ปดิพัทธ์ สันติภาดา
นายสัตวแพทย์ ปดิพัทธ์ สันติภาดา ท.ม. (เกิด 15 ตุลาคม พ.ศ. 2524) ชื่อเล่น อ๋อง เป็นสัตวแพทย์และนักการเมืองชาวไทย อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26[3] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก และอดีตรองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25[4] ต่อมาตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ปดิพัทธ์ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2567 โดยมีจํานวน 11 คน ซึ่งปดิพัทธ์ เป็น 1 ใน 11 คน[5] ส่งผลให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เขต 1 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2567 โดยต้องมีการให้จัดเลือกตั้งภายใน 45 วัน[6] และส่งผลให้ รองประธานสภาสภาผู้แทนราษฎรไทย คนที่ 1 ว่างลง
ปดิพัทธ์ สันติภาดา | |
---|---|
ปดิพัทธ์ร่วมงานวันรัฐธรรมนูญ ที่สัปปายะสภาสถาน พ.ศ. 2566 | |
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง | |
ดำรงตำแหน่ง 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (1 ปี 33 วัน) | |
ก่อนหน้า | สุชาติ ตันเจริญ |
ถัดไป | พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพิษณุโลก เขต 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 136 วัน) | |
ก่อนหน้า | วรงค์ เดชกิจวิกรม |
ถัดไป | จเด็ศ จันทรา |
คะแนนเสียง | 40,842 (41.35%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2524 อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก[1] ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล (2563–2566) เป็นธรรม (2566–2567) |
คู่สมรส | ปิยนุช สันติภาดา |
บุตร | 2 คน |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ทรัพย์สินสุทธิ | 9 ล้านบาท[2] |
ชื่อเล่น | อ๋อง |
ปดิพัทธ์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2562 ในสังกัดพรรคอนาคตใหม่ หลังจากที่พรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค ในเวลาต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคก้าวไกล และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคเหนือ[7] ก่อนจะลาออกจากกรรมการบริหารพรรคเพื่อดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ภายหลัง สถานการณ์การเมืองนำพาให้พรรคก้าวไกลตกเป็นฝ่ายค้าน แต่เนื่องจากปดิพัทธ์ซึ่งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรนั้นยังเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล หัวหน้าพรรคก้าวไกลจึงไม่อาจดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านจากข้อห้ามในรัฐธรรมนูญ ในที่สุด พรรคก้าวไกลจึงมีมติขับปดิพัทธ์ออกจากพรรคเมื่อ 28 กันยายน ต่อมาปดิพัทธ์ประกาศสมัครเป็นสมาชิกพรรคเป็นธรรม โดยเปิดตัวเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม และได้รับการรับรองสมาชิกภาพเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม
ประวัติ
แก้ปดิพัทธ์ สันติภาดา เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2524 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ปริญญาตรีสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิตจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยศาสนศาสตร์ทรีนีตี้ ประเทศสิงคโปร์ น.สพ.ปดิพัทธ์ ทำงานเป็นนายสัตวแพทย์ปฏิบัติการเป็นระยะเวลาทั้งสิ้นสองปี และทำงานด้านการพัฒนาเยาวชนและแก้ไขปัญหาสังคมกับสมาคมนักศึกษาคริสเตียนไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 จนถึง พ.ศ. 2561[8] ด้านชีวิตครอบครัว ปดิพัทธ์ สมรสกับนาง ปิยนุช สันติภาดา มีบุตรี 2 คน
งานการเมือง
แก้ผู้แทนราษฎรสมัยแรก
แก้ปดิพัทธ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคอนาคตใหม่ เขต 1 จังหวัดพิษณุโลก หมายเลข 2[9] เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 โดยได้รับคะแนนเสียง 35,579 คะแนน ชนะนายเศรษฐา กิตติจารุรักษ์ จากพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งได้คะแนน 23,682 คะแนน และชนะนายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส. 3 สมัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้คะแนน 18,613 คะแนน ใน พ.ศ. 2565 ปดิพัทธ์เป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาผลกระทบของมาตรา 112 ที่มีต่อสิทธิเสรีภาพของสื่อและประชาชน[10]
ผู้แทนราษฎรสมัยที่สอง และรองประธานสภาฯ
แก้ปดิพัทธ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สองใน พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคก้าวไกล เขต 1 จังหวัดพิษณุโลก หมายเลข 9 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยได้รับคะแนนเสียง 40,842 คะแนน มากเป็นอันดับหนึ่ง ทำให้ปดิพัทธ์ได้เป็น ส.ส. สมัยที่สอง
ในการประชุมครั้งแรกของสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ปดิพัทธ์ได้รับการเสนอชื่อจากประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง โดยมีวิทยา แก้วภราดัย จากพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นคู่ชิงตำแหน่ง ผลการลงมติปรากฎว่าปดิพัทธ์ชนะวิทยาด้วยคะแนนเสียง 312 ต่อ 105 (งดออกเสียง 77 บัตรเสีย 2)[11]
แต่ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้น ทำให้พรรคก้าวไกลต้องเปลี่ยนสถานะเป็นฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมาตรา 106 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติว่าผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จะต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นหัวหน้าพรรคที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดในกลุ่มพรรคการเมืองที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่ปดิพัทธ์เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ซึ่งส่งผลให้หัวหน้าพรรคก้าวไกลไม่สามารถเป็นผู้นำฝ่ายค้าน[12] ตำแหน่งผู้นำฝ่ายจึงควรต้องตกเป็นของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ซึ่งมีผู้แทนราษฎรมากเป็นอันดับสองในฝ่ายค้าน) อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ในเวลานั้นก็ไม่มีหัวหน้าพรรค และไม่มีทีท่าจะได้หัวหน้าพรรคในเร็ววัน
ในที่สุด 28 กันยายน ที่ประชุมร่วมระหว่างกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคก้าวไกลมีมติให้ปดิพัทธ์พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล หรือคือการขับออกจากพรรค[13] ปดิพัทธ์จึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในสภาผู้แทนราษฎรที่ย้ายพรรคระหว่างวาระสภาเป็นคนแรกของประเทศไทย หากไม่นับกรณีพรรคต้นสังกัดเดิมถูกยุบ โดยหลังจากพรรคมีมติแล้ว ปดิพัทธ์ได้แถลงว่า นับตั้งแต่พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ตัดสินใจลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อเปิดทางให้ที่ประชุมใหญ่ของพรรคเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ "ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร" ตนเข้าใจดีว่าตามรัฐธรรมนูญ ตนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นรองประธานสภาฯ ต่อในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนและราษฎรจากพรรคก้าวไกล
แม้ทางเลือกหนึ่งคือการลาออกจากการเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อกลับไปปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคก้าวไกล แต่หลังจากพิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบของการตัดสินใจของตนต่อการขับเคลื่อนวาระการเปลี่ยนแปลงที่ตนได้ให้คำมั่นสัญญากับประชาชน ในวันที่ตนเข้ามารับตำแหน่งรองประธานสภาฯ จึงได้ตัดสินใจแจ้งกับคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลชุดใหม่ ว่าตนประสงค์จะทำหน้าที่ต่อในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะทำให้ตนไม่สามารถเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกลอีกต่อไป
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ปดิพัทธ์ได้เปิดตัวเข้าร่วมงานกับพรรคเป็นธรรมอย่างเป็นทางการ[14] แต่ได้สมัครสมาชิกพรรคและได้รับการรับรองสมาชิกภาพจากกรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม[15] หลายคนมองว่าการกระทำเช่นนี้ คือการที่พรรคก้าวไกลนำปดิพัทธ์ไปฝากเลี้ยงไว้ที่พรรคเป็นธรรม
ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ศาลรัฐธรรมนุญมีมติยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 10 ปี ถึงแม้ว่าปดิพัทธ์นั้นจะลาออกจากกรรมการบริหารรวมถึงถูกขับออกจากพรรคแล้วก็ตาม แต่ปดิพัทธ์ก็ยังเคยมีชื่ออยู่ในบัญชีกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลชุดที่ถูกร้องเหมือนกัน ทำให้ปดิพัทธ์ก็ถูกตัดสิทธิทางการเมือง และทำให้ปดิพัทธ์นั้นหลุดจากตำแหน่งสส. และรองประธานสภาคนที่ 1 ด้วยเช่นกัน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ปดิพัทธ์ สันติภาดา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติ "ปดิพัทธ์ สันติภาดา" จากผู้ล้ม ส.ส.หลายสมัย สู่ตัวตึงอภิปรายในสภาฯ". สนุกดอทคอม. 2023-09-29.
- ↑ "เปิดทรัพย์สิน 8 ส.ส.ก้าวไกล "พิจารณ์" รวยสุด 261 ล้าน ที่ดิน-รถหรูเพียบ". springnews. 2023-07-17.
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ‘ประธาน-รองประธานสภา’
- ↑ เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
- ↑ "มติ ศาลรัฐธรรมนูญ ยุบ "ก้าวไกล" เพิกถอนสิทธิการเมือง กก.บห.พรรค 10 ปี". Thai PBS.
- ↑ "ปักหมุดเลือกตั้งใหม่! พิษณุโลก หลัง "หมออ๋อง" ถูกตัดสิทธิ ปมยุบพรรคก้าวไกล". pptvhd36.com. 2024-08-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ก้าวไกล เลือก ทิม พิธา นั่งหัวหน้า ประกาศสานต่ออุดมการณ์อนาคตใหม่ 54 ส.ส. พร้อมเดินเคียงข้างประชาชน". The Standard. 2020-03-14. สืบค้นเมื่อ 2023-05-16.
- ↑ "เรื่องราวของผม My Story". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-09. สืบค้นเมื่อ 2019-05-09.
- ↑ คนตามข่าว : ปดิพัทธ์ สันติภาดา โค่นหมอวรงค์ขึ้นแท่นส.ส.
- ↑ เสวนา: 112 - The Long March เมื่อ “ความรุนแรง” ผันแปรเป็น “กลั่นแกล้งทางกฎหมาย”
- ↑ "ไม่พลิกโผ ปดิพัทธ์ นั่งรองประธานสภา คนที่ 1-พิเชษฐ์ นั่งรองฯ คนที่ 2". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-07-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ชี้ "ปดิพัทธ์" ไม่ลาออก รองปธ.สภา "ผู้นำฝ่ายค้าน" หล่นไปที่หัวหน้า ปชป". ไทยรัฐ. 2023-08-25. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ด่วน! 'ก้าวไกล' ขับ 'ปดิพัทธ์' ออกจากสมาชิกพรรค ลุยงานฝ่ายค้านเต็มที่". กรุงเทพธุรกิจ. 2023-09-28. สืบค้นเมื่อ 2023-09-28.
- ↑ ""หมออ๋อง" เปิดตัวซบพรรคเป็นธรรม ชูอุดมการณ์ 3 ข้อ". องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. 2023-10-10. สืบค้นเมื่อ 2023-10-10.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'พรรคเป็นธรรม' รับรอง 'ปดิพัทธ์' เข้าพรรคแล้ว". กรุงเทพธุรกิจ. 31 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เพจส่วนตัว เก็บถาวร 2019-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ปดิพัทธ์ สันติภาดา ที่เฟซบุ๊ก
- ปดิพัทธ์ สันติภาดา ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)