พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล (เกิด: 16 กันยายน พ.ศ. 2493 - ) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลศ.พิเศษทักษิณ ชินวัตร

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
พงษ์ศักดิ์ ใน พ.ศ. 2556
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม 2548 – 19 กันยายน 2549
(1 ปี 48 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
ถัดไปธีระ ห้าวเจริญ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
6 ตุลาคม 2547 – 11 มีนาคม 2548
(0 ปี 157 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าพินิจ จารุสมบัติ
ถัดไปวัฒนา เมืองสุข
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤศจิกายน 2546 – 6 ตุลาคม 2547
(0 ปี 332 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าวัฒนา เมืองสุข
ถัดไปอนุทิน ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
28 ตุลาคม 2555 – 22 พฤษภาคม 2557
(1 ปี 206 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าอารักษ์ ชลธาร์นนท์
ถัดไปณรงค์ชัย อัครเศรณี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กันยายน พ.ศ. 2493 (73 ปี)
อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองก้าวหน้า
เอกภาพ
ความหวังใหม่
ไทยรักไทย
เพื่อไทย
คู่สมรสปัทมา รักตพงศ์ไพศาล

ประวัติ แก้

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2493 ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์[1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนครสวรรค์ ในระดับอุดมศึกษาสำเร็จการศึกษา สาขาวิศวกรรมโยธา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับปัทมา มีบุตร 2 คน คือ พริษฐ์ รักตพงศ์ไพศาล และ พิชญา รักตพงศ์ไพศาล

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นนักการเมืองที่มีความสนิทสนมกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยจุดเริ่มต้นคือการที่ พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล อาสาเข้าไปเป็นนายหน้าในการเจรจาซื้อขายสนามกอล์ฟอัลไพน์[2]

งานธุรกิจ แก้

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นนักธุรกิจที่รู้จักชื่อเล่นว่า เสี่ยเพ้ง เป็นเจ้าของกิจการหมู่บ้านเกศินีวิลล์และเจ้าของสนามกอล์ฟอัลไพน์[3]

งานการเมือง แก้

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคปฏิวัติ เมื่อปี พ.ศ. 2524 ต่อมาเข้าร่วมงานการเมืองพรรคก้าวหน้า เมื่อปี พ.ศ. 2531 จากนั้นจึงย้ายมาสังกัดพรรคเอกภาพ ในปี พ.ศ. 2535 และย้ายพรรคอีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 มาเป็นกรรมการบริหารพรรคความหวังใหม่ ซึ่งต่อมายุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม[4] จนกระทั่งเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) [6]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 9[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ต่อมาในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ในงานจัดเลี้ยงวันเกิดครบรอบ 69 ปี พงษ์ศักดิ์ได้ขึ้นเวทีประกาศต่อหน้า ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่ไปร่วมงานเลี้ยงวันเกิดว่า ขอยุติบทบาททางการเมืองตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เนื่องจากอายุเยอะแล้วและได้ทำการเมืองมานานพอสมควร จึงอยากหยุดเพื่อพักผ่อน[8]

กรณีถูกออกหมายเรียกจาก ศอฉ. แก้

พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นนักการเมืองคนหนึ่งที่ถูกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เรียกให้ไปรายงานตัวในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ ห้องรับรอง อาคารอิงคยุทธบริหาร[9]

เกียรติยศ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

รางวัลและการยกย่อง แก้

  • พ.ศ. 2548 : “วิศวกรดีเด่น” คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2556 : Distinguished Honorary Fellow ของ ASEAN Federation of Engineering Organization

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
  2. "สัมพันธ์"พงษ์ศักดิ์-ทักษิณ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2010-08-09.
  3. ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรีราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 57ง 2 สิงหาคม 2548
  5. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
  7. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  8. เสี่ยเพ้ง มือขวา 'ดร.ทักษิณ ชินวัตร' ประกาศยุติบทบาททางการเมือง - ข่าวสด
  9. "ศอฉ.จัด 3 นายพลสอบ"เสี่ยเพ้ง"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-24. สืบค้นเมื่อ 2011-01-31.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗


ก่อนหน้า พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ถัดไป
วัฒนา เมืองสุข    
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย
(ครม. 54)

(8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547)
  อนุทิน ชาญวีรกูล
พินิจ จารุสมบัติ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(ครม. 54)

(6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 11 มีนาคม พ.ศ. 2548)
  วัฒนา เมืองสุข
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 55)
(2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
  พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ
อารักษ์ ชลธาร์นนท์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ครม.60)
(28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
  ณรงค์ชัย อัครเศรณี