ไพบูลย์ คุ้มฉายา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498) ชื่อเล่น ต๊อก เป็นนักการเมืองและนายทหารบกชาวไทย ดำรงตำแหน่งองคมนตรี[2] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม,รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม[3]รองประธานกรรมการใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ[4][5] รองประธานกรรมการในคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์ช้างป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ในภาคตะวันออก, ประธานกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ, หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ คสช.และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, อดีตแม่ทัพภาคที่ 1, อดีตผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์, อดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และอดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[6] กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์[7]และกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์[8]
ไพบูลย์ คุ้มฉายา | |
---|---|
![]() ไพบูลย์ ในปี พ.ศ. 2557 | |
องคมนตรีไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (6 ปี 359 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559[1] | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ชัยเกษม นิติสิริ |
ถัดไป | สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กันยายน พ.ศ. 2557 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498 |
คู่สมรส | พจณี คุ้มฉายา |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | ![]() กองทัพไทย |
ประจำการ | กองทัพบก พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2557 กองทัพไทย พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558 |
ยศ | ![]() |
ประวัติ แก้
ไพบูลย์ คุ้มฉายา หรือที่สื่อมวลชนมักจะเรียกว่า บิ๊กต๊อก เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ที่ตำบลบ้านดอน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายลออกับ นางจันทร์ คุ้มฉายา มีน้องชายชื่อ นายทรงบท คุ้มฉายา ดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรีตำบลบ้านดอน [9]
ไพบูลย์ คุ้มฉายา สมรสกับ พจณี คุ้มฉายา โดยมีบุตรี 1 คน คือ นางสาวเพ็ญวิษา คุ้มฉายา[10]
การรับราชการ แก้
- 1 ต.ค. 2550 - ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์[11]
- 1 ต.ค. 2552 - รองแม่ทัพภาคที่ 1[12]
- 1 ต.ค. 2555 - แม่ทัพภาคที่ 1[13]
- 1 ต.ค. 2556 - ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก[14]
- 1 ต.ค. 2557 - รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด[15]
การศึกษา แก้
ไพบูลย์จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนอู่ทอง ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ และจบจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 (ตท.15) รุ่นเดียวกับพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 26 (จปร.26) รุ่นเดียวพลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม
การเมือง แก้
ไพบูลย์ คุ้มฉายา ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของ ประยุทธ์ จันทร์โอชา[16] และเป็นหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อีกหน้าที่หนึ่ง ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เขาแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจำนวน 4 รายได้แก่ นายจิตรนรา นวรัตน์ นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายพิศิษฐ์ วิริยสกุล นายสุนทร สุนทรธาราวงศ์[17] และแต่งตั้ง อภิชัย หงษ์ทอง ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[18]
รางวัลที่ได้รับ แก้
- รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2559
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[20]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)[21]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[22]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[23]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[24]
อ้างอิง แก้
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก
- ↑ พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม,รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม
- ↑ รองประธานกรรมการใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ
- ↑ รองประธานกรรมการใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ
- ↑ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- ↑ กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- ↑ กรมทหารราบที่ 21 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-11. สืบค้นเมื่อ 2019-02-15.
- ↑ group="http://aaf.rtarf.mi.th/doc/jakdow59/59-6.pdf">"สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-11. สืบค้นเมื่อ 2019-02-15.
- ↑ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- ↑ รองแม่ทัพภาคที่ 1
- ↑ แม่ทัพภาคที่ 1
- ↑ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
- ↑ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
- ↑ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
- ↑ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๖ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๙, ๒๗ มกราคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๑, ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒
ก่อนหน้า | ไพบูลย์ คุ้มฉายา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ชัยเกษม นิติสิริ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม. 61) (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559) |
วิษณุ เครืองาม (รักษาการ) |