ดร.ณัชพล ตันเจริญ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน ปัจจุบันย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย

ดร.ณัชพล ตันเจริญ
ไฟล์:ณัชพล ตันเจริญ.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 เมษายน พ.ศ. 2525 (42 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองภูมิใจไทย

ประวัติ

แก้

ดร.ณัชพล ตันเจริญ (ชื่อเล่น: นัช) เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2525 (42 ปี) ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายพิเชษฐ์ ตันเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา และเป็นหลานชายของนายสุชาติ ตันเจริญ อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทราหลายสมัย

การศึกษา

แก้

ดร.ณัชพล ตันเจริญ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา (นมร.บด.) กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขารัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) บางเขน กรุงเทพฯ / ปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิซซูรี ณ เมืองเซนต์หลุยห์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก สาขาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และการฝึกอบรม

แก้
  • ประกาศนียบัตรชั้นสูง "การบริหารเศรษฐกิจสาธารณะ สำหรับนักบริหารระดับสูง (ปศส.)" รุ่นที่ 9 สถาบันพระปกเกล้า
  • ประกาศนียบัตร "ธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปธพ.)" รุ่นที่ 10 สถาบันพระปกเกล้า
  • ประกาศนียบัตร "ผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย (ปนป.)" รุ่นที่ 2 สถาบันพระปกเกล้า
  • ประกาศนียบัตร "นักบริหารระดับสูงธรรมศาสตร์เพื่อสังคม (นมธ.)" รุ่นที่ 4 สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ประกาศนียบัตร "การฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือระดับผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง" รุ่นที่ 547 ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อำเภอศรีราชา
  • ประกาศนียบัตร "นักอุตสาหกรรมรุ่นใหม่ (Young F.T.I. Elite)" รุ่นที่ 2 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • ประกาศนียบัตร "สุดยอดผู้ประกอบการยุคใหม่เพื่อสังคม (SEP-S)" รุ่นที่ 1 สถาบันนักลงทุนรุ่นใหม่
  • วุฒิบัตร "กลยุทธิ์การบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (RE-CU)" รุ่นที่ 44 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การทำงาน

แก้

การเมือง

แก้

ดร.ณัชพล ตันเจริญ เริ่มต้นเข้าสู่แวดวงการเมืองในฐานะสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดินร่วมกับนายพิเชษฐ์ ตันเจริญ ผู้เป็นบิดา และภายหลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมืองในปลายปี พ.ศ. 2551 และลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมแทนตำแหน่งที่ว่างลง ณ เขตเลือกตั้งที่ 1 ของจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีคะแนนเป็นอันดับหนึ่งของเขตเลือกตั้ง จนได้รับฉายาว่า "ตันเจริญจูเนียร์"[1]

ดร.ณัชพล เคยเข้ารับตำแหน่งเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร และเป็นที่ปรึกษาและเลขานุการส่วนตัวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พิเชษฐ์ ตันเจริญ) ในปี พ.ศ. 2551 ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2552 ได้เข้ามาทำงานเกี่ยวกับทางด้านการสวัสดิการสังคม โดยรับตำแหน่งเป็นโฆษกประจำคณะกรรมาธิการฯ และประธานอนุกรรมาธิการด้านงบประมาณสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส. ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย[2] ภายหลังได้เข้ามาทำงานในส่วนของวุฒิสภา โดยดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา (คณะทำงานฝ่ายการเมือง) ของนายนิคม ไวยรัชพานิช

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3]

ธุรกิจและสังคม

แก้
  • ประธานบริหาร บริษัท กรีน เอมเมอรัล จำกัด
  • ประธานบริหาร บริษัท เอ็ม.เอส.เทอมินัล จำกัด (เขตปลอดอากร เอ็ม.เอส.เทอมินัล)
  • กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮารุ บางกอก จำกัด
  • กรรมการสมาคมนิสิตเก่าคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นายทะเบียน หัวหน้าสำนักงาน และกรรมการสมาคมแห่งสถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง (สพต.)
  • อนุกรรมการโครงการ "กระโดดเชือก ทางเลือกเยาวชน พ้นโรคหัวใจ" ภายใต้มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • นายกสมาคมกีฬาจัมพ์โร้ปไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ตันเจริญจูเนียร์[ลิงก์เสีย]
  2. "ตระกูลดัง-ผู้มีชื่อเสียง แห่ลงสมัคร ส.ส.แปดริ้ว แน่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-05-29.
  3. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๗๔, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒