ฟาริดา สุไลมาน

(เปลี่ยนทางจาก ฟารีดา สุไลมาน)

ฟาริดา สุไลมาน (เกิด 26 มกราคม พ.ศ. 2507) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ และอดีตรองโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นภรรยาของมุข สุไลมาน

ฟาริดา สุไลมาน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ฟาริดา ประธาน

26 มกราคม พ.ศ. 2507 (60 ปี)
อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
มาตุภูมิ (2551–2554)
ภูมิใจไทย (2554–2564)
ไทยสร้างไทย (2564–ปัจจุบัน)
คู่สมรสมุข สุไลมาน

ประวัติ

แก้

ฟาริดา มีชื่อเล่นว่า โน เกิดเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2507 ที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์[1] ในครอบครัวที่เป็นมุสลิม 1 ใน 5 ครอบครัวในจังหวัดสุรินทร์ บิดาชื่อดรุณ ประธาน เป็นลูกครึ่งปาทานและเขมร[2] ทั้งบิดาและมารดาล้วนเคยดำรงตำแหน่งกำนันในท้องถิ่น[3] จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสุรวิทยาคาร จากนั้นศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาจิตวิทยาการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จบการศึกษาปริญญาโท สาขาการแนะแนว จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และปริญญาเอกสาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ฟาริดาสมรสกับมุข สุไลมาน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี มีบุตร 2 คน คือ นัสรี และฟาดิล สุไลมาน

งานการเมือง

แก้

ฟาริดา สุไลมานเริ่มทำงานการเมืองโดยเป็นนายกเทศมนตรีตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ต่อมาจึงได้หันเข้ามาทำงานการเมืองในระดับชาติ โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุรินทร์ และได้รับการเลือกตั้งถึง 3 สมัย ในสังกัดพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และย้ายมาสังกัดพรรคมาตุภูมิ ต่อมาภายหลังการยุบสภาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย[4] และลงสมัคร สส. จังหวัดสุรินทร์ ในนามพรรคภูมิใจไทย[5] ซึ่งเป็นคนละพรรคกับมุข สุไลมานผู้เป็นสามี

ฟาริดา สุไลมาน เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ในปี พ.ศ. 2564 เธอย้ายไปร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์[6] กระทั่งทางพรรคไทยสร้างไทยได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวนางฟาริดาเป็น ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เขต 5 จังหวัดสุรินทร์ ของทางพรรค[7]

กรณีที่เป็นข่าว

แก้

ฟาริดา สุไลมาน เคยตกเป็นข่าวดังเนื่องจากถูกกัปตันการบินไทยขวางไม่ให้ขึ้นเครื่องบิน เที่ยวบินกรุงเทพฯ-ขอนแก่น เพื่อที่จะเดินทางกลับพื้นที่ที่ จ.สุรินทร์ โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG1040 กรุงเทพฯ-ขอนแก่น แต่ขณะเดินไปที่ประตูเครื่องบิน มีชายแต่งกายคล้ายกัปตันเครื่องมาขวางและสอบถามว่าตนเองเป็น ส.ส.พรรคพลังประชาชนใช่หรือไม่ พร้อมกล่าวว่า การบินไทย ไม่ต้อนรับ ส.ส.พรรคพลังประชาชน[8]

ผลงาน

แก้

งานเขียน

แก้
  • พ.ศ. 2557 - หนังสือ"ผู้หญิงสองวัฒนธรรม บนเส้นทางชีวิตการเมือง"

พิธีกร

แก้
  • พ.ศ. 2557 - รายการ wanita variety ทางช่อง TMTV (ช่องทีวีมุสลิม)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. จีรศักดิ์ โสะสัน และคณะ (มกราคม–เมษายน 2551). นูรุ้ลอีมานและกระบวนการสร้างชุมชนมุสลิมในพหุสังคมอีสาน. วารสารลุ่มน้ำโขง (4:1), หน้า 60-61
  3. บรรจง บินกาซัน (30 ธันวาคม 2557). "ศาสนามิใช่ที่มาของความขัดแย้ง". โลกวันนี้. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. เปิดตัว 25 อดีต ส.ส. ไหลเข้าภท.[ลิงก์เสีย]
  5. "'ฟาริดา สุไลมาน' มั่นได้รับเลือกเป็นส.ส.สุรินทร์ อีกครั้ง แม้ว่าจะมีการปรับเขตเลือกตั้งใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-21. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
  6. เช็คขุนพล'ไทยสร้างไทย' เดิมพัน30ปี‘สุดารัตน์’
  7. “ฟาริดา สุไลมาน” เปิดตัวซบ “ไทยสร้างไทย” ลงชิง ส.ส.สุรินทร์ เขต 5
  8. "กัปตันการบินไทยร่วมวงต้านพปช.ห้ามส.ส.ขึ้นเครื่อง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-11-10.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๕, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑