อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด (เกิด 17 ตุลาคม พ.ศ. 2517) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรองประธานและโฆษกคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านและการมีส่วนร่วมของประชาชน อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย อดีตประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์สื่อสารการเมืองพรรคเพื่อไทย และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์
อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด | |
---|---|
อนุสรณ์ ในปี พ.ศ. 2563 | |
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ถัดไป | ศันสนีย์ นาคพงศ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2517 อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
ประวัติ
แก้ดร.อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เกิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ที่ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันคือ อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะมนุษยศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท สาขาการบริหารและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นนักกิจกรรมและเป็นนักเคลื่อนไหวที่มีดีกรีความนิยมในหมู่คนเสื้อแดง ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ด้านการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในขณะศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา ได้เป็นตัวแทนโรงเรียนเข้าแข่งขัน ในรายการโต้คารมมัธยมศึกษารุ่นที่ 2 ทางไทยทีวีสีช่อง 3 อสมท.ในฐานะหัวหน้าทีม จนได้รับตำแหน่ง นักโต้วาทีชายยอดเยี่ยม จากทั้ง 12 รุ่น โดยสามารถเอาชนะนักโต้วาทีชายทั้งหมด ด้วยผลการโหวตจากประชาชนคนไทยทั้งประเทศ[1]
อนุสรณ์เริ่มมีชื่อเสียง จากการเป็นผู้ดำเนินรายการเล่าข่าว เช่น ข่าวหน้าสี่ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2551 จากนั้นในปี พ.ศ. 2552 เข้าร่วมเป็นพิธีกรของสถานีประชาธิปไตย สำหรับบทบาทซึ่งทำให้เป็นที่รู้จักของกลุ่มคนเสื้อแดงมากที่สุดคือ การทำหน้าที่โฆษกเวทีการชุมนุมของ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน [1] เป็นผู้ดำเนินรายการ The issue และ ที่นี่เอ็มวีห้า[1]
ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[2] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[4]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 110[5]
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6]
ในปี 2563 เขาได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ให้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[7] และในปี 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 26 สังกัดพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[8]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 ข่าว; ถอด (สี) เสื้อ "อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด" จากนักโต้คารม สู่โทรโข่งรัฐบาล, มติชนรายวัน, 27 สิงหาคม 2554
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-26. สืบค้นเมื่อ 2011-08-29.
- ↑ ครม.ตั้ง"พล.ต.ต.ธวัช"รักษาการเลขานายก[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๕๐๕/๒๕๕๖ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๔ ราย ๑. ศาสตราจารย์ธเนศวร์ เจริญเมือง ฯ)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๘, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๙๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ที่เฟซบุ๊ก
- อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด ที่ ยูทูบ
- เว็บไซด์พรรคเพื่อไทย
ก่อนหน้า | อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ฐิติมา ฉายแสง | รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 - 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555) |
ศันสนีย์ นาคพงษ์ |