อาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ

อาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ (ชื่อเล่น : แนน) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคภูมิใจไทย เป็นอดีตเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ และอดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ

ประวัติ แก้

อาสพลธ์ เกิดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2521 เป็นบุตรของ มงคลพัฒน์ สรรณ์ไตรภพ นักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดศรีสะเกษ[1][2] เกิดในตระกูลนักธุรกิจโรงสีข้าว ในชื่อโรงสี "ต.ไทยเจริญ" เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) มหาวิทยาลัยฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา[3]

การทำงาน แก้

อาสพลธ์ เริ่มทำงานการเมืองท้องถิ่นโดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับเลือกตั้ง 2 สมัย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ (วิชิต ไตรสรณกุล) กระทั่งในปี 2562 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต 7 เอาชนะ มานพ จรัสดำรงนิตย์ อดีต ส.ส.หลายสมัยจากพรรคเพื่อไทย[4]

อาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด และรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25

อาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ ถุกกล่าวถึงทางสื่อมวลชนจากกรณีการประกันตัวหญิงสาวที่ก่อเหตุขโมยนมผงเพื่อเลี้ยงลูก[5][6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. คนดีศรีษะเกษ
  2. อาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมจาก หนังสือพิมพ์แนวหน้า
  3. สภาผู้แทนราษฎร
  4. เลือกตั้ง 2562 : "เพื่อไทย" รักษาฐานเสียงภาคอีสาน
  5. คนของปชช.! “ส.ส.ภูมิใจไทย” ใช้ตำแหน่งขอประกันหญิงลูก 4 ขโมยนมให้ลูก
  6. ศรีสะเกษเปลี่ยน "เสี่ยลาว" ย้ายค่าย "ไตรศุลี" เข้าทำเนียบ
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕