ข้าราชการไทย
ข้าราชการ คือ บุคคลที่รับการบรรจุแต่งตั้งให้รับราชการปฏิบัติหน้าที่ และรับเงินเดือนในกระทรวงหรือกรมต่างๆ ของประเทศไทย ส่วนองค์กรที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานอยู่นั้นเรียก ส่วนราชการ
ประวัติ
แก้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นครั้งแรก ให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกสรรผู้มีความรู้และความสามารถเข้ารับราชการ โดยกำหนดให้มีข้าราชการ 3 ประเภท คือ[1]
- ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่รัฐบาลบรรจุแต่งตั้งไว้ตามระเบียบฯ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นสัญญาบัตร (รองอำมาตย์ตรีขึ้นไป) และชั้นราชบุรุษ
- ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ คือ บุคคลที่รัฐบาลจ้างไว้ให้ทำการเฉพาะอย่าง หรือระยะเวลาชั่วคราว ตั้งแต่พ.ศ. 2518เป็นต้นมา เปลี่ยนให้เรียกว่าลูกจ้างประจำ
- เสมียนพนักงาน คือ ข้าราชการชั้นต่ำ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามอัตราที่ตั้งไว้
ประเภทของข้าราชการไทย
แก้ข้าราชการในประเทศไทย มีหลายประเภท ได้แก่
- ข้าราชการพลเรือนสามัญ[2]
- ข้าราชการในพระองค์[3]
- ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา[4]
- ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา[5]
- ข้าราชการทหาร[6]
- ข้าราชการตำรวจ[7]
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม[8]
- ข้าราชการฝ่ายอัยการ[9]
- ข้าราชการรัฐสภา[10]
- ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง[11]
- ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ[12]
- ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ[13]
- ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[14]
- ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน[15]
- ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร[16]
- ข้าราชการการเมือง
- ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
- พนักงานอื่นของรัฐ
- พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- พนักงานราชการ
- พนักงานมหาวิทยาลัย
- พนักงานกระทรวงสาธารณสุข
- พนักงานองค์การมหาชนและองค์การของรัฐอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการ
- ลูกจ้างประจำ
ข้าราชการพลเรือนสามัญ
แก้ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับปัจจุบันคือ พ.ศ. 2551) แบ่งออกเป็นประเภทย่อย 4 ประเภท คือ ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป[17]
การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ จะดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือในบางกรณีอาจมีการมอบหมายให้กรมต้นสังกัด เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกฯ
ข้าราชการในพระองค์
แก้ข้าราชการในพระองค์ คือ ข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในพระองค์พระมหากษัตริย์ โดยการจัดระเบียบราชการในพระองค์และการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ และสถานภาพของข้าราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา[18]
ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
แก้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คือ ข้าราชการพลเรือนในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ แต่ไม่รวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แบ่งออกเป็นประเภทย่อย 3 ประเภท คือ ประเภทวิชาการ ประเภทผู้บริหาร และประเภททั่วไป [19]ใช้ระบบมาตรฐานกลาง 11 ระดับ ในการจำแนกและกำหนดระดับตำแหน่ง มีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือ ก.พ.อ. (เดิมเรียกว่าคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือ ก.ม.) เป็นคณะกรรมการกลางในการบริหารบุคคลและกำกับดูแลข้าราชการ
การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จะดำเนินการโดยสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งโดยอิสระ ในปัจจุบันไม่มีการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว มีแต่เพียงการบรรจุและแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัย เข้ามาแทน
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
แก้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ[20]
ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา
แก้ประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆ ได้แก่
- ครูผู้ช่วย
- ครู
- อาจารย์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์
- รองศาสตราจารย์
- ศาสตราจารย์
ทั้งนี้ตำแหน่งตามข้อ 3-6 จะมีได้เฉพาะในสถานศึกษาที่สอนระดับปริญญา
ครูตามข้อ 1 และ 2 แบ่งระดับอัตราเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ดังนี้
- ครูผู้ช่วย เป็นตำแหน่งที่บรรจุแต่งตั้งในระดับแรก (เทียบเท่าอาจารย์ 1 ระดับ 5 เดิม ซึ่งในปัจจุบันการบรรจุบุคคลเข้ารับราชการครูมิได้เริ่มต้นในระดับ 3 หรือ 4 ดังแต่ก่อนแล้ว)
- ครู ค.ศ. 1 (เทียบเท่าอาจารย์ 2 ระดับ 6)
- ครู ค.ศ. 2 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการ แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 1 (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 7)
- ครู ค.ศ. 3 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 2 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8)
- ครู ค.ศ. 4 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 3 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 9)
- ครู ค.ศ. 5 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 4 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เป็นตำแหน่งใหม่ที่ขยายขึ้นมา เทียบเท่าตำแหน่ง อธิบดี ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในอดีต โดยอ้างอิงพรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 )
ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา
แก้ประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆ ได้แก่
- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
- ผู้อำนวยการสถานศึกษา
- รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
- ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
- ตำแหน่งที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
บุคลากรทางการศึกษาอื่น
แก้ประกอบด้วยตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ และตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จะมีคณะกรรมการกลางในการบริหารงานบุคคลและกำกับดูแลข้าราชการคือ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหรือก.ค.ศ.(เดิมเรียกว่า คณะกรรมการข้าราชการครู หรือ ก.ค.)
ข้าราชการฝ่ายทหาร
แก้ข้าราชการทหาร คือ บุคคลที่เข้ารับราชการทหารประจำการ ข้าราชการกลาโหม และพลเรือนที่บรรจุในอัตราทหาร ในหน่วยงานทางการทหารซึ่งสังกัดกระทรวงกลาโหมหรือกองทัพไทย(แบ่งเป็น กองบัญชาการกองทัพไทย, กองทัพบก, กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ) มีคณะกรรมการข้าราชการทหาร (กขท.) กำกับดูแลเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการทหาร[21]
ข้าราชการฝ่ายทหารยังแบ่งออกเป็น
- ข้าราชการทหาร คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติราชการทหาร แบ่งชั้นยศออกเป็นชั้นประทวน (ป.) และชั้นสัญญาบัตร (น.) ซึ่งจะมีชื่อเรียกยศต่างกันตามกองทัพที่สังกัด
- ข้าราชการพลเรือนกลาโหม คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติราชการในกระทรวงกลาโหม แต่ไม่ได้มียศแบบข้าราชการทหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สามัญ และวิสามัญ และแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ ชั้นสัญญาบัตรและต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร
ข้าราชการตำรวจ
แก้ข้าราชการตำรวจ คือ ข้าราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง มีฐานะเป็นกรม และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี แบ่งออกเป็นชั้นประทวน (ป.) และชั้นสัญญาบัตร (สบ.)
ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
แก้ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม คือ ข้าราชการที่บรรจุและแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติราชการในศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลยุติธรรม มีคณะกรรมการข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม(ก.ต.) เป็นคณะกรรมการกลางกำกับดูแล ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ แบ่งออกเป็น
- ข้าราชการตุลาการ(ศาลยุติธรรม) คือ ข้าราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีความในศาลยุติธรรม
- ดะโต๊ะยุติธรรม คือ ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
- ข้าราชการศาลยุติธรรม คือ ข้าราชการที่ทำหน้าที่ด้านธุรการในสำนักงานศาลยุติธรรม
ข้าราชการฝ่ายอัยการ
แก้ข้าราชการฝ่ายอัยการ คือ ข้าราชการที่บรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด (เดิมคือ "กรมอัยการ") มีคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) เป็นคณะกรรมการกลางในการกำกับดูแล ข้าราชการฝ่ายอัยการยังแบ่งออกเป็น
- ข้าราชการอัยการ
- ข้าราชการธุรการ ในหน่วยงานของอัยการ
ข้าราชการรัฐสภา
แก้ข้าราชการรัฐสภา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ข้าราชการรัฐสภาสามัญ คือ ข้าราชการซึ่งรับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ ใช้วิธีการจำแนกและกำหนดประเภทตำแหน่งแบบเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ
- ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง คือ ข้าราชการซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
แก้ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง คือ ข้าราชการที่รับราชการและดำรงตำแหน่งในศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง มีคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เป็นคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง แบ่งออกเป็น
- ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง คือ ข้าราชการที่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลปกครอง
- ข้าราชการสำนักงานศาลปกครอง คือ ข้าราชการที่ทำหน้าที่ด้านธุรการในสำนักงานศาลปกครอง
ข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ
แก้ข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่รับราชการและดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ แบ่งออกเป็น
- ข้าราชการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลรัฐธรรมนูญ
- ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่ทำหน้าที่ด้านธุรการในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ข้าราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
แก้ข้าราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คือ ข้าราชการในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งได้รับบรรจุ และแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 โดยการกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำ ตำแหน่งของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับ โดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า "ก.พ." ให้หมายถึง คณะกรรมการ ป.ป.ช. และ คำว่า "ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี" ให้หมายถึงสำนักงาน ป.ป.ช. ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าราชการในสายกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ข้าราชการซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย และข้าราชการทั่วไป ซึ่งแบ่งเป็น ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป [22]
ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
แก้- ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร คือ บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของกรุงเทพมหานคร หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่[24]
- ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
- ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร (เดิมเรียกว่า"ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร") คือ ข้าราชการที่รับราชการในสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร
- ข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา คือ ข้าราชการที่รับราชการในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดหรือในกำกับของกรุงเทพมหานคร (มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช)
- บุคลากรกรุงเทพมหานคร คือ ลูกจ้างกรุงเทพมหานครและพนักงานกรุงเทพมหานคร
- ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร คือ บุคคลซึ่งได้รับการแต่งต้งให้ปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานครโดยได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณหมวดค่าจ้างของกรุงเทพมหานครหรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครและกรุงเทพมหานครนำมาจัดเป็นค่าจ้างของลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
- พนักงานกรุงเทพมหานคร คือ บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณหมวดค่าตอบแทนของกรุงเทพมหานคร
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
แก้ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500 มาตรา 4 "ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แต่ไม่รวมถึงข้าราชการกรุงเทพมหานคร และมาตรา 3 วรรคสอง ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 "ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง
ตำแหน่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่น มี 4 ประเภท ประกอบด้วย
- ประเภทบริหารท้องถิ่น มี 3 ระดับ ได้แก่
- ระดับต้น
- ระดับกลาง
- ระดับสูง
- ประเภทอำนวยการท้องถิ่น มี 3 ระดับ ได้แก่
- ระดับต้น
- ระดับกลาง
- ระดับสูง
- ประเภทวิชาการ มี 4 ระดับ ได้แก่
- ระดับปฏิบัติการ
- ระดับชำนาญการ
- ระดับชำนาญการพิเศษ
- ระดับเชี่ยวชาญ
- ประเภททั่วไป มี 3 ระดับ ได้แก่
- ระดับปฏิบัติงาน
- ระดับชำนาญงาน
- ระดับอาวุโส
ทั้งนี้ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทจะถูกเรียกชื่อ แตกต่างกันไปตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรียกว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปฏิบัติงานในเทศบาล เรียกว่า พนักงานเทศบาล ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบล เรียกว่า พนักงานส่วนตำบล และข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานในเมืองพัทยา เรียกว่า พนักงานเมืองพัทยา ซึ่งเป็นการเรียกชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายจัดตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทนั้น ๆ ทำให้มีผู้เข้าใจผิดว่า พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบลและพนักงานเมืองพัทยาไม่ใช่ข้าราชการ ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วเจ้าหน้าที่รัฐดังกล่าว มีฐานะเป็นข้าราชการ เช่นเดียวกัน
ข้าราชการการเมือง
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ข้าราชการการเมือง คือ ผู้ที่รับราชการในตำแหน่งทางการเมืองซึ่งแบ่งออกเป็น
- ข้าราชการการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ ข้าราชการและผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมติของคณะรัฐมนตรี
- ข้าราชการการเมืองกรุงเทพมหานคร คือ ข้าราชการและผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในการปกครองท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร
- ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น คือ ข้าราชการและผู้ที่ดำรงตำแหน่งราชการทางการเมืองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พนักงานอื่นของรัฐ
แก้นอกจากข้าราชการแล้วยังมีพนักงานของรัฐประเภทอื่นที่มีลักษณะงานแบบเดียวหรือคล้ายคลึงกับข้าราชการ ซึ่งจะมีลักษณะการบริหารจัดการบุคลากรแบบเดียวกับข้าราชการพลเรือนวิสามัญในอดีต คือจ้างให้รับราชการหรือปฏิบัติงานเฉพาะ หรือไม่ดำรงตำแหน่งประจำแบบข้าราชการ ซึ่งได้แก่
พนักงานราชการ
แก้พนักงานราชการ บรรจุแทนอัตราของลูกจ้างประจำ
พนักงานมหาวิทยาลัย
แก้พนักงานมหาวิทยาลัย บรรจุแทนอัตราของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
แก้พนักงานรัฐวิสาหกิจ บรรจุแทนอัตราของข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
พนักงานองค์การมหาชนและหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ
แก้- พนักงานองค์การมหาชนและองค์การของรัฐ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ
พนักงานกระทรวงสาธารณสุข
แก้- พนักงานกระทรวงสาธารณสุข บรรจุทดแทน/รองรับบางตำแหน่งของข้าราชการ ในกระทรวงสาธารณสุขในระยะชั่วคราวจนกว่าตำแหน่งข้าราชการนั้นๆ จะว่างลงจึงจะบรรจุเป็นข้าราชการ และบรรจุทดแทนลูกจ้างประจำซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำแล้ว
ลูกจ้างประจำ
แก้- ลูกจ้างประจำ แปรสภาพมาจากข้าราชการพลเรือนวิสามัญ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
- ลูกจ้างประจำส่วนราชการ เงินงบประมาณ เป็นลูกจ้างประจำที่จ้างให้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ โดยใช้เงินงบประมาณจากกระทรวงการคลัง ปัจจุบันไม่มีการบรรจุลูกจ้างประจำประเภทนี้แล้ว โดยตำแหน่งที่ว่างลงจะถูกยุบเลิก และให้จ้างพนักงานราชการมาปฏิบัติงาน/ราชการแทนตำแหน่งที่ว่างลง
- ลูกจ้างประจำส่วนราชการ เงินรายได้ เป็นลูกจ้างประจำที่จ้างให้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ โดยใช้เงินรายได้ของส่วนราชการนั้นๆ
- ลูกจ้างชั่วคราว มีลักษณะงานและตำแหน่งแบบเดียวกับลูกจ้างประจำ แต่จ้างไว้ในระยะชั่วคราว
ข้าราชการในอดีต
แก้ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ
แก้ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ คือ ข้าราชการที่ส่วนราชการจ้างให้รับราชการในตำแหน่งเฉพาะ ซึ่งใช้ความสามารถ ฝีมือ และความชำนาญเป็นหลัก หรือจ้างให้รับราชการในระยะเวลาชั่วคราว ลักษณะงานจะเป็นเหมือนผู้ช่วยของข้าราชการพลเรือนสามัญ ภายหลังปีพ.ศ. 2518 รัฐบาลได้เปลี่ยนให้เรียกว่าลูกจ้างประจำ และพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ออกใหม่ก็ไม่ได้ระบุไว้ในประเภทของข้าราชการพลเรือน ซึ่งทำให้ข้าราชการพลเรือนวิสามัญถูกยกเลิกไป
เสมียนพนักงาน
แก้เสมียนพนักงาน คือ ข้าราชการพลเรือนระดับล่างที่ปฏิบัติงานทั่วไปในส่วนราชการซึ่งส่วนมากจะเป็นงานธุรการ ภายหลังให้รวมกับข้าราชการพลเรือนประเภทอื่นๆ ซึ่งหากเทียบกับปัจจุบันก็คือ ข้าราชการระดับปฏิบัติการ ,ข้าราชการประเภททั่วไป หรือข้าราชการฝ่ายสนับสนุน
ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
แก้ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ คือ ข้าราชการที่สังกัดหน่วยงานรัฐพาณิชย์ ได้แก่ กองไฟฟ้าหลวง กรมโยธาเทศบาล, กองไฟฟ้ากรุงเทพ กระทรวงมหาดไทย, กรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม และกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม ซึ่งภายหลังหน่วยงานเหล่านี้ได้แปรสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารงาน โดยหน่วยงานสุดท้ายที่มีการบรรจุข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์คือ กรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม ซึ่งในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ได้มี พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2521[25] หลังจากที่โอนหน่วยงานบางส่วนไปจัดตั้ง การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2519 ซึ่งหน่วยงานที่เหลือของกรมไปรษณีย์โทรเลขมีลักษณะงานแบบเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นผู้ปฏิบัติ จึงมีผลให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ถูกยกเลิกไป
ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในต่างประเทศ เช่น เอกอัครราชทูต และกงสุล ซึ่งภายหลังให้ถือเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่รับราชการในสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ดังนั้นในพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่ จึงไม่ได้ระบุไว้ในประเภทของข้าราชการพลเรือน
สิทธิ หน้าที่ของข้าราชการ
แก้บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมอำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี [26] นอกจากนั้นข้าราชการยังมีสิทธิต่างๆ อาทิ
- สิทธิในการรับบำเหน็จ บำนาญ
- สิทธิในการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- สิทธิเกี่ยวกับสวัสดิการนอกเหนือจากเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง อาทิ ค่ารักษาพยาบาลตนเอง บิดา มารดา คู่สมรส และบุตร ค่าเช่าบ้าน ค่าครองชีพชั่วคราว ฯลฯ
ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิ์รักษาพยาบาลข้าราชการ
แก้ตามปกติแล้วคนทั่วไปมักรู้สึกว่าข้าราชการได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาลที่ดี ตนเองเบิกได้ บิดามารดา บุตร คู่สมรส สามารถอาศัยสิทธิ์ได้ แต่ในความเป็นจริงสิทธิ์ราชการนั้นด้อยกว่าสิทธิ์อื่นในหลายกรณี
1. ข้าราชการมีสิทธิ์รับการดูแลแบบประคับประคองด้อยกว่าสิทธิ์บัตรทอง[27]
2. แม้ว่าข้าราชการจะสามารถรักษาได้ในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง[28] แต่ก็เป็นจุดอ่อนที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะข้าราชการจะมีปัญหาในการหาเตียง เนื่องจากข้าราชการไม่มีโรงพยาบาลคู่สัญญาที่มีข้อผูกพันธ์ทางกฎหมายเหมือนบัตรทองและประกันสังคม ซึ่งประเด็นนี้อาจเกิดอันตรายได้หากโรคมีความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาเตียงผู้ป่วยหนัก สิทธิ์ข้าราชการจะด้อยกว่าเป็นอย่างมาก[29] ทั้งนี้ โรงพยาบาลของรัฐมีปัญหาเตียงเต็ม[30] ที่เป็น 'ปัญหานิรันดร'[31] เช่นกรณี'คุณพีพี'ที่ใช้บัตรทอง โรงพยาบาลต้นสังกัดเตียงเต็ม และโรงพยาบาลรัฐอื่นๆ ก็เต็ม แม้จะพยายามหาเตียงแต่ก็ไม่มีที่ใดมีเตียงเลย[32] ซึ่งในระบบของรัฐจะมีเรื่องคนไข้รอเตียงไม่ไหวเสียชีวิตไปก่อน[33] ดังนั้น ยิ่งเป็นสิทธิ์ราชการแล้วจึงยิ่งด้อยที่สุดกรณีที่ต้องหาเตียง อีกทั้งไม่มีโรงพยาบาลใดๆ ที่รับผิดชอบแต่อย่างใด
ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2566 จากแพทย์หญิงอภิชญา สุขประเสริฐ นายแพทย์ชาวไทย ระบุว่าผู้ใช้สิทธิ์ข้าราชการพลเรือนสามัญใน กทม. ต่างนอนกองอยู่ในห้องฉุกเฉินอย่างน่าเศร้า โดยในขณะนี้เป็นสิทธิ์ที่สิ้นหวังที่สุด เพราะไร้ รพ. ต้นสิทธิ์ ในขณะที่สิทธิ์ซึ่งได้เตียงเร็วที่สุด กลับเป็นบัตรทอง[34]
3. บิดา มารดา คู่สมรส และบุตร หากมาใช้สิทธิ์ข้าราชการจะไม่สามารถเบิกค่าตรวจสุขภาพประจำปีแบบข้าราชการได้[35]
4. กรมบัญชีกลางปรับระเบียบการรับยาทางไปรษณีย์ให้ต้องยืนยันตัวตนที่โรงพยาบาล หรือผ่าน Application ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566[36] ซึ่งคนวัยเกษียณหลายคนทำไม่ได้ และหลายคนไม่มีลูกหลาน ขณะที่สิทธิ์บัตรทองไม่มีข้อจำกัดแบบนี้[37]
นายแพทย์สมศักดิ์ เทียมเก่า อาจารย์แพทย์ เห็นว่า "วิธีคิดของเราพอเห็นปัญหาแบบหนึ่ง เช่น มีคนไม่ยอมยืนยันตัวตน ช็อปปิ้งยา โกงการเบิกจ่ายยา ก็มักจะออกระเบียบใหญ่มาควบคุมคนที่ทำแบบนี้ แต่คนที่ทำงานถูกต้องมาตลอดกลับรับผลกระทบไปด้วย แทนที่จะจัดการปัญหาตรงนั้นให้ตรงจุด"[38]
5. ข้าราชการบำนาญไม่สามารถเข้าถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษา[39] โดยข้าราชการบำนาญไม่มีสถานะเป็นข้าราชการ[40] อีกทั้งการขอหารือและขออนุมัตินอกเหนือจากที่กําหนดไว้ตามกฎหมายด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการยังต้องทำผ่านหน่วยงานซึ่งบางกรณีผู้เกษียณไม่ได้เข้าหน่วยงาน และไม่ได้อยู่ในที่ตั้งเหมือนวัยทำงานปกติแล้ว[41]
6. ความล่าช้าหลายกรณี เช่น กรณีที่ผู้ป่วยได้รับความเสียหายจากการบริบาลทางการแพทย์ เมื่อเปรียบเทียบกับบัตรทอง ซึ่งเป็นสิทธิ์แรกสุดที่มีกฎหมายรองรับ ได้แก่ มาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาด้วยประกันสังคม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558 ส่วนสิทธิ์ข้าราชการ กรรมาธิการสาธารณสุขมีนโยบายผลักดันให้ได้รับสิทธิ์เหมือนบัตรทองและประกันสังคม[42] อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าดังกล่าวทำให้ผู้ใช้สิทธิ์ข้าราชการไม่ได้มีกองทุนช่วยเหลือเยียวยาเหมือนกับที่สิทธิ์อื่นมีไปก่อนหน้า เช่น วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 สภาผู้บริโภคได้เผยแพร่เคสที่ใช้สิทธิ์ข้าราชการไม่มีกองทุนช่วยเหลือและเยียวยาทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับสิทธิ์อีก 2 กองทุนมาก[43] หรือเรื่องผ้าอ้อมผู้ใหญ่ที่สิทธิ์บัตรทองได้รับก่อน[44] หรือเรื่องการรับยาใกล้บ้านก็เช่นกัน[45]
ความล่าช้ากรณีล่าสุดคือการปรึกษาแพทย์ผ่านระบบออนไลน์เมื่ออยู่ในต่างประเทศ สิทธิ์บัตรทองมีบริการให้คนไทยตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2567 แต่สิทธิ์ข้าราชการยังไม่มี[46]
7. ความเชื่อที่ว่าข้าราชการสามารถรับบริการในโรงพยาบาลของรัฐได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้นไม่เป็นความจริง โรงพยาบาลของรัฐตามนิยามของกรมบัญชีกลางจำนวนมาก โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่ไม่ได้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ยังคงเรียกเก็บเงินในรหัสรายการในราคาแพงกว่าอัตราที่กรมบัญชีกลางอนุญาตมาก ผู้ใช้สิทธิ์ข้าราชการต้องจ่ายส่วนต่างเหล่านั้นเองทุกครั้งที่รับบริการ ต่างจากบัตรทองที่ไม่มีสิทธิ์เก็บเงินเกินกว่า 30 บาทตามนโยบายของ สปสช. ได้เลย จึงทำให้สิทธิ์ข้าราชการเป็นตัวพยุงฐานะของโรงพยาบาลจำนวนมากที่ขาดทุนจากบัตรทอง หรือนำเงินที่ได้จากการเรียกเก็บผู้ใช้สิทธิ์ข้าราชการไปชดเชยยอดที่ขาดทุนจากบัตรทอง ซึ่งการเรียกเก็บเงินจากทั้งกรมบัญชีกลางและผู้ใช้สิทธิ์ข้าราชการดังกล่าวทำให้ยอดเบิกจ่ายรายหัวของกรมบัญชีกลางในงบกลางสูงกว่าสิทธิ์บัตรทอง และเพิ่มความลักลั่นทางสถิติการจ่ายเงินรายหัวของภาครัฐที่แสดงสถิติอย่างแพร่หลายของสื่อมวลชนในแต่ละปีงบประมาณ ยิ่งไปกว่านั้นผู้ใช้สิทธิ์ข้าราชการในกรุงเทพฯ ยังเป็นผู้ป่วยอนาถาในโรงพยาบาลเพราะสิทธิ์บัตรทองของโรงพยาบาลต้นสิทธิ์หลายแห่งเตียงเต็มความจุตามข้อมูลในข้อ 2 ที่จะเห็นได้ว่าเป็นสิทธิ์ที่ด้อยที่สุดมาเป็นเวลานานมากแล้วสำหรับผู้ป่วยใน (IPD) โดยเฉพาะผู้ป่วยหนัก หรือผู้ป่วยเฉียบพลันที่ต้องการเตียง สิทธิ์ที่ไม่มีสังกัดนี้จะแย่ที่สุดใน 3 กองทุนหลักของประเทศ
8. ไม่ปรากฏว่าสิทธิ์ข้าราชการมีสายด่วนให้ติดต่อได้ตลอดเวลาหากมีข้อสอบถาม ร้องเรียน ร้องทุกข์ ฯลฯ เหมือนบัตรทอง (โทร.1330 บริการตลอด 24 ชม.) และประกันสังคม (โทร.1506 บริการตลอด 24 ชม.)
ผู้สันทัดกรณี (นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม) เห็นว่า บัตรทองมีการพัฒนาไปไกลกว่าสวัสดิการข้าราชการ[47]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-26. สืบค้นเมื่อ 2023-05-26.
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑
- ↑ "พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-12-02.
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
- ↑ ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
- ↑ ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. ๒๕๕๕
- ↑ "ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-18. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
- ↑ ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2555
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ "พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-05-19.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบข้าราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-26. สืบค้นเมื่อ 2023-05-26.
- ↑ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑
- ↑ ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555
- ↑ "ประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ครั้งที่ 1-2564.pdf". Google Docs.
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๑๙ พ.ศ. ๒๕๒๑
- ↑ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20.
- ↑ "เทียบกันชัดๆ 3 กองทุนสุขภาพ ดูแลประคับประคอง-วาระท้ายของชีวิต 'บัตรทอง' ครอบคลุมที่สุด และ 'ดีที่สุด'". TheCoverage. 20 February 2023. สืบค้นเมื่อ 25 December 2023.
- ↑ "สรุปสวัสดิการประกันและค่ารักษาพยาบาลจากรัฐบาล". Ramathibodi Hospital. 25 December 2023. สืบค้นเมื่อ 25 December 2023.
- ↑ ""ข้อย่อยที่ 1 กรณีที่ 3 ใช้สิทธิราชการ" ใน "อยากอายุยืน ต้องเล่นกล้าม"". นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์. 16 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-24. สืบค้นเมื่อ 25 December 2023.
- ↑ "'รพ.รัฐเตียงเต็ม-รพ.เอกชนเตียงว่าง' ความจริงที่เจ็บปวด". ดร.เฉลิมพล ไวทยางกูร(bangkokbiznews). 19 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 December 2023.
- ↑ "หัวข้อ "ปัญหาอันเป็นนิรันดร์" ใน "คนจนเตรียมจองวัด? โรงพยาบาลรัฐ "เตียงเต็ม!"". mgronline. 12 March 2017. สืบค้นเมื่อ 25 December 2023.
- ↑ "ปัญหาโคม่า "รพ.รัฐเตียงเต็ม" ระเบิดเวลา…ประชาชนรอความตาย". mgronline. 29 May 2018. สืบค้นเมื่อ 25 December 2023.
- ↑ "'เพราะกำไรไม่ใช่หัวใจสำคัญ' ใน 'ภารกิจ "หมอบุญ" สร้างเมืองวัยเกษียณ'". จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์(posttoday). 5 July 2017. สืบค้นเมื่อ 25 December 2023.
- ↑ "ส่วนกรุงเทพฯ (และปริมณฑลบางส่วน)". อภิชญา สุขประเสริฐ. 4 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ" (PDF). รชตะ อุ่นสุข. 25 July 2014. สืบค้นเมื่อ 25 December 2023.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ส่อวุ่น 1 ต.ค. นี้ กรมบัญชีกลางปรับระเบียบผู้ป่วยข้าราชการ..." hfocus. 19 September 2023. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024.
- ↑ "ข้าราชการ...เบิกจ่ายเงิน subtopic แพทย์กังวลระบบซ้ำซ้อน ทำคนไข้งง". hfocus. 19 September 2023. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024.
- ↑ "subtopic สวนทางนโยบายรัฐบาลอำนวยความสะดวก ใช้ดิจิทัลเฮลธ์". hfocus. 19 September 2023. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024.
- ↑ "หัวอก "ข้าราชการเกษียณ" เข้าไม่ถึงยา-สิทธิการรักษา". bangkokbiznews. 9 December 2022. สืบค้นเมื่อ 25 December 2023.
- ↑ "ข้าราชการบำนาญ เป็นข้าราชการหรือไม่". มีชัย ฤชุพันธุ์. 22 October 2003. สืบค้นเมื่อ 25 December 2023.
- ↑ "คู่มือหรือมาตรฐานการให้บริการ" (PDF). กรมบัญชีกลาง. 1 July 2003. สืบค้นเมื่อ 25 December 2023.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "กมธ.สธ.เล็งเดินหน้าผลักดันเพิ่มสิทธิ ขรก.ให้ได้เงินเยียวยาเหมือนบัตรทอง-ประกันสังคม". hfocus. 22 January 2018. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024.
- ↑ "เมื่อลูกต้อง 'สูญเสียดวงตา' ด้วยมะเร็ง เพราะการคัดกรองที่ล่าช้า". สภาผู้บริโภค. 6 February 2023. สืบค้นเมื่อ 28 January 2024.
- ↑ "เริ่มแล้ววันนี้กองทุนบัตรทองแจกฟรีผ้าอ้อมผู้ใหญ่". hfocus. 18 April 2023. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024.
- ↑ "16 กลุ่มอาการ สิทธิบัตรทอง รับยาที่ร้านขายยา ได้เลย". hfocus. 24 November 2022. สืบค้นเมื่อ 18 January 2024.
- ↑ "คนไทย "สิทธิบัตรทอง" ต่างแดนพบหมอออนไลน์ฟรี ทุกที่เวลา". ฐานเศรษฐกิจ. 23 January 2024. สืบค้นเมื่อ 24 January 2024.
- ↑ "ชง 'ซูเปอร์บอร์ดฯ' แก้เหลื่อมล้ำสุขภาพ ให้สิทธิพื้นฐานทุกกองทุนไม่น้อยกว่า 'บัตรทอง'". The Coverage. 19 October 2023. สืบค้นเมื่อ 25 December 2023.