โพธิพงษ์ ล่ำซำ
โพธิพงษ์ ล่ำซำ (เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2477) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลชวน หลีกภัย อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้บริหารกิจการกลุ่มประกันชีวิต-ประกันภัยของตระกูลล่ำซำ
โพธิพงษ์ ล่ำซำ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ไพฑูรย์ แก้วทอง | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีว่าการ | ศุภชัย พานิชภักดิ์ |
ก่อนหน้า | วิชัย ชัยจิตวณิชกุล พจน์ วิเทตยนตรกิจ |
ถัดไป | ประวิช รัตนเพียร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2539–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ยุพา ล่ำซำ (สมรส 2505) |
บุตร | นวลพรรณ ล่ำซำ วรรณพร พรประภา |
ประวัติ
แก้โพธิพงษ์ เกิดวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 สมรสกับนางยุพา ล่ำซำ เกิดเมื่อ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483นวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย วรรณพร พรประภา สถาปนิกและภูมิสถาปนิกเจ้าของสำนักงานออกแบบ พีแลนด์สเคป (PLA) และบุตรชายคือ สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
มีบุตรสาว 2 คนคือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตต สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2500 และปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยเทมเพิล ในปี พ.ศ. 2503
การเมือง
แก้นายโพธิพงษ์ เข้าสู่วงการเมืองโดยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2539[2] ต่อมาได้เริ่มทำงานการเมืองในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์จากการชักชวนของ นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ที่เคยรู้จักมักคุ้นรู้ฝีมือกันมาก่อน สมัยที่นายพิเชษฐทำงานในกระทรวงเศรษฐกิจ และนายโพธิพงษ์อยู่ที่ สภาหอการค้า
ในที่สุดนายโพธิพงษ์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลชวน 2 หลังวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 เนื่องจากสามารถประสานงานกับหอการค้าได้ทั่วประเทศ นอกจากฝีมือและเครือข่ายในการทำงาน นายโพธิพงษ์ยังเป็นหนึ่งในแหล่งเงินทุนสำคัญ ของพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยยอดบริจาคระดับ 10 ล้านบาท
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[3]
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงา ขึ้นเป็นครั้งแรก นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ให้ทำหน้าที่ รองนายกรัฐมนตรีเงา ดูแลตรวจสอบ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์[4]
กรรมการต่าง ๆ
แก้- กรรมการผู้จัดการเมืองไทยประกันชีวิต
- กรรมการบริหารบริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน)
- ประธานกรรมการเมืองไทยประกันชีวิต
- ประธานกรรมการเมืองไทยประกันภัย
- กรรมการเมืองไทยประกันชีวิต
- กรรมการอิสระธนาคารกสิกรไทย
- กรรมการไทยไพบูลย์ประกันภัย
- กรรมการการศึกษาแห่งชาติ
- กรรมการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- กรรมการเมืองไทยประกันภัย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2564 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๔ (ว.ป.ร.๔)[7]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของโพธิพงษ์ ล่ำซำ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หน้า ๑ เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, หน้า ๙ เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข, ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, หน้า ๔ เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๓ ข, ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔