทิศเงินจำนวนหนึ่งล้านบาทเป็นค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บในการจลาจลดังกล่าวทั้งสองฝ่าย ซึ่งฝ่ายพันธมิตรฯ กล่าวว่าเป็นสัญญาณแห่งการสนับสนุนฝ่ายตน อย่างไรก็ดี เงินดังกล่าวได้เวียนไปสู่ทั้งฝ่ายตำรวจและพันธมิตรฯ ที่บาดเจ็บโดยเท่าเทียมกัน[19]
ผู้เข้าร่วมพิธีสวดพระอภิธรรมและพิธีพระราชทานเพลิงศพ
แก้พิธีสวดพระอภิธรรมและพิธีพระราชทานเพลิงศพของนางสาว อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ มีผู้ร่วมงานเป็น
- องคมนตรี 4 ราย
- อดีตรองนายกรัฐมนตรี 3 ราย
- อดีตรัฐมนตรี 5 ราย
- อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง 3 ราย
- อดีตแม่ทัพกองทัพภาคที่ 1 2 ราย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 7 ราย
- สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 8 2 ราย
- สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 3 ราย
- สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 2 ราย
- สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 2 ราย
- อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด 2 ราย (อดีตผู้ว่าจังหวัดกาญจนบุรีและอดีตผู้ว่าจังหวัดเชียงใหม่)
- บุตรอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 ราย (พลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี บุตร พ่วง สุวรรณรัฐ เชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี บุตร ชูสง่า ฤทธิประศาสน์)
ที่มาเพียงรายเดียวได้แก่ รองราชเลขาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บุตรีสมุหราชองครักษ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2549 อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 22 สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ
- ↑ เปิดผลสรุป นิติวิทยาศาสตร์ ตร.สาเหตุการตาย "น้องโบว์-สารวัตรจ๊าบ" เหตุการณ์7 ตุลาเลือด
- ↑ คำไว้อาลัย แด่ “น้องโบว์” อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ จาก พ่อ แม่ น้อง ญาติและเพื่อน ๆ
- ↑ "แพทยสภายันหมอปฏิเสธไม่รักษา ตร.ได้ ไม่ผิดจริยธรรมเหตุมิใช่กรณีฉุกเฉิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-12. สืบค้นเมื่อ 2010-02-12.
- ↑ รับศพ “น้องโบว์” ตั้งวัดศรีประวัติ พ่อยกเงินบริจาคให้เอเอสทีวีทั้งหมด ฝากพันธมิตรฯ สู้ต่อ (ดูแผนที่ไปวัดศรีประวัติ)
- ↑ ลาลับ ไม่ดับสูญ วีรสตรีผู้กล้า อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ
- ↑ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระราชทานพวงมาลาวางหน้าศพ “น้องโบว์”
- ↑ “จำลอง” แฉแผน ตร.สวมรอยเป็น นปก.ป่วนทำเนียบ-ขู่พร้อมลุยกลับทั่วประเทศ
- ↑ ประวัติศิวกานท์ ปทุมสูติ
- ↑ หนังสือเก่าหนังสืองานศพ
- ↑ ราชินีเสด็จงานศพน้องโบว์ทรงชม"เด็กดี"รักษาสถาบันกษัตริย์
- ↑ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงชม “น้องโบว์” เป็นเด็กดี ช่วยชาติ ช่วยรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์
- ↑ กำลังใจผมเพิ่มขึ้นมาก
- ↑ "รวมเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-04-11.
- ↑ "ราชินี" ทรงชมอังคณาเด็กดี "ป้องชาติ-ช่วยรักษาสถาบัน"
- ↑ ผมเห็นแม่ของแผ่นดินอยู่เบื้องหน้า[ลิงก์เสีย]
- ↑ 17.0 17.1 กรุงเทพธุรกิจ. (2551, 13 ตุลาคม). พระราชินีรับสั่งน้องโบว์เป็นเด็กดี 'ช่วยชาติ-รักษาสถาบัน'. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: < http://www.bangkokbiznews.com/2008/10/13/news_302910.php[ลิงก์เสีย] >. (เข้าถึงเมื่อ: 13 ตุลาคม 2551).
- ↑ 18.0 18.1 Reuters. (2008, 13 October). Thai queen weighs in with anti-govt protesters. [Online]. Available: < http://in.reuters.com/article/worldNews/idINIndia-35930920081013 เก็บถาวร 2009-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (Accessed: 13 October 2008).
- ↑ BBC News. (2008, 13 October). Thailand's queen mourns protester. [Online]. Available: < http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/7666839.stm >. (Accessed: 13 October 2008).