ไผ่ ลิกค์ (เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2521) เป็นนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร เขต 1 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตเลขาธิการพรรคเศรษฐกิจไทย

ไผ่ ลิกค์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดกำแพงเพชร เขต 1
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
(12 ปี 270 วัน)
ก่อนหน้า
คะแนนเสียง36,187 (37.33%)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 เมษายน พ.ศ. 2521 (45 ปี)
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2553–2561)
พลังประชารัฐ (2561–2565,2566–ปัจจุบัน)
เศรษฐกิจไทย (2565–2566)
บุพการี

ประวัติ แก้

ไผ่ ลิกค์ เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2521 เป็นบุตรของนายเรืองวิทย์ ลิกค์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวงและสมาชิกบ้านเลขที่ 111 กับนางปราณี โชติรัชต์กุล มีน้องชาย คือ นาย ภูผา ลิกค์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อแรกสำเร็จการศึกษาได้กลับมาสานต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของครอบครัว แต่ด้วยความที่ชอบเครื่องจักรและยานยนต์มาตั้งแต่เด็ก จึงได้คิดเริ่มขยายธุรกิจมายังแวดวงรถยนต์และเต๊นท์รถมือสอง

ที่มาของชื่อ "ไผ่ วันพอยท์"นั้น ปรากฏชื่อเข้าร่วมแข่งขันอยู่ในวงการมอเตอร์สปอร์ตมากหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็นรายการแข่งเซอร์กิต, แดร๊ก, ดริฟท์หรือยิมคาน่า โดยนายไผ่เป็นหนึ่งในนักแข่งของทีมวันพอยท์ จึงเป็นที่มาของฉายา ไผ่ วันพอยท์[1]

งานการเมือง แก้

หลังจากที่บิดาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองพร้อมกับกลุ่มบ้านเลขที่ 111 ไผ่ จึงลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาปี พ.ศ. 2554 ลงสมัครอีกครั้งและได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก โดยเอาชนะนายสุขวิชชาญ มุสิกุล บุตรชายนายปรีชา มุสิกุล จากพรรคประชาธิปัตย์ และเข้าดำรงตำแหน่งโฆษกคณะกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร

ในวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ไผ่ ได้ย้ายมาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 กระทั่งวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ[2]

ในปี 2565 เขาพร้อมกับสมาชิกพรรคพลังประชารัฐจำนวนหนึ่ง ได้ย้ายไปสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย และเขารับตำแหน่งเลขาธิการพรรค แต่ในที่สุดในปี 2566 สมาชิกกลุ่มดังกล่าวก็ย้ายกลับมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และลงสมัครรับเลือกตั้งใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เช่นเดิม

ในปี 2566 ไผ่ได้รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรีในสัดส่วนของพรรคพลังประชารัฐ แต่ในคณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1 ยังไม่ปรากฏว่ามีชื่อของเขาในตำแหน่งรัฐมนตรี[3]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

ไผ่ ลิกค์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคพลังประชารัฐพรรคเศรษฐกิจไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

ข่าวในสังคม แก้

ไผ่ ลิกค์ ตกเป็นข่าวดังพาดหัวหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เมื่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) เชิญตัวเข้าให้ข้อมูลถึงกรณีที่มารถลัมโบร์กีนี อะเวนตาโดร์ คันต้องสงสัย ที่นายไผ่ได้เกี่ยวข้องในการร่วมเป็นนายหน้ากับเพื่อนของตน ประสานให้ผู้ซื้อมาดูรถคันดังกล่าว

นายไผ่ได้ให้สัมภาษณ์ว่า "ในทางปรกติเมื่อมีความต้องการซื้อในสินค้าประเภทรถยนต์ที่ตนดำเนินธุรกิจอยู่ และตนเองมีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบสภาพรถซุปเปอร์คาร์ ตนจึงได้เสาะหาซุปเปอร์คาร์และได้ข้อสรุปจนมาแนะนำรถลัมบอร์กินี่รุ่นและราคาที่ใกล้เคียงกันให้เลือก 3 คัน ปัจจุบันแม้รถคันตามข่าวจะมีการเปลี่ยนมือกัน แต่ตนก็ยังไม่ได้รับค่านายหน้าหรือผลประโยชน์ใดใดตอบแทนแม้แต่น้อย สามารถตรวจสอบได้ ตนเพิ่งรู้จักชื่อนายไซซะนะและทราบว่ารถยนต์คันนี้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวพันกับขบวนการฟอกเงินและการค้ายาเสพติดก็เป็นเวลาเดียวกับคนทั้งประเทศในเวลานี้" นายไผ่กล่าว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ข่าวสด, ไผ่ ลิกค์ / สุขวิชชาญ มุสิกุล
  2. 'บิ๊กป้อม'ร่วมครั้งแรก พปชร.ถกใหญ่ เพิ่ม 17 กก.บห. 'สุริยะ'นอนมาจากร.พ.
  3. หลุดโผ ครม. 2 คน “พิชิต ชื่นบาน-ไผ่ ลิกค์”
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้