วังนางเลิ้ง เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ตั้งอยู่ริมถนนลูกหลวง ใกล้ปากคลองเปรมประชากรด้านทิศใต้ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ที่นี่จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

วังนางเลิ้ง
แผนที่
ที่มาบ้านตุ่มนางเลิ้ง
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปลี่ยนสภาพ
ประเภทวัง
ที่ตั้งแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต
เมือง กรุงเทพมหานคร
ประเทศ ไทย
พิกัด13°45′43″N 100°30′48″E / 13.76194°N 100.51333°E / 13.76194; 100.51333
เริ่มสร้างไม่ทราบ
เจ้าของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์พณิชยการพระนคร
พระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ประวัติ แก้

เดิมวังนี้เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ต้นราชสกุล อาภากร ซึ่งเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 28 ในเจ้าจอมมารดาโหมด วังนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับของ กรมหลวงชุมพรฯ ภายหลังจากเสด็จกลับจากการศึกษาวิชาทหารเรือจาก สหราชอาณาจักรนาน 7 ปี และหลังจากเสด็จนิวัติสยามประเทศแล้ว พระองค์ก็ทรงเข้ารับราชการที่กระทรวงทหารเรือ

วังที่ประทับของกรมหลวงชุมพรนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้สร้างในที่ดินที่แต่เดิมเป็นพื้นที่ของชาวมอญ ซึ่งตั้งเป็นชุมชนใหญ่อยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งทิศใต้ ชาวมอญหรือชาวรามัญกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ มีอาชีพขายตุ่ม ที่เรียกกันตามศัพท์พื้นเมืองว่า ตุ่มอีเลิ้ง ต่อมามีการเรียกตุ่มนี้ให้ฟังไพเราะขึ้นว่า ตุ่มนางเลิ้ง และด้วยเหตุที่วังนี้ตั้งอยู่ในหมู่บ้านค้าตุ่มนางเลิ้ง วังสำหรับเจ้าฟ้านายทหารเรือพระองค์นี้ จึงได้ชื่อว่า วังนางเลิ้ง ไปโดยปริยาย

วังนางเลิ้งได้ใช้เป็นวังที่ประทับของกรมหลวงชุมพรฯ ถึงปี พ.ศ. 2466 พระองค์ได้สิ้นพระชนม์ลงด้วยพระชันษาเพียง 43 ปี หลังการสิ้นพระชนม์ ทายาทจึงขายวังนางเลิ้งให้กับกรมยุวชนทหารบก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2491 วังนี้ใช้เป็นที่ตั้งของ โรงเรียนพณิชยการพระนคร ปัจจุบันคือ คณะบริหารธุรกิจและคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยที่พระตำหนักใหญ่ที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้นั้น ถูกรื้อมาทำเป็นอาคารไปแล้ว คงเหลือแต่เพียงเรือนหมอพร และประตูวัง ที่อยู่ด้านหลังศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งสร้างไว้เป็นที่ระลึกทางด้านหลังโรงเรียนเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้มากราบไหว้แทน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°45′42″N 100°30′48″E / 13.7617441°N 100.513342°E / 13.7617441; 100.513342