มนตรี เจนวิทย์การ

รองศาสตราจารย์ มนตรี เจนวิทย์การ เป็นอดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[1] และอดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย[2]

มนตรี เจนวิทย์การ
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
16 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 23 กันยายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน
ก่อนหน้าวิษณุ เครืองาม
ถัดไปอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 สิงหาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
ศาสนาพุทธ

ประวัติ แก้

รองศาสตราจารย์ มนตรี เจนวิทย์การ หรือ รศ.ดร.มนตรี เจนวิทย์การ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท ปริญญาเอกในสาขาเดียวกัน จากมหาวิทยาลัยชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา[3]

การทำงาน แก้

ดร.มนตรี เจนวิทย์การ เข้าเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2509 ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็น "รองศาสตราจารย์" และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ในปี พ.ศ. 2530 และถูกเลิกจ้างในปี พ.ศ. 2531 ในช่วงที่มีร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ด้านงานการเมืองเคยได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย

มนตรี เจนวิทย์การ เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันทางการเงิน (ปรส.) ซึ่งต่อมาคณะกรรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบว่านายมนตรี มีมูลเป็นความผิดทางวินัย ฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และแบบแผนของ ปรส. และไม่ปฏิบัติหน้าที่การทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต อาศัยอำนาจหน้าที่การงานของตนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม หาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๑๑/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายมนตรี เจนวิทย์การ)
  2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๖๔/๒๕๓๖ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายมนตรี เจนวิทย์การ ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง)
  3. วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  4. ป.ป.ช.ฟันวินัย-อาญา“มนตรี”คดีปรส.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
ก่อนหน้า มนตรี เจนวิทย์การ ถัดไป
วิษณุ เครืองาม    
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(16 มิถุนายน พ.ศ. 2535 - 23 กันยายน พ.ศ. 2535)
  อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ