สถานีรถไฟสามเสน เป็นสถานีรถไฟที่สำคัญสถานีหนึ่ง เพราะอยู่ในย่านชุมชนใจกลางย่านที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ขบวนรถไฟที่วิ่งผ่านคือ ขบวนรถธรรมดา รถชานเมือง และรถนำเที่ยว ของทางรถไฟสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ เดิมมีอาคารทรงดอกเห็ดที่เป็นเอกลักษณ์สวยงาม ได้รับการออกแบบโดยอภัย เผดิมชิต แต่ต่อมารื้อลงเนื่องจากต้องใช้พื้นที่ในการวางตอม่อโครงการโฮปเวลล์

สามเสน
รถไฟชานเมือง
สถานีรถไฟสามเสน
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนเทอดดำริ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต และแขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1004 (สส)
ผู้โดยสาร
3,000-5,000 คน
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
โรงพยาบาลรามาธิบดี สายเหนือ
รถไฟชานเมือง/รถไฟธรรมดา
ชุมทางบางซื่อ
มุ่งหน้า พิษณุโลก
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
รถไฟชานเมือง/รถไฟธรรมดา
ชุมทางบางซื่อ
มุ่งหน้า สุรินทร์
สายใต้
รถไฟชานเมือง/รถไฟธรรมดา
ชุมทางบางซื่อ
สามเสน
Sam Sen
กิโลเมตรที่ 4.80
โรงพยาบาลรามาธิบดี
Ramathibodhi Hospital
–1.50 กม.
ประดิพัทธ์
Pradiphat
+1.57 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ ย่านชานเมือง
ที่ตั้ง
แผนที่
การปรับปรุงรางรถไฟและชานชาลาสถานีรถไฟสามเสน ต้นปี พ.ศ. 2560

สถานีรถไฟสามเสนตั้งอยู่ริมถนนเทอดดำริ มีพื้นที่อยู่ในแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต ในพื้นที่ชานชลาฝั่งไปสถานีชุมทางบางซื่อ (ตัวอาคารสถานี) และบางส่วนอยู่ในแขวงพญาไท เขตพญาไท ในพื้นที่ชานชลาฝั่งไปสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)

แผนผังสถานี

แก้
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 รถไฟชานเมือง มาจาก สถานีรถไฟกรุงเทพ
ชานชาลา 2 รถไฟชานเมือง มุ่งหน้า สถานีรถไฟกรุงเทพ
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
อาคารสถานี พื้นที่ขายบัตรโดยสาร ทางออก, ห้องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ระดับถนน - ป้ายรถประจำทาง

ตารางเวลาเดินรถ

แก้

เที่ยวขึ้น

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง สามเสน ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ช303 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 04.15 ลพบุรี 07.05 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช339 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 05.05 ชุมทางแก่งคอย 08.05 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ธ261 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 09.20 สวนสนประดิพัทธ์ 14.00
ธ201 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 09.30 พิษณุโลก 17.55
ธ209 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 11.15 บ้านตาคลี 15.40
ธ233 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 11.30 สุรินทร์ 20.00
ธ211 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12.55 ตะพานหิน 19.15
ธ207 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14.10 14.26 นครสวรรค์ 19.35
ช301 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 16.30 16.51 ลพบุรี 19.40
ช355 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 16.40 16.59 สุพรรณบุรี 20.04
ช341 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.00 17.19 ชุมทางแก่งคอย 20.00
ช317 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.30 17.45 ลพบุรี 20.20 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช313 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 18.20 18.43 ชุมทางบ้านภาชี 20.30 ยกเว้นวันหยุดราชการ
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวล่อง

แก้
ขบวนรถ ต้นทาง สามเสน ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ช376 รังสิต 05.35 06.23 หัวตะเข้ 07.40 กซข.74-ไม่มีเดินวันหยุดราชการ
ช314 ชุมทางบ้านภาชี 04.45 07.02 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.50 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ช356 สุพรรณบุรี 04.00 07.37 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.05
ช302 ลพบุรี 04.30 07.44 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 07.35
ช342 ชุมทางแก่งคอย 05.30 08.06 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.30
ช318 ลพบุรี 06.00 08.34 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.50 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ธ208 นครสวรรค์ 05.00 09.54 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.15
ช304 ลพบุรี 08.00 10.05 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.30
ช340 ชุมทางแก่งคอย 08.45 10.40 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 11.10 ยกเว้นวันหยุดราชการ
ธ212 ตะพานหิน 05.30 11.44 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12.10
ธ202 พิษณุโลก 06.05 13.40 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14.05
ธ234 สุรินทร์ 05.20 13.50 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 14.25
ธ262 สวนสนประดิพัทธ์ 14.35 18.35 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 19.20
ธ210 บ้านตาคลี 16.00 20.14 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 20.35
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เหตุการณ์สำคัญ

แก้

บริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟสามเสน ตรงจุดตัดของถนนเศรษฐศิริกับถนนกำแพงเพชร 5 ใช้เป็นที่ชุมนุมทางการเมืองระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม–4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 โดยพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อต่อต้านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม (พรบ.นิรโทษกรรม) ผู้กระทำผิดทางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อนที่จะเคลื่อนขบวนไปชุมนุมต่อที่ถนนราชดำเนิน[1] และกลายมาเป็นคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในที่สุด

อ้างอิง

แก้
  1. "รปภ.เข้มประชุมสภาฯถก'นิรโทษ'". คมชัดลึก.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°46′49″N 100°31′48″E / 13.780304°N 100.530062°E / 13.780304; 100.530062