องอาจ วงษ์ประยูร

นายองอาจ วงษ์ประยูร (เกิด 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี เขต 4 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2552 (การเลือกตั้งซ่อม) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตกรรมการบริหารพรรคเขต 3 จังหวัดสระบุรี พรรคเพื่อไทย[1] ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ

องอาจ วงษ์ประยูร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี เขต 4
เริ่มดำรงตำแหน่ง
19 มิถุนายน พ.ศ. 2566
เขตเลือกตั้งอำเภอเสาไห้ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอหนองโดน อำเภอดอนพุด และอำเภอบ้านหมอ
คะแนนเสียง29,676
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี เขต 3
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
เขตเลือกตั้งอำเภอหนองแค อำเภอบ้านหมอ อำเภอเสาไห้ อำเภอหนองแซง อำเภอหนองโดนและอำเภอดอนพุด
คะแนนเสียง32,674
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 (62 ปี)
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ
คู่สมรสปิยะดา วงษ์ประยูร
บุตร2 คน
บุพการี
  • บัญญัติ วงษ์ประยูร (บิดา)
  • ทองอยู่ วงษ์ประยูร (มารดา)

ประวัติ แก้

องอาจ วงษ์ประยูร เกิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 เป็นบุตรของนายบัญญัติ วงษ์ประยูร อดีต ส.ส. สระบุรีหลายสมัย และนางทองอยู่ วงษ์ประยูร มีพี่น้อง 4 คน และเป็นพี่ชายนายอรรถพล วงษ์ประยูร ซึ่งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สระบุรีเช่นกัน

สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต สาขากฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, Bachelor of Science International Business สาขาบริหารธุรกิจ Fort Lauderdale College และศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สมรสกับนางปิยะดา ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี ปี พ.ศ. 2564 มีบุตร 2 คน บุตรชายชื่อ นายเอกชัย วงษ์ประยูร จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

งานการเมือง แก้

อดีตเป็นเทศมนตรีเทศบาลตำบลพระพุทธบาท ต่อมาปี พ.ศ. 2549 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสระบุรี หลังจากนั้น พ.ศ. 2550 ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 3 (มี ส.ส. ได้ 2 คน) ต่อมา พ.ศ. 2552 พรรคพลังประชาชนถูกยุบพรรค นายวีระพล อดิเรกสาร ซึ่งเป็น ส.ส.สระบุรี และเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนถูกติดสิทธิ์ทางการเมือง นายองอาจจึงลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

ต่อมา พ.ศ. 2554 ย้ายไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[2] โดยการชักชวนของพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติ[3] และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี

จากนั้นในวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 นายองอาจได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.[4] และได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ส่งผลให้องอาจได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรีต่ออีกสมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

องอาจ วงษ์ประยูร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2552 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดสระบุรี สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. นาย องอาจ วงษ์ประยูร
  2. 8อดีตส.ส.จากสามพรรคย้ายสังกัดเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]
  3. เจาะสนามโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง ส.ส.สระบุรีทั้ง 4 เขตใครเต็ง 1 รอง 2[ลิงก์เสีย]
  4. “ชวน” แจ้งสภา ส.ส.ลาออกอีก 5 -ให้ถอดแมสก์ประชุมได้
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้