เขตหลักสี่

เขตในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก หลักสี่)

หลักสี่ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร

เขตหลักสี่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhet Lak Si
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
คำขวัญ: 
วัดหลักสี่งามวิจิตร แหล่งผลิตว่าวไทย เลื่องลือไกลหัวโขน งามน่ายลเขตหลักสี่
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตหลักสี่
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตหลักสี่
พิกัด: 13°53′15″N 100°34′44″E / 13.88750°N 100.57889°E / 13.88750; 100.57889
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด22.841 ตร.กม. (8.819 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด98,377[1] คน
 • ความหนาแน่น4,307.04 คน/ตร.กม. (11,155.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10210
รหัสภูมิศาสตร์1041
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 999 หมู่ที่ 2 ซอยแจ้งวัฒนะ 10 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
เว็บไซต์http://www.bangkok.go.th/laksi
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

เขตหลักสี่ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ที่มาของชื่อเขต

แก้

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการขุดคลองต่าง ๆ เพื่อเป็นทางลัดสู่จังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่รอบนอกพระนคร โดยจะกำหนดหลักบอกระยะทางของคลองที่ขุดทุกระยะ 100 เส้น หนึ่งในคลองเหล่านั้นก็ได้แก่ คลองเปรมประชากร ซึ่งขุดเชื่อมไปยังอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชุมชนที่ตั้งอยู่ที่หลักบอกระยะที่ 4 ของคลองนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า "บ้านหลักสี่" ชื่อหลักสี่นี้ยังได้นำมาใช้เป็นชื่อสถานที่อื่น ๆ ในบริเวณนั้นอีก คือ วัดหลักสี่ สถานีรถไฟหลักสี่ และทางแยกหลักสี่ (จุดตัดระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนแจ้งวัฒนะ)

ประวัติศาสตร์

แก้

เดิมพื้นที่เขตหลักสี่อยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางเขน ต่อมาบริเวณนี้ได้รับการโอนย้ายไปอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตดอนเมือง ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2532 ต่อมาในพื้นที่เขตดอนเมืองมีประชากรหนาแน่นมากขึ้น เพื่อความสะดวกในการปกครองและการบริหารงานราชการ จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและจัดตั้ง เขตหลักสี่ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 โดยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตดอนเมืองมาจัดตั้งเป็นพื้นที่ของเขต ปัจจุบันในเขตมีชุมชนทั้งหมด 52 ชุมชน แบ่งเป็นเคหะชุมชน 33 ชุมชน ชุมชนแออัด 11 ชุมชน และชุมชนหมู่บ้านจัดสรร 8 ชุมชน

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

เขตหลักสี่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่

หมาย
เลข
อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2566)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2566)
แผนที่
1.
ทุ่งสองห้อง Thung Song Hong
16.886
71,650
4,243.16
 
2.
ตลาดบางเขน Talat Bang Khen
5.955
26,727
4,488.16
ทั้งหมด
22.841
98,377
4,307.04

ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง พื้นที่แขวงทุ่งสองห้อง และเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ ได้ใช้คลองเปรมประชากรฝั่งตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่าง 2 แขวงดังกล่าว

ประชากร

แก้

การคมนาคม

แก้
 
สถานีหลักสี่ของรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม

ในพื้นที่เขตหลักสี่มีทางสายหลัก ได้แก่

ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่

  • ถนนกำแพงเพชร 6
  • ถนนพิงคนคร มีไม้กั้นทางที่จะไปชุมชนเคหะ แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง
  • ถนนแสนหวี เป็นถนนที่เลี่ยงไม้กั้นทาง ถนนพิงคนครได้ เมื่อมาถึงบึงใหญ่เลยไป เลี้ยวซ้ายเข้าถนนน่านเจ้าจนถึงคลองประปาจะพบถนนแสนหวี ให้เลาะคลองประปาไปจนเห็นทางตัน ให้เลี้ยวขวาซอยสุดท้าย ไปจนถึงแยกใหญ่ให้เลี้ยวซ้าย จะสามารถเข้าสู่พื้นที่เขตดอนเมืองได้
  • ถนนน่านเจ้า อยู่ทิศเหนือของบึงใหญ่ เริ่มจากถนนพิงคนคร ทิศตะวันออกของบึงใหญ่ จนถึงคลองประปา เป็นถนนแสนหวี
  • ถนนเกษตร อยู่ด้านขวาของบึงสีกัน สุดมุมบึง เลี้ยวขวาเข้าถนนเกษตร (ซอยเกษตร หมู่บ้านเกษตรนิเวศน์) ตรงตลอดจนเข้าสู่ถนนสายหลัก ถนนซอยชวนชื่น 15 หมู่บ้านชวนชื่นบางเขน วิ่งตามถนนสายหลักนี้จะเข้าสู่เส้นทางถนนโกสุมรวมใจ และตรงเข้าสู่ถนนกำแพงเพชร 6 ถนนวิภาวดีรังสิต
  • ถนนชวนชื่น 15 เป็นถนนสายหลักหมู่บ้านชวนชื่นบางเขน หลักสี่ เป็นถนนของทางเขตหลักสี่ จัดเป็นทางลัดเชื่อมต่อระหว่างถนนสายหลักใหญ่ ๆ คือ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนวิภาวดีรังสิต สามารถวิ่งเข้าออกได้หลายช่องทางทั้งทางฝั่งถนนแจ้งวัฒนะ เข้าทางซอยแจ้งวัฒนะ 10, 12, 14 (เมืองทอง 1) และฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต สามารถเข้าทางซอยกำแพงเพชร 6 ซอย 5, 7
  • ถนนโกสุมรวมใจ
  • ถนนชินเขต
  • ถนนชิดชน
  • ซอยวิภาวดีรังสิต 60 และซอยพหลโยธิน 49/1 (เคหะบางบัว)

สถานที่สำคัญ

แก้
 
วัดหลักสี่

อ้างอิง

แก้
  1. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2567.
  2. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้