คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (อังกฤษ: Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University) เกิดจากการรวมวิทยาลัยพยาบาล 2 แห่งเข้าด้วยกัน คือ วิทยาลัยพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์วชิรพยาบาล และ โรงเรียนพยาบาลโรงพยาบาลกลาง สังกัด สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิตเดิมเป็นสถาบันสมทบใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยมหิดล ตามลำดับ เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เริ่มแรกก่อตั้งใช้ชื่อว่าวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ ต่อมาได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช"

คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
Kuakarun Faculty of Nursing,
Navamindradhiraj University
ชื่อย่อพกร. / KFN
คติพจน์อจฺจนฺตสุขํ อมฺหากํ ปรทุกฺขวิโนทนํ
(การบรรเทาทุกข์แก่ผู้อื่น เป็นความสุขอย่างยิ่งของพวกเรา)
สถาปนา20 พฤษภาคม พ.ศ. 2497
(โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยวชิรพยาบาล)
(70 ปี 113 วัน)
คณบดีรศ.ดร. บุญทิวา สู่วิทย์
ที่อยู่
วารสารวารสารเกื้อการุณย์
เพลงมาร์ชเกื้อการุณย์
สี  สีขาว
สถานปฏิบัติคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลลาดกระบัง โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน โรงพยาบาลคลองสาวา โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลคลองสามวา ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 ศูนย์
เว็บไซต์kcn.ac.th

ประวัติ

แก้

คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เดิมชื่อ"โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยวชิรพยาบาล"ตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลวชิรพยาบาลเริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2497โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตพยาบาล เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลนครกรุงเทพ ได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 อาจารย์อบทิพย์ แดงสว่าง อาจารย์ผู้ปกครองโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยวชิรพยาบาล เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยวชิรพยาบาล และผู้วางหลักสูตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย ระยะการศึกษา 4 ปี ซึ่งเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่ใช้หลักสูตรการศึกษา 4 ปี พบว่าสถานที่ของโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยมีความคับแคบ จึงมองหาสถานที่ที่เหมาะสม และพบสถานที่ดินติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งนั้นก็คือ วังวัฒนาที่ประทับเดิมของพลเรือตรี นายแพทย์หม่อมเจ้าถาวรมงคล ไชยยันต์ และหม่อมหลวงคลอง ไชยยันต์(สนิทวงศ์) น่าจะเป็นสถานที่เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยวชิรพยาบาล เพราะบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และสถานที่กว้างขวาง อีกทั้งใกล้กับแหล่งที่ฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของวิชาชีพพยาบาล ท่านจึงเจรจาและขออนุมัติเพื่อซื้อที่ดินจากหม่อมหลวงคลอง ไชยยันต์ จำนวน 6 ไร่ 73 ตารางวา ปี พ.ศ. 2514 ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาครั้งแรก เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลและผดุงครรภ์(เทียบเท่าอนุปริญญา) และเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์วชิรพยาบาล"

ต่อมาโรงพยาบาลกลาง ประสบปัญหาการขาดแคลนพยาบาล จึงได้เปิดดำเนินการโรงเรียนพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ แห่งที่ 2 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ตั้งอยู่เลขที่ 514 ถนนหลวง แขวงเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 4 ไร่ 51 ตาราวา มีชื่อว่า "โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยโรงพยาบาลกลาง" เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี และต่อมาปี พ.ศ. 2515 ได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาเป็น"หลักสูตรการพยาบาลอนามัยและผดุงครรภ์" และเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยพยาบาลโรงพยาบาลกลาง"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร มีความเห็นว่า วิทยาลัยฯ ทั้งสองแห่งดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเช่นเดียวกันและเป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครเหมือนกัน จึงได้รวมกิจการเข้าเป็นวิทยาลัยเดียวกัน สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และได้ขอพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามว่า “วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์” ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2519

ปี พ.ศ. 2531 วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ ได้เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัยในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 106 ตอนที่ 120 ลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2532 และเปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็นพยาบาลศาสตรบัณฑิต

ปี พ.ศ. 2536 วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ได้เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดลตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัยในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 111 ตอนพิเศษ 44ง ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 เรื่องการรับวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์เข้าสมทบในมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2537

ปี พ.ศ. 2541 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี วชิระ หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ ในปัจจุบัน ได้ย้ายวิทยาลัยจากบริเวณอาคาร 1 (อาคารบรมราชชนนี) และอาคาร 3 ของวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ (วชิรพยาบาล) ไปอยู่ภายในบริเวณโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

ปี พ.ศ. 2544 สำนักการแพทย์ กทม. มีความประสงค์ที่จะใช้พื้นที่บริเวณวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ (โรงพยาบาลกลาง) เป็นสำนักงานของสำนักการแพทย์ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์จึงส่งมอบอาคาร 3 ชั้น และอาคาร 6 ชั้น ซึ่งเคยใช้เป็นห้องเรียน ห้องพักนักศึกษา ห้องประชุมขนาดใหญ่ ห้องทำการฝ่ายปกครอง และห้องพักอาจารย์ของวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ (โรงพยาบาลกลาง) ให้กับสำนักการแพทย์ กทม. เพื่อให้เป็นที่ทำการเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

วิทยาลัยฯ ได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับในด้านหลักสูตรเพื่อให้ได้บัณฑิตทางการพยาบาลที่มีคุณภาพ ความสามารถทางวิชาชีพพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2546 เป็นหลักสูตรที่วิทยาลัยฯ ได้พัฒนามาโดยตลอดและผ่านการรับรองหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านการเห็นชอบหลักสูตรจากสภาการพยาบาล เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

ต่อมาในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553[1] ได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับใน วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยให้โอน ภารกิจและงบประมาณของ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ สำนักการแพทย์ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของกรุงเทพมหานคร โดยใช้ชื่อว่า "คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์" [2]

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2554 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระนามในขณะนั้น) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า “มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช” และประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556[3]

ภาควิชา

แก้

สำนักงาน/ฝ่าย

แก้

ปัจจุบันคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มีสำนักงาน/ฝ่ายดังต่อไปนี้

  • สำนักคณบดี
  • ฝ่ายกิจการนักศึกษา
  • ฝ่ายบริการทางการศึกษา
  • ฝ่ายสงเสริมวิจัยและบริการวิชาการ

หลักสูตร

แก้
คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท

หลักสูตรประกาศนียบัตร

  • สาขาผู้ช่วยพยาบาล (การดูแลผู้อายุ)

หลักสูตรประกาศนียบัตรเฉพาะทางฯ

  • สาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
  • สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (NP)
  • สาขาศาสตร์และศิลป์การสอนทางการพยาบาล
  • สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ (GNP)
  • สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน (ENP)

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.)

  • สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)

  • สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

การรับรองสถาบัน

แก้

คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นสถาบันพยาบาลที่เปิดสอนมากกว่า 60 ปีได้รับการรับรองจาก สภาการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดสภาการพยาบาลมีการตรวจเยี่ยมสถาบัน เมื่อวันที่ 17-18 มีนาคม 2563 เห็นชอบให้รับรองสถาบัน 5 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563-2567 (ข้อมูล ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2563) ซึ่งได้รับการรับรอง 5 ปีอย่างต่อเนื่อง 4 วงรอบ

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

แก้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ รุ่น 58 ซึ่งเป็นรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559 ณ อาคารใหม่สวนอัมพร พระราชวังดุสิต ลานพระบรมรูปทรงม้า แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

รายนามผู้ได้รับปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ปีการศึกษา รายนาม
2557 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2558 อาจารย์สมบุญ เภาพัฒนา
2559 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมจิต หนุเจริญกุล

กิจกรรมภายในคณะ

แก้

ประเพณีจีบน้อง ประเพณีรับน้อง ประเพณีไหว้ครูและรับหมวก ประเพณีเดินเทียน ประเพณี Graduate bonfire

รายนามคณบดี/ผู้อำนวยการ

แก้
ทำเนียบผู้บริหารคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
รายนามคณบดี/ผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง ชื่อตำแหน่ง
อ.อบทิพย์ แดงสว่าง 2497 - 2502 อาจารย์ผู้ปกครองโรงเรียนพยาบาล
อ.นพ.เสนอ ตัณฑเศรษฐี 2503 - 2508 ผู้อำนวยการ
อ.นพ.ปรีชา วิทยาสารรณยุต 2509 - 2519 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิรพยาบาล
อ.นพ.คัมภีร์ มัลลิกกะมาศ 2513 - 2519 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกลาง
อ.โสภีไฉน สมิตเมฆ 2520 ผู้อำนวยการ
อ.สมรวย สุขพิศาล 2520 - 2521 ผู้อำนวยการ
อ.เจริญ ศรียาภัย 2521 - 2525 ผู้อำนวยการ
อ.สมบุญ เภาพัฒนา 2525 - 2540 ผู้อำนวยการ
อ.นิลวรรณ ศิริพิพัฒน์ 2540 - 2542 ผู้อำนวยการ
อ.สะอาด โสมะบุตร 2542 - 2543 ผู้อำนวยการ
ดร.เบ็ญจา เตากล่ำ 2543 - 2548 ผู้อำนวยการ
ผศ.นันทวรรณ เภาจีน 2548 - 2552 ผู้อำนวยการ
ผศ.ทรงสุข หงส์รพีพัฒน์ 2552 - 2554 รักษาการผู้อำนวยการ/รักษาการคณบดี
ผศ.ลักขณา ยอดกลกิจ 2554 - 2555 รักษาการคณบดี
รศ.ดร.ทัศนีย์ ทองประทีป 2555 - 2562 คณบดี
ผศ.ดร.สาระ มุขดี 2562 รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทนคณบดี
รศ.ดร.บุญทิวา สู่วิทย์ 2562 - ปัจจุบัน คณบดี

ความร่วมมือทางวิชาการ

แก้

[5]


สถาบันที่รับเป็นพี่เลี้ยง สังกัด ที่ตั้ง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

อ้างอิง

แก้
  1. พรบ.มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553
  2. ประกาศมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานในมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 4ง วันที่ 14 มกราคม 2554
  3. พรบ.เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร เป็นมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พ.ศ. 2556 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/A/053/1.PDF
  4. คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชและคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลง MOU ร่วมมือผลิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566
  5. ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์, สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีมติอนุมัติจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย.เป็นต้นไป เพื่อผลิตบุคลากรรองรับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดึงมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นพี่เลี้ยง, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2566
  • หนังสือ 4 ทศวรรษ เกื้อการุณย์
  • หนังสือ 5 ทศวรรษ เกื้อการุณย์
  • หนังสือ 6 ทศวรรษ เกื้อการุณย์

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้