ความเสมอภาคทางกฎหมาย

ความเสมอภาคทางกฎหมาย หรือชื่ออื่นเช่น ความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย, ความเสมอภาคในสายตาของกฎหมาย หรือ สมภาคนิยมทางกฎหมาย เป็นหลักการว่าปัจเจกชนทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน และทั้งหมดอยู่ในบังคับของกฎหมายยุติธรรมเดียวกัน (วิถีทางที่ถูกต้องของกฎหมาย)[1] ฉะนั้นกฎหมายต้องรับประกันว่าไม่มีปัจเจกหรือกลุ่มปัจเจกที่มีอภิสิทธิ์ หรือถูกรัฐบาลเลือกปฏิบัติ ความเสมอภาคทางกฎหมายเป็นหลักการพื้นฐานอย่างหนึ่งของเสรีนิยม[2] หลักการนี้กำเนิดขึ้นจากปัญหาที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ฉะนั้น หลักการความเสมอภาคทางกฎหมายจึงอยู่ร่วมกันไม่ได้และหมดไปในระบอบกฎหมาย เช่น กฎหมายทาส กฎหมายข้ารับใช้ เป็นต้น

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 7 ระบุว่า "ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันจากการเลือกปฏิบัติใด" (ฉบับแปลกระทรวงการต่างประเทศ) ฉะนั้นจะต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติทางกฎหมายด้วยเหตุเชื้อชาติ เพศ สีผิว ชาติพันธุ์ ศาสนา ทุพพลภาพ หรือลักษณะอื่น โดยไม่มีเอกสิทธิ์ การเลือกปฏิบัติหรือความลำเอียง การรับประกันความเสมอภาคทั่วไปนี้บรรจุในรัฐธรรมนูญของประเทศส่วนใหญ่ในโลก[3] แต่การนำไปปฏิบัตินั้นยังมีความแตกต่างกันอยู่

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Universal Declaration of Human Rights". www.un.org. สืบค้นเมื่อ 31 March 2018.
  2. Chandran Kukathas, "Ethical Pluralism from a Classical Liberal Perspective," in The Many Pacqiuo and the One: Religious and Secular Perspectives on Ethical Pluralism in the Modern World, ed. Richard Madsen and Tracy B. Strong, Ethikon Series in Comparative Ethics (Princeton, NJ: Princeton University Press, 2003), p. 61 (ISBN 0-691-09993-6).
  3. "Read about "Equality" on Constitute". constituteproject.org. สืบค้นเมื่อ 31 March 2018.