เนแบรสกา (อังกฤษ: Nebraska, /nəˈbræskə/ ( ฟังเสียง)) เป็นรัฐหนึ่งในภาคตะวันตกกลางของสหรัฐ มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐเซาท์ดาโคตาทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐไอโอวาทางทิศตะวันออกและรัฐมิสซูรีทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (โดยใช้แม่น้ำมิสซูรีเป็นแนวแบ่งเขตกับรัฐทั้งสอง) ติดต่อกับรัฐแคนซัสทางทิศใต้ ติดต่อกับรัฐโคโลราโดทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และติดต่อกับรัฐไวโอมิงทางทิศตะวันตก

รัฐเนแบรสกา

State of Nebraska
สมญา: 
รัฐปอกเปลือกข้าวโพด
คำขวัญ: 
เพลง: "บิวติฟุลเนแบรสกา"
(อังกฤษ: Beautiful Nebraska)
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐเนแบรสกา
แผนที่สหรัฐเน้นรัฐเนแบรสกา
ประเทศสหรัฐ
สถานะก่อนเป็นรัฐดินแดนเนแบรสกา
เข้าร่วมสหรัฐ1 มีนาคม 1867; 157 ปีก่อน (1867-03-01) (ลำดับที่ 37)
เมืองหลวงลิงคอล์น
เมืองใหญ่สุดโอมาฮา
มหานครใหญ่สุดโอมาฮา–เคาน์ซิลบลัฟส์
การปกครอง
 • ผู้ว่าการจิม พิลเลิน ()
 • รองผู้ว่าการโจ เคลลี (ร)
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติเนแบรสกา
ฝ่ายตุลาการศาลสูงสุดเนแบรสกา
สมาชิกวุฒิสภาเด็บ ฟิชเชอร์ (ร)
พีต ริกกิตส์ (ร)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร1: ไมก์ ฟลัด (ร)
2: ดอน เบคอน (ร)
3: เอเดรียน สมิท (ร)
พื้นที่
 • ทั้งหมด77,358 ตร.ไมล์ (200,356 ตร.กม.)
 • พื้นดิน76,874 ตร.ไมล์ (199,099 ตร.กม.)
 • พื้นน้ำ481 ตร.ไมล์ (1,247 ตร.กม.)  0.7%
อันดับพื้นที่อันดับที่ 16
ขนาด
 • ความยาว430 ไมล์ (690 กิโลเมตร)
 • ความกว้าง210 ไมล์ (340 กิโลเมตร)
ความสูง2,600 ฟุต (790 เมตร)
ความสูงจุดสูงสุด (แพเนอรามาพ็อยนต์[1])5,424 ฟุต (1,654 เมตร)
ความสูงจุดต่ำสุด (แม่น้ำมิสซูรีที่พรมแดนรัฐแคนซัส[1])840 ฟุต (256 เมตร)
ประชากร
 (2020)
 • ทั้งหมด1,961,504[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 38
 • ความหนาแน่น24.94 คน/ตร.ไมล์ (9.62 คน/ตร.กม.)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 43
 • ค่ามัธยฐานรายได้ครัวเรือน59,970 ดอลลาร์[3]
 • อันดับรายได้อันดับที่ 25
ภาษา
 • ภาษาทางการอังกฤษ[4][5]
เขตเวลา
ส่วนใหญ่ของรัฐUTC−06:00 (เวลากลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC−05:00 (เวลาออมแสงกลาง)
ด้ามกระทะUTC−07:00 (เวลาภูเขา)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC−06:00 (เวลาออมแสงภูเขา)
อักษรย่อไปรษณีย์NE
รหัส ISO 3166US-NE
อักษรย่อเดิมNeb., Nebr.
ละติจูด40° เหนือ ถึง 43° เหนือ
ลองจิจูด95° 19′ ตะวันตก ถึง 104° 03′ ตะวันตก
เว็บไซต์www.nebraska.gov

ชนพื้นเมืองซึ่งรวมถึงเผ่าโอมาฮา เผ่ามิสซูเรีย เผ่าพองกา เผ่าพอว์นี เผ่าโอโท และเผ่าย่อยต่าง ๆ ของเผ่าลาโคตา (ซู) อาศัยอยู่ในบริเวณที่เป็นรัฐเนแบรสกามาเป็นเวลาหลายพันปีก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามาสำรวจพื้นที่ รัฐนี้มีเส้นทางประวัติศาสตร์หลายเส้นทางตัดผ่าน รวมถึงเส้นทางของคณะสำรวจของลูวิสและคลาร์ก

เนแบรสกาเป็นรัฐที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 โดยครอบคลุมเนื้อที่กว่า 200,000 ตารางกิโลเมตร (77,220 ตารางไมล์) แต่ด้วยประชากรประมาณ 1.9 ล้านคน จึงเป็นรัฐที่มีจำนวนประชากรน้อยเป็นอันดับที่ 12 และมีความหนาแน่นประชากรน้อยเป็นอันดับที่ 7 เมืองหลวงของรัฐคือลิงคอล์น และเมืองใหญ่ที่สุดคือโอมาฮาซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำมิสซูรี เนแบรสกากลายเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐใน ค.ศ. 1867 ซึ่งเป็นเวลาสองปีหลังจากสงครามกลางเมืองอเมริกาสิ้นสุดลง สภานิติบัญญัติเนแบรสกาแตกต่างจากสภานิติบัญญัติอื่น ๆ ของสหรัฐตรงที่เป็นระบบสภาเดียว และสมาชิกสภาจะได้รับเลือกตั้งโดยไม่มีการระบุอย่างเป็นทางการว่าตนเองสังกัดพรรคการเมืองใด

เนแบรสกาประกอบด้วยภูมิภาคที่ดินหลัก 2 ภูมิภาค ได้แก่ ดิเซ็กติดทิลล์เพลนส์ ("ที่ราบตะกอนธารน้ำแข็งซอยแบ่ง") และเกรตเพลนส์ ("ที่ราบใหญ่") ดิเซ็กติดทิลล์เพลนส์มีลักษณะเป็นที่ราบที่มีเนินเขาเตี้ย ๆ สลับเป็นลูกคลื่น และมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐอย่างโอมาฮาและลิงคอล์น ในขณะที่เกรตเพลนส์ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางด้านตะวันตกของรัฐมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าแพรรีที่ไม่มีต้นไม้ เนแบรสกามีเขตภูมิอากาศหลัก 2 เขต พื้นที่สองในสามของรัฐทางด้านตะวันออกจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบหนาวชื้นภาคพื้นทวีป (Dfa) โดยมีเขตภูมิอากาศย่อยที่อบอุ่นกว่าซึ่งเรียกว่า "อบอุ่น-ปานกลาง" อยู่ใกล้ที่ราบด้านใต้ คล้ายคลึงกับในพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐแคนซัสและรัฐโอคลาโฮมาซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน ส่วนด้ามกระทะเนแบรสกาและพื้นที่ใกล้เคียงที่ติดกับรัฐโคโลราโดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบเย็นกึ่งแห้งแล้ง (BSk) ฤดูร้อนและฤดูหนาวมีอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั่วทั้งรัฐ แต่ความแตกต่างจะลดน้อยลงเมื่อมุ่งหน้าลงใต้ไปเรื่อย ๆ พายุฟ้าคะนองและพายุทอร์นาโดรุนแรงเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนเป็นหลัก แต่บางครั้งก็เกิดในฤดูใบไม้ร่วง ลมชินุกมักจะทำให้สภาพอากาศของรัฐอบอุ่นขึ้นอย่างมากในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิตอนต้น

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Elevations and Distances in the United States". United States Geological Survey. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2011. สืบค้นเมื่อ October 24, 2011.
  2. "Quickfacts. Nebraska". census.gov. สืบค้นเมื่อ 25 April 2023.
  3. "Median Annual Household Income". The Henry J. Kaiser Family Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2016. สืบค้นเมื่อ December 9, 2016.
  4. Neb. Const. art. I, sec. 27 (1920)
  5. Porter, Rosalie Pedalino (1996). Forked Tongue: The Politics of Bilingual Education (2nd ed.). New Brunswick, N.J.: Transaction Publishers. p. 211. ISBN 1-351-51952-2. OCLC 1007231949.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้