ขัตติยา สวัสดิผล
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ขัตติยา สวัสดิผล นักการเมืองและพิธีกรสตรีชาวไทย เป็นอดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย อดีตรองโฆษกพรรคไทยรักษาชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตหัวหน้าพรรคขัตติยะธรรม และเป็นบุตรสาวของ พลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) ปัจจุบันเป็นวิทยากรและนักวิเคราะห์ทางวอยซ์ทีวี
ขัตติยา สวัสดิผล ป.ม., ท.ช. | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 กรุงเทพมหานคร |
เชื้อชาติ | ไทย |
พรรค | พรรคขัตติยะธรรม (2553-2554) พรรคเพื่อไทย (2554-2561, 2562-ปัจจุบัน) พรรคไทยรักษาชาติ (2561-2562) |
คู่สมรส | วิรุฬห์ กีรติพานิช |
ที่อยู่ | ไทย |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ประวัติแก้ไข
ขัตติยา สวัสดิผล ชื่อเล่น เดียร์ เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 ที่ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวของพลตรีขัตติยะ กับนาวาเอกหญิง(พิเศษ) จันทรา สวัสดิผล มีพี่สาวร่วมบิดาคือ กิตติยา สวัสดิผล ชื่อเล่น เก๋ การศึกษา จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนราชินีบน ระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทด้านกฎหมาย 2 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน และมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน สหรัฐ[ต้องการอ้างอิง]
ชีวิตครอบครัวแก้ไข
ขัตติยา สวัสดิผล ได้เข้าพิธีมงคลสมรสกับ วิรุฬห์ กีรติพานิช ชื่อเล่น โอ๋ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ณ โรงแรมสุโขทัย ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร[1]
การทำงานและบทบาททางการเมืองแก้ไข
เมื่อจบการศึกษาปริญญาโทแล้วจึงเดินทางกลับประเทศไทย โดยประกอบอาชีพเป็นที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทเอกชน
ขัตติยา ได้เข้าฟังการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ขณะนั้นได้ยึดทำเนียบรัฐบาลโดยการชักชวนของ อัญชะลี ไพรีรัก ซึ่งสนิทสนมครอบครัวและกับบิดาของ ขัตติยาเป็นอย่างดี โดยเข้าไปนั่งฟังจำนวน 2 ครั้ง และ อัญชะลี ไพรีรัก ได้ประกาศบนเวทีชุมนุมว่าลูกสาว เสธ.แดง เข้ามาร่วมชุมนุมกับพวกเรา ต่อมาหลังจากการเสียชีวิตของบิดา ขัตติยาตั้งใจจะสานต่อปณิธาณทางการเมืองของบิดาต่อ จึงได้เข้าร่วมงานกับพรรคขัตติยะธรรม โดยได้รับเลือกจากสมาชิกพรรคให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคขัตติยะธรรม
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับการติดต่อทาบทามจากพรรคเพื่อไทยให้มาร่วมงาน จึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 44 และได้รับตำแหน่งกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เธอได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 50[2] แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายในวันเดียวได้ตามพระราชกฤษฎีกา
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เธอได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคไทยรักษาชาติ[3] โดยลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 6 แต่พรรคไทยรักษาชาติถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ขัดติยาจึงย้ายกลับมาสังกัดพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง
จนกระทั่งเมื่ออรุณี กาสยานนท์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์) ได้ลาออกจากวอยซ์ทีวีเพื่อรับตำแหน่งโฆษกพรรคเพื่อไทย ขัตติยาจึงได้รับการทาบทาบให้เข้าร่วมจัดรายการทอล์กกิงไทยแลนด์แทน ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ขัตติยาได้ลงสมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 20 และได้รับการเลือกตั้งพร้อมกับลิณธิภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ หนังสือพิมพ์ออนไลน์สนุกดอตคอม วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เดียร์ย้ายร่วมทษช. ชี้เป็นพรรคใหม่ไม่ติดกรอบความคิดเดิม-มุ่งประโยชน์ชาติเป็นหลัก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๔๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |