สุรทิน พิจารณ์ (เกิด 2 มีนาคม พ.ศ. 2502) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ 2 สมัย และหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่

สุรทิน พิจารณ์
หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่
เริ่มดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน พ.ศ. 2554
(13 ปี 337 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 365 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มีนาคม พ.ศ. 2502 (66 ปี)
จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปไตยใหม่ (2554–ปัจจุบัน)
คู่สมรสแพงศรี พิจารณ์

ประวัติ

แก้

สุรทิน พิจารณ์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2502 อาศัยอยู่ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ จากวิทยาลัยครูอุบลราชธานี

การทำงาน

แก้

สุรทิน เริ่มทำงานการเมืองโดยการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นชื่อว่า "พรรคประชาธิปไตยใหม่" และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เมื่อปี 2554 และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และในครั้งนั้นพรรคได้รับเลือกตั้งอย่างเหนือความคาดหมาย จำนวน 1 ที่นั่ง แต่เขาขาดคุณสมบัติจึงทำให้ไม่ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 อีก 2 ครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ซึ่งเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อทั้ง 2 ครั้ง

ในปี 2562 เขานำพรรคประชาธิปไตยใหม่เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ แต่เขาก็แสดงบทบาททางการเมืองในเชิงตรงกันข้ามในบางครั้ง[1][2] และในปี 2566 เขาได้รับการทาบทามจากพรรคก้าวไกลให้เข้าร่วมรัฐบาลแต่เขาปฏิเสธด้วยเห็นว่ามีเสียงสนับสนุนมากพอแล้ว[3]

สุรทิน เคยลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2565 เพื่อเปิดทางให้แพงศรี พิจารณ์ ได้เลื่อนมาดำรงตำแหน่งแทน[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. โปรไฟล์ “สุรทิน” ประชาธิปไตยใหม่ พรรคเล็ก ปฏิเสธดินเนอร์กับ 3 ป.
  2. "สุรทิน" จี้ "นายกฯ" ยุบสภาฯ ก่อนสิ้นปี 65 ชี้ "ส.ส." อยู่ไปไม่มีประโยชน์
  3. “สุรทิน พิจารณ์” ให้กำลังใจ “พิธา” แนะคนเป็นประธานสภา ต้องเป็นบุคคลที่ทำให้ ส.ส.เรียกว่าท่านประธานที่เคารพได้
  4. ส.ส.พรรคประชาธิปไตยใหม่ เข้ารายงานตัว แทน ส.ส.ที่ลาออกไป
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖