วารุจ ศิริวัฒน์
วารุจ ศิริวัฒน์ (เกิด 1 กันยายน พ.ศ. 2505) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายสันติ พร้อมพัฒน์) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ เขต 2 และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
วารุจ ศิริวัฒน์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กันยายน พ.ศ. 2505 อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | นวลจิรา ศิริวัฒน์ |
ประวัติ
แก้วารุจ ศิริวัฒน์ เกิดเมื่อวันที 1 กันยายน พ.ศ. 2505 ที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นบุตรของพลเรือตรีชอบ กับนางสุพัตรา (วิจิตรานนท์) ศิริวัฒน์ และเป็นน้องชายของนายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนิเทศศาสตรบัณฑิต (โฆษณา) จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และปริญญาโท ศิลปศาสตรหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
วารุจ สมรสกับนางนวลจิรา ศิริวัฒน์
การทำงาน
แก้วารุจ ศิริวัฒน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุตรดิตถ์ สมัยแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคชาติพัฒนา (เลือกตั้งแทนนายศรัณย์ ศรัณย์เกตุ จากพรรคไทยรักไทยที่ถูกใบแดง) ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เขาได้ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย กระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดอุตรดิตถ์อีกครั้งหนึ่ง สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคฯ นายวารุจ พร้อมกับสมาชิกอีกจำนวนหนึ่งจึงย้ายไปสังกัดพรรคกิจสังคม นำโดยนายสุวิทย์ คุณกิตติ
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคชาติพัฒนา[1] แต่แพ้ให้กับนายศรัณย์ ศรัณย์เกตุ จากพรรคเพื่อไทย
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 วารุจลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต จังหวัดอุตรดิตถ์ เขต 2 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[2]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 วารุจ ศิริวัฒน์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[3][4]
ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2566 ได้กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดอุตรดิตถ์ และได้รับการเลือกตั้ง[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ชพน.เปิดตัว2อดีตส.ส.กิจสังคมย้ายซบ
- ↑ สรุปผลการเลือกตั้งอุตรดิตถ์ 100 % “เพื่อไทย” ชนะทั้ง 2 เขต มาใช้สิทธิ 73 %
- ↑ สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 20 สิงหาคม 2562
- ↑ คำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๑๑๙๐/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง [จำนวน ๒ ราย ๑. นางรัตนา จงสุทธานามณี ๒. นายวารุจ ศิริวัฒน์]
- ↑ ผลการเลือกตั้ง ส.ส. อุตรดิตถ์ 'เพื่อไทย' แลนสไลด์ 3 เขต
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑