ประเสริฐ บุญเรือง
ประเสริฐ บุญเรือง (เกิด 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502) ประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ 6 สมัย
ประเสริฐ บุญเรือง | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ เขต 6 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 (23 ปี 302 วัน) | |
เขตเลือกตั้ง | อำเภอนาคู อำเภอเขาวง และอำเภอกุฉินารายณ์ |
คะแนนเสียง | 44,002 (49.55%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2544) ไทยรักไทย (2544—2548) พลังประชาชน (2548—2550) เพื่อไทย (2550—ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | บุญหนา บุญเรือง |
ประวัติ
แก้ประเสริฐ บุญเรือง เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เป็นบุตรของนายคำพอ และนางจันใด บุญเรือง มีพี่น้อง 5 คน จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ประเสริฐสมรสกับนางบุญหนา บุญเรือง ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาฬสินธุ์ มีบุตรี 2 คน ได้แก่ นางสาววิภาวี บุญเรือง นายกเทศมนตรีตําบลกุดสิม และ นางสาวสัตบุษย์ บุญเรือง เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
งานการเมือง
แก้อดีตเคบเป็นกำนันตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2544 ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 6 สมัย
ในปี พ.ศ. 2555 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎร แทนนายประเสริฐ จันทรรวงทอง ที่ลาออกเพื่อไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ประเสริฐ บุญเรือง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคความหวังใหม่ → พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๖๒, เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นายประเสริฐ บุญเรือง เก็บถาวร 2012-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายประเสริฐ บุญเรือง[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายประเสริฐ บุญเรือง), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย