พลพีร์ สุวรรณฉวี
พลพีร์ สุวรรณฉวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล) ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา[1] ขณะสังกัดพรรคชาติพัฒนา และพรรคเพื่อแผ่นดิน นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครราชสีมา[2]
พลพีร์ สุวรรณฉวี ม.ว.ม., ป.ช. | |
---|---|
![]() | |
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 สิงหาคม พ.ศ. 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ.2550 – 9 ธันวาคม พ.ศ.2556 | |
ก่อนหน้า | ไพโรจน์ สุวรรณฉวี |
ถัดไป | ทัศนาพร เกษเมธีการุณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา |
พรรค | ภูมิใจไทย |
บิดา | ไพโรจน์ สุวรรณฉวี |
มารดา | ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี |
ศาสนา | พุทธ |
ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
ประวัติแก้ไข
นายพลพีร์ สุวรรณฉวี เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 เป็นบุตรของว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ในรัฐบาลของบรรหาร ศิลปอาชา) และแกนนำกลุ่มโคราช พรรคเพื่อแผ่นดิน กับร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ในนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ), อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) และ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (พ.ศ. 2555-2563)
การศึกษาแก้ไข
- สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา, โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และ Tockington Manor School, Bristol ประเทศอังกฤษ
- สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จาก Clifton College, Bristol ประเทศอังกฤษ
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี Bachelor of Art in Travel Industry Management มหาวิทยาลัยมหิดล
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท Master of Art in Marketing and Communication at London College of Communication ประเทศอังกฤษ
การทำงานแก้ไข
นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน ขณะดำรงตำแหน่งได้รับการแต่งตั้งเป็น รองประธานคณะกรรมาธิการ การต่างประเทศ (พ.ศ. 2551-2554) นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2554 ยังได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการอนุกรรมาธิการงบประมาณครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง และ กรรมาธิการร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ย้ายไปสังกัดพรรคชาติพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2556 ได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการ การต่างประเทศ และ รองประธานคณะกรรมาธิการการกีฬาและการท่องเที่ยว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เพื่อพิจารณางบประมาณปี พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2556 นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[3] ชนะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป แต่ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศคราวนั้นถูกให้เป็นโมฆะ
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2562 นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคภูมิใจไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครราชสีมา ผลการเลือกตั้ง ได้คะแนนมาเป็นอันดับสอง ด้วยคะแนน 34,817 คะแนน รองจากนางทัศนาพร เกษเมธีการุณ พรรคพลังประชารัฐ ที่ได้ 36,473 คะแนน
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ได้รับการแต่งตั้ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล)[4] ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เข้าได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เพียงคนเดียวที่สังกัดพรรคภูมิใจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ทำเนียบ สส./สว. - สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- ↑ คุณพลพีร์ สุวรรณฉวี ประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครราชสีมาคนไหม่
- ↑ 'พลพีร์ สุวรรณฉวี'ชิ่ง'ชพน.'ซบ'เพื่อไทย'อีกราย
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๗๕/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๗ คน ๑. นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ ฯลฯ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔