กรมปศุสัตว์ (อังกฤษ: Department of Livestock Development) เป็นหน่วยงานราชการไทย ประเภทกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ทั้งด้านสุขภาพ การบำบัดโรค การบำรุงพันธุ์ การควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ สถานพยาบาลสัตว์ โรคระบาดสัตว์ การปศุสัตว์ ไปจนถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์

กรมปศุสัตว์
Department of Livestock Development
ตรากรมปศุสัตว์
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485; 82 ปีก่อน (2485-05-05)
กรมก่อนหน้า
  • กรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ
  • กรมการปศุสัตว์
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 69/1 ถนนพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10400
บุคลากร9,986 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี5,543,123,000 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • สมชวน รัตนมังคลานนท์, อธิบดี
  • โสภัชย์ ชวาลกุล, รองอธิบดี
  • ประภาส ภิญโญชีพ, รองอธิบดี
  • พงษ์พันธ์ ธรรมมา, รองอธิบดี
  • บุญญกฤช ปิ่นประสงค์, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกรม

ประวัติ

แก้

ในปี พ.ศ. 2447 ได้มีการเริ่มกิจการทางสาขาสัตวแพทย์ขึ้นใน "กรมช่างไหม" กระทรวงเกษตราธิการในสมัยนั้น โดยได้มีการเปิดสอนวิชาสัตวแพทย์ขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 กรมช่างไหมได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเพาะปลูก" ซึ่งได้มีการจัดตั้งกิจการผสมสัตว์ และกิจการแผนกรักษาสัตว์ขึ้นในกรม

ในปี พ.ศ. 2474 ได้โอนกรมเพาะปลูกไปร่วมกิจการของกองตรวจพันธุ์รุกขชาติ โดยจัดตั้งขึ้นเป็น "กรมตรวจกสิกรรม" สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 ได้แยกกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมออกเป็นกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรพาณิชย์ซึ่งต่อมากระทรวงเกษตรพาณิชย์ได้เปลี่ยนเป็นกระทรวงเศรษฐการ และในส่วนกรมตรวจกสิกรรมได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเกษตร" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเกษตรและการประมง"

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 "กรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมการปศุสัตว์"[3] สังกัดกระทรวงเกษตร (เปลี่ยนชื่อจากกระทรวงเกษตราธิการ) และในปลายปี พ.ศ. 2495 ได้ย้ายที่ตั้งกรมจากข้างป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ มาอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน ถนนพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ และในปีถัดมาคือในวันที่ 26 ธันวาคม 2496 กรมการปศุสัตว์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมปศุสัตว์"[4] ดังเช่นในปัจจุบัน [5]

อำนาจและหน้าที่

แก้
  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถาน พยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. ดำเนินการผลิตและจัดหาชีวภัณฑ์และเวชภัณฑ์ เพื่อใช้ในการป้องกันและกำจัดโรคสัตว์ ตลอดจนผลิตและจัดหาน้ำเชื้อเพื่อใช้ในการผสมเทียม
  3. ดำเนินการด้านปรับปรุงและขยายพันธุ์สัตว์ ด้านสุขภาพสัตว์ และด้านบำบัดโรคสัตว์ ตลอดจนการแปรรูปเนื้อสัตว์เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
  4. ส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเลี้ยงสัตว์ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ
  5. ควบคุมคุณภาพเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ และผลิตผลจากสัตว์เพื่อให้ได้มาตรฐานสากล
  6. ปฏิบัติงานอื่นใด ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือ คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

หน่วยงานในสังกัด

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้