อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย

อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย (เกิด 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย

อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 1
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าเฉลิมชาติ การุญ
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 22 ธันวาคม 2550
ก่อนหน้าทวีวัฒน์ ฤทธิ์ฤๅชัย
ถัดไปเฉลิมชาติ การุญ
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
ก่อนหน้าชาญชัย พรหมสาขา ณ สกลนคร
ถัดไปเจริญ การุญ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 (70 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสสุภนันท์ ตีรสวัสดิชัย
บุตร2 คน
บุพการี
  • เต็ก ตีรสวัสดิชัย (บิดา)
  • เอ็ง ตีรสวัสดิชัย (มารดา)

ประวัติ แก้

อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายเต็ก และนางเอ็ง ตีรสวัสดิชัย มีพี่น้อง 4 คน หนึ่งในนั้นคือนางลดาวัลย์ รามางกูร ภรรยานายวีรพงษ์ รามางกูร สำเร็จการศึกษาพาณิชย์ศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิติศาสตรบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำเร็จการศึกษาปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สมรสกับเภสัชกรหญิงสุภนันท์ มีบุตร 2 คน

งานการเมือง แก้

นายอภิชาติ ได้เริ่มทำงานการเมืองระดับท้องถิ่น ในปี 2529 -2534 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสกลนคร 2 สมัย เป็นประธานสภาจังหวัดสกลนคร 2 สมัย และก้าวเข้าสู่การเมืองระดับชาติในการเลือกตั้งสส.ทั่วไปปี 2535 นายอภิชาติได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขตเลือกตั้งที่ 1ในนามพรรคประชาธิปัตย์สามสมัยติดต่อกัน(2535/1,2535/2 และ 2538) ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 และในปี 2535/2 ได้รับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[1] ต่อมา พ.ศ. 2539 ไม่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่เข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ

พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย ได้รับการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นายอภิชาติย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับการรับเลือกในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตาม ต่อมาในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 นายอภิชาติย้ายกลับมาสังกัดพรรคเพื่อไทย และกลับมาได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 8 สมัย​ ได้รับเลือกตั้งหลายสมัยมากที่สุดของจังหวัดสกลนคร คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคไทยรักไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๗/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (๑ นายคำรณ ณ ลำพูน ๒ นายอภิชาติ ตรีสวัสดิชัย ๓ นายแก้ว บัวสุวรรณ ๔ นายพรเทพ วิริยพันธ์)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น แก้