ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์

ทันตแพทย์หญิง ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ ท.ช. ท.ม. (เกิด 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511) รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย[1] เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ[2] อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นสะใภ้ตระกูลชินวัตร[3]

ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 334 วัน)
ก่อนหน้าชัยเกษม นิติสิริ
รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 317 วัน)
ก่อนหน้าเผ่าภูมิ โรจนสกุล
ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 (56 ปี)
อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2542–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2557–2561, 2562–ปัจจุบัน)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
อาชีพนักการเมือง

ประวัติ

แก้

ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ เป็นสะใภ้ตระกูลชินวัตร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (NIDA)[4]

การทำงาน

แก้

ประสบการณ์

แก้

ทันตแพทย์โรงพยาบาลมิชชั่น ภูเก็ต ปี 2534-2536

งานสังคม

แก้
  • ทันตแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทร์ทรา บรมราชชนนี (พ.อ.ส.ว.)
  • นายกก่อตั้งสมาคมสตรีนักธุรกิจ และวิชาชีพ จังหวัดภูเก็ต
  • ที่ปรึกษาสมาคมสตรี จังหวัดภูเก็ต
  • ประธานจัดงานสมาคมศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2538 และ 2543 จังหวัดภูเก็ต
  • คณะกรรมการอำนวยการโรงเรียนวิทยาสาธิต จังหวัดภูเก็ต
  • ที่ปรึกษาชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ปี 2542
  • ที่ปรึกษาชมรมคนพิการจังหวัดภูเก็ต
  • กรรมการสมาคมพิทักษ์เด็กภูเก็ต
  • ที่ปรึกษาชมรมชาวเหนือภูเก็ต - อันดามัน
  • ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ยุวสมาคมแห่งประเทศไทย ภูเก็ต
  • คณะกรรมการที่ปรึกษาสมาคมคนพิการทุกประเภท จังหวัดภูเก็ต
  • ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพจังหวัดภูเก็ต (ก.ค.อ.)
  • เลขานุการคณะกรรมการติดตามร่าง พ.ร.บ. สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์
  • คณะกรรมการรณรงค์เพิ่มผู้บริจาคโลหิต
  • คณะกรรมการอำนวยการ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปภัมภ์
  • อดีตรองเลขาธิการสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์
  • คณะกรรมการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตพื้นที่นำร่องปฏิรูปการศึกษาภูเก็ต
  • คณะทำงานติดตามนโยบายกองทุนหมู่บ้านแห่งชาติ ประจำจังหวัดภูเก็ต
  • ประธานคณะกรรมการสตรี เด็ก เยาวชน คนชรา และผู้พิการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต

งานการเมือง

แก้

(สันติ พร้อมพัฒน์)

(ปวีณา หงสกุล)

  • กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้
  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เปิด 23 รายชื่อคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
  2. "ศรีญาดา" เพื่อไทย เข้ารายงานตัว เป็น สส. หลัง "ชัยเกษม นิติสิริ" ลาออก
  3. เปิดประวัติ2สส.หญิงเพื่อไทย'ศรีญาดา -เพ็ญชิสา'สายตรง'ชินวัตร'
  4. ประวัติการศึกษา ทพญ.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์
  5. ประกาศสภาผู้แทนราษฎรเรื่อง ตั้งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนแทนตําแหน่งที่ว่าง
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๖, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒๒๑, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้