สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ นักการเมืองและทหารบกชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[2] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน[3] อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และรองโฆษกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีชื่อเล่นว่า "เต่า" หรือที่บรรดาสื่อมวลชนเรียกว่า "บิ๊กเต่า"
สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
ดำรงตำแหน่ง 19 สิงหาคม 2558 – 8 พฤษภาคม 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ |
ถัดไป | วราวุธ ศิลปอาชา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม 2557 – 19 สิงหาคม 2558 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ดำรงตำแหน่ง 1 พฤศจิกายน 2560 – 23 พฤศจิกายน 2560 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการ |
ถัดไป | อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการ |
ปลัดกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม 2557 – 30 กันยายน 2557 (0 ปี 129 วัน) | |
ก่อนหน้า | นิพัทธ์ ทองเล็ก |
ถัดไป | ศิริชัย ดิษฐกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 กันยายน พ.ศ. 2497 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | แสงอรุณ กาญจนรัตน์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย กระทรวงกลาโหม |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
ประวัติ แก้
สุรศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2497 จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนนครสวรรค์ โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 12 (ตท.12) และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 23 (จปร.23)
การรับราชการทหาร แก้
เข้ารับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับ หมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบ ศูนย์การทหารราบ หรือกองพันทหารราบที่ 3 กรมผสมที่ 31 ในขณะนั้น โดยเมื่อไปรายงานตัวที่หน่วยได้ 2 สัปดาห์ได้รับ คำสั่งให้เดินทางไปปฏิบัติราชการสนามชายแดนที่ กิ่งอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ได้เข้าทำการรบ เพื่อปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้าย และ ขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา ในพื้นที่ป่า ภูเขาที่มีสภาพอากาศเลวร้ายตลอดระยะเวลา ๒ ปี โดยมีการปะทะในระยะประชิดหลายครั้ง ได้สังหาร และเข้ายึดฐานที่มั่นของขบวนการฯ ในหลายพื้นที่ แต่ก็ได้ถูกซุ่มโจมตีจนได้รับบาดเจ็บ ๑ ครั้ง ในพื้นที่ เขาน้ำค้าง อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
พ.ศ. 2530 ย้ายกลับไปรับราชการที่ศูนย์การทหารราบอีกครั้งหนึ่ง ในตำแหน่งผู้บังคับกองพัน นักเรียนการจู่โจมและส่งทางอากาศ โดยทำหน้าที่ เป็นครูฝึกการรบแบบจู่โจม และหลักสูตรทหารร่ม ให้แก่กองทัพบกจำนวนหลายรุ่น รวมทั้งเป็น หัวหน้าชุดครูฝึกเคลื่อนที่เพื่อทำการฝึกพิเศษ ให้แก่หน่วยกำลังรบของกองทัพภาคที่ 3 ที่ขึ้น ปฏิบัติการ ณ บ้านร่มเกล้า
พ.ศ. 2533 ย้ายเข้ามารับราชการในกรมกิจการพลเรือนทหารบก ในตำแหน่งอาจารย์ โรงเรียนกิจการพลเรือน สอนวิชาปฏิบัติการ กิจการพลเรือน การปฏิบัติการจิตวิทยาและการ ประชาสัมพันธ์ทั้งในหลักสูตรของกองทัพบก และ สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง อาทิจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาและอื่นๆ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติหน้าที่ ฝ่ายเสนาธิการของฝ่ายกิจการพลเรือน ศูนย์ปฏิบัติ การกองทัพบก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น “เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก” และได้รับราชการเติบโตขึ้น มาเป็นลำดับในตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายกิจการพลเรือน รองเสนาธิการทหารบก ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก รองปลัดกระทรวงกลาโหม[4]
สุรศักดิ์ซึ่งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหมได้รักษาราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหมแทน นิพัทธ์ ทองเล็ก ที่ถูกโยกไปเป็นประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหมตามคำสั่งของ คสช. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปลัดกระทรวงกลาโหมตามคำสั่งของ คสช. อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2557
บทบาททางการเมือง แก้
ชีวิตครอบครัว แก้
สุรศักดิ์สมรสกับนางแสงอรุณ กาญจนรัตน์ มีบุตรธิดา 2 คน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
อ้างอิง แก้
- ↑ ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
- ↑ 2.0 2.1 พระบรมราชโองการ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ 3.0 3.1 พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-11. สืบค้นเมื่อ 2021-07-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๒, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๒๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
ก่อนหน้า | สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ครม. 61) (19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562) |
วราวุธ ศิลปอาชา | ||
ร้อยตำรวจเอก ดร.เฉลิม อยู่บำรุง | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครม. 61) (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558) |
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล | ||
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล (รัฐมนตรีว่าการ) |
รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครม. 61) (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560) |
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว (รัฐมนตรีว่าการ) |