อภิชาติ ศิริสุนทร
อภิชาติ ศิริสุนทร (เกิด 25 เมษายน พ.ศ. 2512) อดีตเลขาธิการพรรคก้าวไกล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล และพรรคอนาคตใหม่ และเป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อภิชาติ ศิริสุนทร | |
---|---|
อภิชาติ ใน พ.ศ. 2566 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 136 วัน) | |
เลขาธิการพรรคก้าวไกล | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน พ.ศ. 2566 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 319 วัน) | |
ก่อนหน้า | ชัยธวัช ตุลาธน |
ถัดไป | ศรายุทธิ์ ใจหลัก (พรรคประชาชน) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 เมษายน พ.ศ. 2512 เขตบางแค กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล (2563–2567) |
ประวัติ
แก้อภิชาติ ศิริสุนทร เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2512 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต (บริหารรัฐกิจ) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาสังคม) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
การทำงาน
แก้อภิชาติ ศิริสุนทร เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคอนาคตใหม่ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก
ภายหลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ อภิชาติได้ย้ายมาสังกัดพรรคก้าวไกล และเป็นกรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[1] ต่อมาอภิชาติได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[2] ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 แทน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เขามีบทบาทในการตรวจสอบเกี่ยวกับปัญหาที่ดินหลายแห่ง อาทิ โรงแรมศรีพันวา จังหวัดภูเก็ต[3] รวมถึงการอภิปรายเกี่ยวกับงบประมาณโครงการโคกหนองนาโมเดลของรัฐบาล[4]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 อภิชาติได้ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 6 และได้รับการเลือกตั้ง[5] ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2566 อภิชาติได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคแทนชัยธวัช ตุลาธน ที่ขยับขึ้นไปเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร[6]
ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
แก้- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ --> พรรคก้าวไกล
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ พรรค 'ก้าวไกล' เคาะกรรมการบริหาร เปิดตัวโลโก้ 'ลูกศรสีส้ม'
- ↑ ‘ก้าวไกล’ เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.บึงกาฬ หวังปักหลักชัยคว้าเก้าอี้ทุกเขต
- ↑ 'กมธ.ที่ดิน' กัดไม่ปล่อย ส่งข้อมูลให้สอบ เอกสารสิทธิที่ดิน 'ศรีพันวา'
- ↑ อภิชาติ ศิริสุนทร: โครงการโคกหนองนา ใช้งบเงินกู้ แต่มีแนวโน้มไม่บรรลุผล
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 92 คน "พรรคก้าวไกล"". พีพีทีวี. 2023-05-16. สืบค้นเมื่อ 2023-10-10.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ชัยธวัชเปิดใจเป็นเพียง "ปรับทัพชั่วคราว" พร้อมถอยเมื่อพิธากลับมาเป็นส.ส." โพสต์ทูเดย์. 2023-09-23. สืบค้นเมื่อ 2023-09-23.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๙, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๗๕, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐