สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ[2] (เกิด 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521) ชื่อเล่น เชษฐ์ เป็นนักการเมืองและนักวิชาการชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ รองประธานกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร อดีตอาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียโดยมีประสบการณ์ในการทำงานที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษทางด้านการคมนาคม[3] หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ สุรเชษฐ์ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกล โดยดำรงตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการพรรคฝ่ายความร่วมมือระหว่างพรรคการเมือง

สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 177 วัน)
รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม พ.ศ. 2563 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567
(4 ปี 146 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 (46 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาชน (2567–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
อนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–2567)
การศึกษาโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
มหาวิทยาลัยรัฐยูทาห์
อาชีพ
  • อาจารย์
  • นักการเมือง
ทรัพย์สินสุทธิ21 ล้านบาท[1]
ชื่อเล่นเชษฐ์

ประวัติ

แก้

สุรเชษฐ์สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมโยธาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2542 แล้วเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้านการวางแผนและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ซึ่งสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2544 แล้วเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรมขนส่งและจราจรที่มหาวิทยาลัยรัฐยูทาห์ ประเทศสหรัฐ โดยจบการศึกษาด้วยผลการเรียนเฉลี่ย 4.00[4]

สุรเชษฐ์เคยเป็นนักวิจัยและอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยหลายแห่ง อาทิ ประเทศไทย ประเทศนอร์เวย์ และ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น อีกทั้งยังเคยได้รับตำแหน่ง ประธาน เลขานุการและกรรมการโครงการหรือคณะทำงาน มากกว่า 20 คณะ ทั้งในลักษณะของการจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจการจ้าง หรือการทำงานเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยจากประสบการณ์การลงมือทำงานจริงที่มีความหลากหลายในภาคปฏิบัติ รวมถึงการทำงานในตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิจัยและพัฒนาระบบจราจร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ส่งผลให้ ดร.สุรเชษฐ์ ได้รับเลือกให้มาเป็นอาจารย์ประจำที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง สำนักวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และเคยได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่น[5]

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ดร.สุรเชษฐ์ ได้ลาออกจาก สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (Asian Institute of Technology : AIT) และเข้าร่วมงานกับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และผู้ที่มีความคิดเห็นแนวทางทางการเมืองอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองชื่อ พรรคอนาคตใหม่ และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 8 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และเมื่อพรรคถูกยุบได้ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกล โดยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค[6][7]

ระหว่างการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ดร.สุรเชษฐ์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านคมนาคมของพรรคก้าวไกล ได้รับบทบาทสำคัญในการเป็นผู้อภิปรายกระทรวงคมนาคมในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีรัฐมนตรีคือศักดิ์สยาม ชิดชอบ และมีการอภิปรายสำคัญที่เป็นที่กล่าวถึงหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายความเหลื่อมล้ำในการจัดสรรงบประมาณให้กับจังหวัดบุรีรัมย์มากกว่าจังหวัดอื่น การอภิปรายการทุจริตโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม การอภิปรายโครงการ MR-Map ของรัฐบาล เป็นต้น[8][9][10]

ประสบการณ์การทำงาน

แก้
  • หัวหน้าแผนกวิจัยและพัฒนาระบบจราจร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมจราจรและขนส่ง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ (ถัดมาเป็นพรรคก้าวไกล)
  • รองประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม
  • รองประธานคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาความปลอดภัยทางถนนและคมนาคม
  • รองประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร
  • คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สภาผู้แทนราษฎร (ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2562)
  • รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2563[11]สภาผู้แทนราษฎร (ตั้งแต่ เดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562)
  • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และรัฐวิสาหกิจ สภาผู้แทนราษฎร (ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562)
  • รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาติดตาม ตรวจสอบ การใช้เงินตามพระราชกำหนด 3 ฉบับ เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  • รองประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ
  • ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
  • ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและวางแนวทางการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการจราจรและขนส่ง

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

แก้
  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคก้าวไกล
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกลพรรคประชาชน (พ.ศ. 2567)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เปิดเซฟ 17 ส.ส.ก้าวไกล 'ภัณฑิล' ไม่ธรรมดา รวย 111 ล้าน 'โตโต้' มีรถ 5 คัน ทั้งโฟล์ค-มินิคูเปอร์". matichon.co.th. 2023-09-22.
  2. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ
  3. The Daily Dose - สัมภาษณ์ ดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ แห่งพรรคอนาคตใหม่ - FULL EP
  4. นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ จากเว็บไซต์รัฐสภาไทย
  5. นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ จากเว็บไซต์รัฐสภาไทย
  6. “พิธา” นำทีม ส.ส. ตบเท้าสมัครพรรคก้าวไกล “คารม” ย้ำ กลับมาเพราะบุญคุณ
  7. ทิม พิธา นั่งหัวหน้าพรรคก้าวไกลสานต่ออุดมการณ์อนาคตใหม่
  8. "สุรเชษฐ์" ก้าวไกล ซัด "ศักดิ์สยาม" แผน MR-Map ผลาญงบไป "ชิดชอบบุรี"
  9. "สุรเชษฐ์" ชำแหละ " ก.คมนาคม" งบกระจุกไม่กระจาย มือใครยาวสาวได้สาวเอา ปูด "บุรีรัมย์" นำโด่งงบซ่อมถนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย
  10. รวมอภิปรายครั้งสุดท้าย 5 : ส่วนต่างรถไฟฟ้าสีส้ม 6.8 หมื่นล้าน-เร่งขยายสัมปทานทางด่วน
  11. งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2563
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้