ตระกูลล่ำซำ
ตระกูลล่ำซำ เป็นตระกูลนักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนจากมณฑลกวางตุ้งเข้าสู่ประเทศไทยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันธุรกิจของตระกูลล่ำซำ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย เมืองไทยประกันชีวิต เมืองไทยประกันภัย ภัทรประกันภัย[1][2][3][4] และล็อกซเล่ย์
ล่ำซำ | |
---|---|
ตระกูลบรรพบุรุษ | แซ่อึ้ง |
ประเทศ | ประเทศไทย |
ถิ่นพำนักปัจจุบัน | กรุงเทพมหานคร |
นิรุกติศาสตร์ | ล่ำ-ซำ ภาษาแคะ: 藍 (ล่ำ)+衫 (ซำ) "เสื้อสีน้ำเงิน" |
ถิ่นกำเนิด | ตำบลส่งเค้าโป๊ อำเภอบ้วยกุ้ย จังหวัดเกี่ยเอ้งจิวฮู้ มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน |
ก่อตั้ง | สมัยรัชกาลที่ 5 |
ต้นตระกูล | อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน |
ตำแหน่ง | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2540–2541) |
ตระกูลที่เกี่ยวข้อง | ตระกูลหวั่งหลี |
ทรัพย์สิน | ก้วงโกหลง (อดีต) รถเมล์นครธน (อดีต) ภัทรประกันภัย ธนาคารก้วงโกหลง (อดีต) ธนาคารกสิกรไทย (อดีต) เมืองไทยประกันชีวิต สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ |
คำว่า ล่ำซำ เป็นนามแฝงที่อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนคิดขึ้นมาจากภูมิหลังตอนที่ตนอยู่ในประเทศจีน ขณะเดินทางคนเดียว เขากลับพบกลุ่มโจร โดยหัวหน้าโจรถามว่า "คนใส่เสื้อสีน้ำเงินคนนั้นเป็นบุตรคนที่สามของตระกูลอึ้งใช่ไหม?" เขาตอบว่าใช่ หัวหน้าโจรจึงบอกแก่กลุ่มโจรว่า "ล่ำซำ คนนี้ ได้ทำบุญทำทานสงสารคนจน... ให้เขาไปโดยดีเถิด" ทำให้อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนนำชื่อที่โจรเรียกมาใช้เป็นสัญลักษณ์นำโชค โดยคำว่า ล่ำ (藍) หมายถึง 'สีน้ำเงิน' ซึ่งเป็นสีเสื้อที่เขาใส่ในเหตุการณ์นั้น และ ซำ อาจสื่อถึง 'เสื้อ' (衫) หรือ 'สาม' (三) จากการที่เขาเป็นลูกชายคนที่สาม และสมาชิกตระกูลของเขาตั้งแต่รุ่นที่สามเป็นต้นมาใช้สกุลนี้เป็นนามสกุลไทย[5] คำว่า ล่ำซำ มีความหมายในภาษาพูดว่า 'รวย'[6]
ประวัติ
แก้ต้นตระกูล
แก้บรรพบุรุษของตระกูลล่ำซำ คือ อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน เดินทางจากตำบลส่งเค้าโป๊ อำเภอบ้วยกุ้ย จังหวัดเกี่ยเอ้งจิวฮู้ มณฑลกวางตุ้ง เข้าสู่ประเทศไทยเมื่ออายุ 13 ปี หลังจากที่บิดามารดาได้ถึงแก่กรรม ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นช่วงที่ระบบการค้าเสรีกำลังขยายตัว โดยเริ่มทำงานที่ร้านเหล้าชื่อ จิวเพ็กโก ซึ่งเป็นชาวจีนแคะด้วยกัน จากนั้นเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวโดยเปิดร้านขายไม้ซุง ชื่อ ก้วงโกหลง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลจักรวรรดิ อำเภอสัมพันธวงศ์ และทำสัมปทานป่าไม้อยู่แถวจังหวัดนครสวรรค์กับแพร่ รับสัมปทานทำป่าไม้สักมีโรงเลื่อยจักรชื่อ กวงกิมล้ง ส่งโรงเลื่อยที่กรุงเทพ พร้อมทั้งติดต่อค้าขายอย่างเชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ
อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนแต่งงานกับชื้อฮูหยินมีบุตร 4 คน คือ อึ้งจูหลง ล่ำซำ, อึ้งยุกหลง ล่ำซำ (ผู้เป็นผู้นำตระกูลล่ำซำรุ่นที่ 2), เผือก ล่ำซำ และเนย ล่ำซำ และสมรสกับหญิงไทยชื่อ เทียน มีบุตร 2 คน
รุ่นที่ 2
แก้รุ่นที่ 2 นำโดยอึ้งยุกหลง ได้รับช่วงกิจการค้าของร้านก้วงโกหลง ภายหลังได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ชื่อ บริษัท ก้วงโกหลง จำกัด ขยายการค้าไม้ในยุโรปและเอเชีย เริ่มกิจการโรงสีข้าวกับรับซื้อข้าวและสินค้าเกษตร ส่งขายยังต่างประเทศ เปิดสาขาที่สิงคโปร์ ฮ่องกง ซัวเถา เซี่ยงไฮ้ กวางตุ้ง ปัตตาเวีย และอังกฤษ นอกจากนี้ยังได้รับสัมปทานเดินรถเมล์ทางฝั่งธนบุรี ชื่อ รถเมล์นครธน โดยเมื่อ พ.ศ. 2475 ได้ทำธุรกิจอื่น ๆ เช่นประกันภัย การธนาคาร อันได้แก่ กวางอันหลงประกันภัย (ต่อมาเปลี่ยนชื่อมาเป็นล่ำซำประกันภัยและภัทรประกันภัย ตามลำดับ)[7] และ ธนาคารก้วงโกหลง ซึ่งธุรกิจธนาคารได้ปิดตัวลงเพราะนโยบายของคณะราษฎร มีบริษัทกวางกิมล้ง ที่ฮ่องกง มีบริษัทกวางกิมล้งที่เซี่ยงไฮ้ มีบริษัทกวงชิล้งที่กวางตุ้ง มีบริษัทวังล้งที่ปัตตาเวีย มีบริษัทกวงกิมล้งที่ลอนดอน มีบริษัทล็อกซเล่ย์ ยังร่วมทุนกับพรรคพวกเปิดภัตตาคารชื่อ ห้อยเทียนเหลา หรือ หยาดฟ้าภัตตาคาร
อึ้งยุกหลงแต่งงานกับ ทองอยู่ หวั่งหลี ซึ่งเป็นตระกูลหวั่งหลีรุ่นที่ 2 มีบุตรและธิดา รวม 7 คน อันได้แก่ โชติ ล่ำซำ, จุลินทร์ ล่ำซำ, เกษม ล่ำซำ ,จวง ล่ำซำ ,ทองพูน ล่ำซำ, เล็ก ล่ำซำ และพิศศรี ล่ำซำ อึ้งยุกหลงส่งบุตรชาย 3 คน คือ โชติ จุลินทร์ และเกษม ไปศึกษาที่ต่างประเทศ อึ้งยุกหลงถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2482 ด้วยน้ำมือของพวกอั้งยี่
นางเนย หลีอาภรณ์ บุตรสาวของนายอึ้งเมี่ยวเหงียน ร่วมกับนางหุ่น ลูกครึ่งจีน-ไทย ทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงาน ตั้งร้านตังเสง รับซื้อแกลบ เป็นหนึ่งในผู้ค้าแกลบรายใหญ่ของประเทศ และมีลูกค้ารายใหญ่สำคัญก็คือ บริษัทไฟฟ้าสยามคอร์เปอเรชั่น[8]
รุ่นที่ 3
แก้บุตรชายทั้งสามคน โชติ จุลินทร์ และเกษม ได้ดำเนินธุรกิจต่อจากบิดา โดยนายโชติ ล่ำซำ ขยายงานของล่ำซำเดิม เช่น ร่วมลงทุนและบริหารในบริษัทค้าพืชผลไทย บริษัทพืชผลอีสาน บริษัทไทยนิยมพาณิชย์ โชติได้ก่อตั้งธนาคารกสิกรไทย สาขาสำนักงานถนนเสือป่าเป็นที่ทำการแห่งแรกด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 พ.ศ. 2490 ตระกูลล่ำซำเปิดบริษัทชื่อ บริษัท สมบัติล่ำซำ จำกัด เพื่อทำหน้าที่จัดการทรัพย์สินของตระกูล พ.ศ.2491 โชติ ล่ำซำ ถึงแก่กรรมอย่างกะทันหัน
จุลินทร์ได้ร่วมมือกับบุคคลในคณะราษฎร จัดตั้งบริษัท คลังสินค้าแม่น้ำจำกัด โดยให้เกษมน้องชายคนเล็ก เข้ามาช่วย เป็นบริษัทเกี่ยวกับคลังสินค้าที่รับจำนำสินค้าทั่วไป และทำหน้าที่กัมปะโดให้แก่ธนาคารกสิกรไทย จุลินทร์ ล่ำซำจับมือกับกลุ่มเพื่อนนักธุรกิจและผู้ใหญ่ในวงราชการเปิดบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต เมื่อ พ.ศ. 2494
เกษม ล่ำซำเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการวางระบบธนาคารกสิกรไทยตามรูปแบบของธนาคารอังกฤษ เขายังเป็นบุคคลสำคัญในการก่อตั้งสมาคมธนาคารไทยและได้รับเลือกให้เป็นประธานคนแรกของสมาคม จนเมื่อ พ.ศ. 2505 เกษมเสียชีวิตด้วยเครื่องบินตกที่ไทเป ไต้หวัน ทำให้บัญชา ล่ำซำ ลูกชายคนโตของ โชติ ล่ำซำ เข้ามาบริหารกิจการธนาคารกสิกรไทย
รุ่นที่ 4
แก้พ.ศ. 2496 บัญชา ล่ำซำ ได้เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทเมืองไทยประกันชีวิตและเข้ากอบกู้บริษัทล่ำซำประกันภัยและคลังสินค้า ในช่วงที่เศรษฐกิจมีความชะงักงัน ต่อมา พ.ศ. 2505 บัญชาลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต มารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย แต่ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต และดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทล่ำซำประกันภัยและคลังสินค้า หลังจากเข้ามาทำงานที่ธนาคารกสิกรไทย จากแรกเริ่มทำงานมีสาขาอยู่เพียง 36 สาขา ปลายปี 2513 มีสาขา 78 สาขา และได้ขยับขยายสาขาไปยังต่างประเทศด้วย
พ.ศ. 2518 ธนาคารกสิกรไทยเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ และในปี พ.ศ. 2522 ได้นำเอาบริษัทกวางอันหลง ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทภัทรประกันภัย และบริษัทภัทรธนกิจ เข้าตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2519 ได้ให้บรรยงค์ ล่ำซำ ผู้เป็นน้องชาย เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแทน
จุลินทร์ส่งต่อเมืองไทยประกันชีวิต ให้ลูกชาย คือ โพธิพงษ์ ล่ำซำ ส่วนธงชัย ล่ำซำบุตรชายของนายจุลินทร์ ล่ำซำ และนางพรรณี ล่ำซำ เป็นประธานกรรมการบริษัท และประธานกรรมการบริหาร[9]
รุ่นที่ 5
แก้26 ธันวาคม พ.ศ. 2534 คณะกรรมการมีมติให้ บัณฑูร ล่ำซำ บุตรชายของบัญชา ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแทนบรรยงค์ ล่ำซำ ในการบริหารของบัณฑูร ใช้ระบบการบริหารธนาคารของชาติตะวันตกด้วยกลยุทธ์การยกเครื่ององค์กร[10] 512 สาขาทั่วประเทศในช่วงปี 2537–2540 ส่งผลให้กสิกรไทยสามารถฝ่าวิกฤตต้มยำกุ้ง[11]
โพธิพงษ์ ล่ำซำ ให้นวลพรรณ ล่ำซำ ลูกสาวคนโต และสาระ ล่ำซำ ลูกชายคนเล็ก ฝึกฝนการทำงานจนกระทั่ง พ.ศ. 2547 นวลพรรณขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ส่วนสาระไต่เต้าตำแหน่งจนเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ขณะที่ภัทรประกันภัย มีกฤตยา บุตรสาวของ ยุติ ล่ำซำ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
นวลพรรณคือผู้บริหารที่คนรู้จักเป็นจำนวนมาก เป็นผู้นำเข้าสินค้าแบรนด์แอร์เมส เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และปัจจุบันยังเป็นคณะกรรมการโครงการต่าง ๆ มากมาย เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จากการเป็นผู้จัดการฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ที่สามารถนำทีมเข้าสู่เกมการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงได้สำเร็จครั้งแรกของไทย รวมทั้งการเป็นประธานสโมสรฟุตบอลการท่าเรือในไทยลีก[12] รวมถึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลชายทีมชาติไทย ทั้งชุดใหญ่และชุดอายุไม่เกิน 23 ปี ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564[13] ต่อมาเธอได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย[14] นวลพรรณมีน้องสาวชื่อวรรณพร เป็นภูมิสถาปนิก ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ บริษัท พี แลนด์สเคป จำกัด[15]
กฤษฎา ล่ำซำ บุตรชายของไพโรจน์ และท่านผู้หญิงอรสา ล่ำซำ เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไมซ์สเตอร์ เทคนิค จำกัด ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ Audi Thailand[16]
แผนผังตระกูล
แก้แผนผังตระกูลล่ำซำ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Baffie, Jean (1994). "From Rags to Riches: Discussing Achievements of Some Chinese Families in Thailand". ใน Pongsapich, Amara; และคณะ (บ.ก.). Entrepreneurship and socio-economic transformation in Thailand and Southeast Asia: proceedings of the seminar of Bangkok, February 1993, Chulalongkorn University. Bangkok: Social Research Institute of Chulalongkorn University. pp. 281–96. ISBN 974-631-143-3.
- ↑ Suehiro, Akira (1985). Capital Accumulation and Industrial Development in Thailand. Social Research Institute of Chulalongkorn University. Cited in Chirasombutti, Voravudhi (October 2013). "Some Observations on Migrants' Acquisition of Thai Family Names" (PDF). Journal of Ritsumeikan Social Sciences and Humanities. 6: 41–52. สืบค้นเมื่อ 7 November 2017.
- ↑ ตระกูลล่ำซำ "คนใส่เสื้อสีฟ้า". Manager (ผู้จัดการ). March 1986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-01. สืบค้นเมื่อ 7 November 2017.
- ↑ “ล่ำซำ” ยึดธุรกิจประกัน เส้นทาง80ปีจาก “กวางอันหลง” “ล่ำซำ” ยึดธุรกิจประกัน เส้นทาง80ปีจาก “กวางอันหลง”. Weekend Manager (ผู้จัดการสุดสัปดาห์). 7 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 7 November 2017.
- ↑ คงนิรันดรสุข, สุปราณี (June 1993). ปีนี้ไม่มี "บัญชา ล่ำซำ". Manager (ผู้จัดการ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 7 November 2017.
- ↑ Royal Institute (2011). พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 3 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. Bangkok: Union Ultra Violet. p. 96. ISBN 9786167073330.
- ↑ ""ล่ำซำ" ยึดธุรกิจประกัน เส้นทาง80ปีจาก "กวางอันหลง"". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ "เส้นทางธุรกิจลูกสาวเจ้าสัวต้นตระกูลล่ำซำ แกลบที่โรงไฟฟ้าใช้เกือบทั้งหมด มาจากร้านนี้". ศิลปวัฒนธรรม.
- ↑ "ขุมธุรกิจหมื่นล.!'ธงชัย ล่ำซำ'บิ๊กอาณาจักรล็อกซเล่ย์ฯ เจ้าหนี้'กร ทัพพะรังสี'". isranews.
- ↑ "เปิดใจ "บัณฑูร ล่ำซำ" ปิดฉาก 40 ปีนายแบงก์กสิกรไทย สู่ฉากชีวิต "รักษ์ป่าน่าน" เต็มตัว". positioningmag.
- ↑ พรพรรณ ปัญญาภิรมย์. "บัณฑูร ล่ำซำ ผู้กอบกู้สถาบันการเงินตระกูลล่ำซำจากต้นกล้าสู่รากแก้ว "กสิกรไทย"". ฟอบส์ประเทศไทย.
- ↑ "ธุรกิจประกันของตระกูล "ล่ำซำ" ในมือของ นวลพรรณ และ สาระ ล่ำซำ". marketeeronline.
- ↑ ‘ส.บอล’ ตั้ง ‘มาดามแป้ง’ ช่วยกู้วิกฤติ ‘ช้างศึก’ เป็นผู้จัดการทีมควบชุดใหญ่-ยู-23
- ↑ ""มาดามแป้ง" ชนะเลือกตั้ง 68 เสียง-นั่งนายกบอลไทย คนที่ 18". mgronline.com. 2024-02-08.
- ↑ "เก่งยกบ้าน "แป้ง นวลพรรณ ปุ้ย วรรณพร ป้อง สาระ" 3 พี่น้องแห่ง "ตระกูลล่ำซำ"". แพรว.
- ↑ "#คุยถูกCore กับ "กฤษฎา ล่ำซำ" พร้อมเจาะลึกกลยุทธ์การสร้าง Game Changer ในตลาดลักซ์ชัวรี่คาร์ของ AUDI Thailand". marketingoops.