พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์
พลเอก พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ หรือ บิ๊กเดฟ อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และอดีตประธานคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ในภารกิจดับไฟใต้[3][4][5] รวมถึงเป็นบุคคลสำคัญในการคลี่คลายสถานการณ์วิกฤติหลายเหตุการณ์[6]
พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ | |
---|---|
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก[1] | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564 | |
แม่ทัพภาคที่ 4 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563 | |
ก่อนหน้า | พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช |
ถัดไป | พลโท เกรียงไกร ศรีรักษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย |
คู่สมรส | นางแจ่มจิตร์ พูลสวัสดิ์ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พลเอก |
ผ่านศึก | ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[2] |
ประวัติ
แก้พลเอก พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ เป็นชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี[7][8] เขาเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 20 และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่น 31 โดยได้รับการบรรจุรับราชการในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยตลอดมา เขามีบทบาทสำคัญต่อการคลี่คลายสถานการณ์วิกฤติต่าง ๆ อาทิ เหตุจลาจลครั้งใหญ่ที่เรือนจำปัตตานี และเหตุระเบิดรถไฟ ในปี พ.ศ. 2559[9][10]
เดือนเมษายน พ.ศ. 2560 พลเอก พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ และทีมลงพื้นที่พบผู้นำท้องถิ่น หลังมีการร้องเรียนเรื่องดินจากการสร้างท่าอากาศยานเกาะพะงันไหลลงสู่ทะเล ทำให้ทะเลมีสีแดงกินพื้นที่กว่า 1 กิโลเมตร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อแนวปะการัง และเดินทางสู่เกาะเต่า เพื่อติดตามเรื่องการบุกรุกป่าต้นน้ำ รวมทั้งปัญหาขยะ ตลอดจนเตรียมจัดระเบียบเมืองท่องเที่ยว เนื่องด้วยเกาะพะงันและเกาะเต่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ[11] ส่วนในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน เขาได้เปิดเผยถึงความสำคัญของเกาะสมุยในฐานะแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งทุกปีเวลาฝนตกมักจะมีน้ำท่วม เนื่องด้วยมีการก่อสร้างขวางทางน้ำและการบุกรุกพื้นที่สาธารณะ ครั้นหน้าแล้งก็ขาดแคลนน้ำ เนื่องด้วยการแผ้วถางทำลายป่าต้นน้ำ ซึ่งส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยว จึงต้องการเข้าตรวจสอบ ร่วมกับหลายฝ่าย เพื่อร่วมมือแก้ปัญหา[12]
ส่วนในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 พลเอก พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ เป็นผู้สั่งการให้ พันเอก ธวัชชัย ทับทิมสงวน นายทหารสืบสวนสอบสวน กองทัพภาคที่ 4 นำเจ้าหน้าที่ทหารเฉพาะกิจ ร่วมกับตำรวจเข้าตรวจสอบโฮสเทลเถื่อนที่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของในเกาะเต่า เนื่องด้วยส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพสำหรับชาวไทย รวมถึงต่อความมั่นคงของประเทศ[13]
ภายหลัง เขาได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 4[14] โดยในเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 พลเอก พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ได้เข้าเยี่ยมคารวะอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี โดยเขาได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง หลังจากการพูดคุย ท่านผู้นำศาสนาได้ยืนยันว่าองค์กรศาสนาภายใต้การนำของจุฬาราชมนตรีจะให้การสนับสนุนแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดของแม่ทัพภาคที่ 4 อย่างเต็มที่[15][16]
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 พลเอก พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ เป็นผู้เสนอนโยบายให้ตรวจสอบเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน รวมถึงคุณภาพทางการศึกษา เพื่อป้องกันการทุจริต[17]
นอกจากนี้ เขายังดำรงตำแหน่งอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[18]
กิจกรรมเพื่อสังคม
แก้วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 พลเอก พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ได้เป็นประธานเกิดกิจกรรม "ปฏิบัติการรวมพลังแก้ไขปัญหายาเสพติด คืนความสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้" ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีส่วนราชการและประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 1,000 คน[19] ต่อมา ในวันที่ 7 พฤศจิกายน เขาได้เดินทางมาพบปะนักศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในนโยบายการแก้ปัญหายาเสพติด[20]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[21]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[22]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[23]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[24]
- พ.ศ. 2541 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[25]
อ้างอิง
แก้- ↑ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- ↑ จับแล้ว! ผู้ต้องสงสัยยิงถล่ม ชรบ.ยะลา “มทภ.4” ยันเป็นกลุ่มคนหน้าขาวก่อเหตุใหญ่หลายครั้งก่อนหนีกบดานเขานางจันทร์
- ↑ ไม่พลิก! "บิ๊กเดฟ" นั่งแม่ทัพ 4 คนใหม่ความท้าทายในภารกิจดับไต้ - คมชัดลึก
- ↑ ว่าที่ 5 เสือทบ.ลุยแดนใต้ - ไทยโพสต์
- ↑ กสม. ถกแม่ทัพภาคที่ 4 ขอกองทัพวางมาตรการคุ้มครองสิทธิผู้ถูกควบคุมตัวชายแดนใต้
- ↑ แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ลั่นจะปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติในพื้นที่ภาคใต้ - โพสต์ทูเดย์
- ↑ ฟิต! มทภ. 4 ลงพบชาวไทยพุทธยะลา รับปากพร้อมแก้ปัญหา จชต.
- ↑ "บ้านเมือง - แม่ทัพภาค 4 พบปะพี่น้องคนไทยพุทธยะลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-02. สืบค้นเมื่อ 2019-01-03.
- ↑ ส่งมอบตำแหน่ง “แม่ทัพภาค 4” คนใหม่ จัดสวนสนามเทิดเกียรติอดีตแม่ทัพสมเกียรติ
- ↑ มทภ. 4 สั่ง 'ฉก.ปัตตานี' คลี่คลาย เหตุระเบิดรถไฟ พบเสียชีวิต 1 ราย
- ↑ รอง มทภ. 4 ติดตามปัญหาการสร้างสนามบินเกาะพะงันหลังมีดินไหลลงทะเล
- ↑ พล.ต.พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ทวงคืนผืนป่าเกาะสมุย : ข่าวสด[ลิงก์เสีย]
- ↑ ฉก.ทภ.4 - ตร.ลุยจับโฮสเทลเถื่อนในเกาะเต่า พบมี 7 รายส่งดำเนินคดี
- ↑ "แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ ระบุ จะพัฒนากองทัพภาคที่ 4 ให้สมกับเป็นสถาบันหลัก ในการปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติในพื้นที่ภาคใต้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-14. สืบค้นเมื่อ 2019-01-03.
- ↑ 'พลโทพรศักดิ์ พูลสวัสดิ์' เข้าเยี่ยมคารวะจุฬาราชมนตรี ในโอกาสรับตำแหน่งแม่ทัพภาค 4
- ↑ ความท้าทาย ‘แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่’ หลังพบผู้นำศาสนา และมุมมองต่อ “โครงการพาคนกลับบ้าน”
- ↑ พบนร.ผีโผล่ชายแดนใต้ รายชื่อซ้ำ 1,300 คน ไม่ยืนยันตัวตน ส่อทุจริตงบอุดหนุนรายหัว[ลิงก์เสีย]
- ↑ อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ
- ↑ แม่ทัพภาคที่ 4 เปิดงาน KICK OFF “ปฏิบัติการรวมพลังแก้ไขปัญหายาเสพติด คืนความสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้”
- ↑ แม่ทัพภาค 4 ฝากนักศึกษาร่วมแก้ปัญหาใต้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๓๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๗, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๔๒, ๒๓ มกราคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๒๖, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒