อลงกต มณีกาศ
อลงกต มณีกาศ (เกิด 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เขต 3 เป็นอดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม อดีตโฆษกพรรคเพื่อแผ่นดิน และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครพนม ได้รับการตั้งฉายาว่า "หมอขวัญใจคนยาก"[1] ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนมครั้งแรกใน พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรรคเพื่อแผ่นดิน และปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เขต 3 ในการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคภูมิใจไทย
อลงกต มณีกาศ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | ไพจิต ศรีวรขาน |
เขตเลือกตั้ง | เขต 3 |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ไพจิต ศรีวรขาน | |
ก่อนหน้า | ไพจิต ศรีวรขาน อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ |
ถัดไป | ไพจิต ศรีวรขาน ชูกัน กุลวงษา |
เขตเลือกตั้ง | เขต 2 |
โฆษกพรรคเพื่อแผ่นดิน | |
ดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน พ.ศ. 2552 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | ไชยยศ จิรเมธากร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 จังหวัดนครพนม ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อแผ่นดิน (2550 - 2554) ชาติไทยพัฒนา (2554 - 2561) พลังประชารัฐ (2561 - 2564) ภูมิใจไทย (2564 - ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้อลงกต มณีกาศ เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ที่อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เป็นบุตรของนายอนันต์ กับนางมาลี มณีกาศ สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาเวชศาสตร์ทั่วไป จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การทำงาน
แก้อลงกต มณีกาศ รับราชการเป็นแพทย์ จนได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลปลาปาก ต่อมาจึงได้หันเหเข้ามาทำงานการเมือง โดยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม ในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน และยังเป็นโฆษกพรรคเพื่อแผ่นดินอีกด้วย[2] ต่อมาได้ตัดสินใจลงสมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[3]
ใน พ.ศ. 2561 อลงกตได้ย้ายมาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ[4] อลงกตลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครพนมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] ต่อมาได้เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม
ในปี 2565 นายแพทย์อลงกต ได้ลาออกจากตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม โดยให้เหตุผลว่าต้องการเตรียมลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งหน้า โดยป้องกันการครหาว่าใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการหาเสียง และเป็นการเอาเปรียบคู่แข่งขัน[1]
ในปี 2566 อลงกตลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครพนมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 และได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เขต 3
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้อลงกต มณีกาศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 หมออลงกตลาออกรองนายก อบจ.นครพนมเตรียมสู้ศึก ส.ส. สมัยหน้า
- ↑ พรรคเพื่อแผ่นดิน[ลิงก์เสีย]
- ↑ รับสมัครส.ส.นครพนมคึกคัก เพื่อไทยชนภูมิใจไทยจาก ไทยรัฐ
- ↑ "หมออลงกต"เผยซบ "พลังประชารัฐ" เพราะเป็นพรรคสายกลาง
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๖๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน