ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (อังกฤษ: Chulabhorn Royal Academy) เป็นสถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี[4] (มิใช่สถาบันอุดมศึกษา แต่มีสถาบันอุดมศึกษาอยู่ในส่วนงาน) และจัดการศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย สร้าง ประมวล ประยุกต์ ส่งเสริม เผยแพร่ พัฒนา จัดการศึกษาและผลิตบุคลากรในระดับสูง เพื่อสร้างองค์ความรู้ เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข ให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชน ให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้ประสบภัยพิบัติ รวมทั้งส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม[5]
![]() | |
ชื่ออื่น | Chulabhorn Royal Academy |
---|---|
ชื่อย่อ | CRA |
คติพจน์ | เป็นเลิศ เพื่อทุกชีวิต |
ประเภท | สถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูง |
สถาปนา | 18 เมษายน พ.ศ. 2559 |
นายกสภาฯ | ศาสตราจารย์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี (องค์ประธาน)[1][2][3] |
รักษาการเลขาธิการราชวิทยาลัย | ศาสตราจารย์ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัติยราชนารี |
ที่ตั้ง | |
สี | ██ สีส้ม |
เว็บไซต์ | www.cra.ac.th |
ประวัติ แก้
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกอบด้วยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล โดยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานนาม "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ตาม พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติในวาระรับหลักการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 และได้ลงมติในวาระ 3 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 ด้วยคะแนน 151–0 เสียงโดยได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ชั้นนำของภูมิภาคในการผลิตและพัฒนาบุคลากรชั้นสูง ทำการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ เผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ การสาธารณสุข และให้บริการทางการแพทย์เป็นศูนย์กลางความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งทำงานประสานกับองค์การระหว่างประเทศ มีเป้าหมายสูงสุดคือการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเริ่มรับนักศึกษาของราชวิทยาลัยรุ่นแรกในปีการศึกษา 2560[6]
ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งได้กำหนดให้แยกสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ออกจากราชวิทยาลัยและยังให้อยู่ภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์ตามเดิม จึงได้ตัดกรรมการสภาราชวิทยาลัยที่มาจากสัดส่วนของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ออกด้วย อีกทั้งกำหนดให้อาจมีตำแหน่ง ประธานราชวิทยาลัย เพื่อให้สภาราชวิทยาลัยขอรับคำแนะนำและคำปรึกษาในกิจการทั้งปวงตามวัตถุประสงค์ของราชวิทยาลัย และประธานราชวิทยาลัยจะแต่งตั้ง รองประธานราชวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่ตามที่มอบหมายก็ได้[7]
กรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ แก้
วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยได้แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสิ้น 7 คน[8] ดังนี้
- ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสุพรรณ
- ศาสตราจารย์ ไผทชิต เอกจริยกร
- รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สรนิต ศิลธรรม
- รองศาสตราจารย์ สุธรรม อยู่ในธรรม
- เลอสรร ธนสุกาญจน์
- วุฒิพันธ์ วิชัยรัตน์
- บุษยา มาทแล็ง
ต่อมาในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการเผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิโดยได้แต่งตั้ง จรัมพร โชติกเสถียร เป็นกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
หน่วยงาน แก้
อ้างอิง แก้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี). เล่ม ๑๓๕ ตอน ๑๘๓ ง พิเศษ หน้า ๕. 1 สิงหาคม 2561.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งประธานสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี). เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๑๘ ง พิเศษ หน้า ๙. 28 กันยายน 2559.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี). เล่ม ๑๓๘ ตอน ๑๑๔ ง พิเศษ หน้า ๖๒. 27 พฤษภาคม 2564.
- ↑ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รับรางวัลชูเกียรติ “องค์กรคุณธรรมต้นแบบ” ประจำปี 2565 ในสังกัดสำนักนายกฯ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. "พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๙" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 เมษายน 2559. เล่ม ๑๓๓ ตอน ๗ หน้า ๑. 18 มกราคม 2559.
- ↑ ""ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" สถาบันใหม่ วิจัย-ผลิตแพทย์". มติชน. 18 มกราคม 2559.
- ↑ 7.0 7.1 ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐. เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑๓๑ ก หน้า ๒๔–๓๐. 27 ธันวาคม 2560.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการสภาราชวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (จำนวน ๗ ราย). เล่ม ๑๓๔ ตอน ๒๗ ง พิเศษ หน้า ๒. 24 มกราคม 2560.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงาน พ.ศ. ๒๕๕๙. เล่ม ๑๓๓ ตอน ๑๘๗ ง พิเศษ หน้า ๒๔. 24 สิงหาคม 2559.