จังหวัดของประเทศไทย

เขตปกครองระดับแรกของประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก จังหวัดในประเทศไทย)

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด[ก] (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด[ข]) จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

จังหวัดของประเทศไทย
หมวดหมู่รัฐเดี่ยว
ที่ตั้งราชอาณาจักรไทย
จำนวน76 จังหวัด
1 เขตปกครองพิเศษ
ประชากรจังหวัดสมุทรสงคราม 192,052 คน – กรุงเทพมหานคร 5,588,222 คน (2563)[1]
พื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม 414 ตารางกิโลเมตร (160 ตารางไมล์) – จังหวัดเชียงใหม่ 22,436 ตารางกิโลเมตร (8,663 ตารางไมล์)
ความหนาแน่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน 22.43 คน/ตารางกิโลเมตร (58.11 คน/ตารางไมล์) – กรุงเทพมหานคร 3,562.24 คน/ตารางกิโลเมตร (1,141.32 คน/ตารางไมล์) (2563)
การปกครองหน่วยราชการจังหวัด (ส่วนภูมิภาค)
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส่วนท้องถิ่น)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานคร)
หน่วยการปกครองอำเภอ
เขต

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางจังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติ

สมัยก่อนการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน

การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2435

 
แผนที่มณฑลเทศาภิบาล พ.ศ. 2458

พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ ให้เป็นไปตามอย่างอารยประเทศในโลกตะวันตก โดยทรงตั้งกระทรวงขึ้นใหม่ 12 กระทรวง และโอนการปกครองหัวเมืองทั้งหมดให้มาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ขณะนั้นดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ) เป็นองค์ปฐมเสนาบดี

เมื่องานการปกครองส่วนภูมิภาคขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยแล้ว การจัดการปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาลจึงได้เริ่มมีขึ้นใน พ.ศ. 2437 โดยแบ่งระดับการปกครองจากสูงสุดไปหาต่ำสุดเป็นมณฑล, เมือง (เทียบเท่าจังหวัด), อำเภอ, ตำบล และหมู่บ้าน มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้กำกับดูแลมณฑล การก่อตั้งมณฑลนั้นจะเป็นไปตามลำดับโดยขึ้นอยู่กับความเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ด้วย วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดการปกครองเช่นนี้ ก็เพื่อให้ส่วนกลางสามารถควบคุมดูแลหัวเมืองและจัดการผลประโยชน์แผ่นดินได้อย่างใกล้ชิด และลิดรอนอำนาจและอิทธิพลของเจ้าเมืองในระบบเดิมลงอย่างสิ้นเชิง

การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองดังกล่าว ทำให้ขุนนางท้องถิ่นที่ต้องการรักษาฐานอำนาจและอิทธิพลของตนไว้ ก่อการกบฏต่อต้านอำนาจรัฐในบางภูมิภาค เหตุการณ์กบฏครั้งสำคัญคือกบฏผู้มีบุญอีสาน (หรือ "กบฏผีบาปผีบุญ") ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2445 โดยอาศัยความเชื่อเรื่องยุคพระศรีอาริยเมตไตรย เป็นเครื่องมือในการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้านอำนาจรัฐ ขบวนการผู้มีบุญได้เคลื่อนไหวตามทั่วภาคอีสาน แต่ที่เป็นเหตุใหญ่ที่สุดอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งกลุ่มกบฏได้ก่อการถึงขั้นเผาเมืองเขมราฐและบังคับให้เจ้าเมืองเขมราฐร่วมขบวนการ แต่ที่สุดแล้วกบฏครั้งนี้ก็ถูกปราบปรามลงในเวลาไม่กี่เดือนต่อมา

หลัง พ.ศ. 2459 คำว่า "จังหวัด" ได้กลายเป็นคำที่เรียกหน่วยการปกครองระดับต่ำกว่ามณฑลแทนคำว่า "เมือง" เพื่อแยกความกำกวมจากคำว่าเมืองที่ใช้เรียกที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด[2]

เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลาออกจาตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยใน พ.ศ. 2458 นั้น ประเทศสยามได้แบ่งการปกครองออกเป็น 19 มณฑล 72 จังหวัด ทั้งนี้ ได้รวมถึงจังหวัดพระนคร ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงนครบาลจนถึง พ.ศ. 2465

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยการปกครองระดับ "ภาค" ขึ้นเพื่อกำกับมณฑล โดยมีผู้ปกครองภาคเรียกว่า "อุปราช" ในระยะนี้ได้มีการตั้งมณฑลต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจนถึง พ.ศ. 2465 อีก 4 มณฑล แต่มณฑลดังกล่าวก็ถูกยุบลงใน พ.ศ. 2468 และมีอีกหลายมณฑลที่ถูกยุบรวมในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อลดรายจ่ายของรัฐบาล อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ระบบมณฑลเทศาภิบาลถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2476 ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด และตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ก็ได้มีการจัดตั้งจังหวัดเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง โดยการตัดแบ่งอาณาเขตบางส่วนจากจังหวัดที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานีมาจัดตั้งเป็นจังหวัดยโสธร ในปี พ.ศ. 2520 มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเชียงรายมาจัดตั้งเป็นจังหวัดพะเยา ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนครพนมมาตั้งเป็นจังหวัดจังหวัดมุกดาหาร ในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการตั้งจังหวัดขึ้นมาพร้อมกัน 3 จังหวัดคือจังหวัดหนองบัวลำภู (แยกจากจังหวัดอุดรธานี) จังหวัดสระแก้ว (แยกจากจังหวัดปราจีนบุรี) และจังหวัดอำนาจเจริญ (แยกจากจังหวัดอุบลราชธานี) และจังหวัดล่าสุดของประเทศไทยคือจังหวัดบึงกาฬ (แยกจากจังหวัดหนองคาย) ในปี พ.ศ. 2554

ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีขึ้นเป็นเขตปกครองรูปแบบพิเศษชื่อ "นครหลวงกรุงเทพธนบุรี" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรุงเทพมหานคร" เมื่อ พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นการรวมภารกิจในการปกครองของทั้งสองจังหวัดในรูปแบบเทศบาลเข้าไว้ด้วยกัน ที่มาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นผู้ปกครองสูงสุดของกรุงเทพมหานครนั้นมาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่การแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทยอย่างผู้ว่าราชการจังหวัด

ลำดับเหตุการณ์

การแบ่งภาคตามเกณฑ์ราชบัณฑิตยสถาน

ราชบัณฑิตยสถานแบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค โดยใช้เกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์[15] ซึ่งเป็นการแบ่งที่ใช้อย่างเป็นทางการและมีใช้ทั่วไปในแบบเรียน

 จังหวัดเชียงรายจังหวัดพะเยาจังหวัดน่านจังหวัดแพร่จังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจังหวัดเลยจังหวัดหนองคายจังหวัดบึงกาฬจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดอุดรธานีจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดชัยภูมิจังหวัดขอนแก่นจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดมุกดาหารจังหวัดมหาสารคามจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดยโสธรจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดสุโขทัยจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดพิจิตรจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดอ่างทองจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดสระบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดนนทบุรีจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนครนายกจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดสระแก้วจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดตากจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดเพชรบุรีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดพังงาจังหวัดภูเก็ตจังหวัดกระบี่จังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดสตูลจังหวัดสงขลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดยะลาจังหวัดนราธิวาส
แผนที่ประเทศไทยแสดงเขตรัฐกิจของจังหวัดต่าง ๆ
(คลิกที่จังหวัดเพื่อไปยังบทความจังหวัดนั้นได้)
  ภาคเหนือ
  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  ภาคกลาง
  ภาคตะวันออก
  ภาคตะวันตก
  ภาคใต้


ตราประจำจังหวัด ธงประจำจังหวัด ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[16] ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
    เชียงราย Chiang Rai 1,287,615 11,678.4 110.3 0.716 ชร CRI TH-57 TH03
    เชียงใหม่ Chiang Mai 1,640,479 20,107.0 81.6 0.904 ชม CMI TH-50 TH02
    น่าน Nan 476,363 11,472.1 41.5 0.705 นน NAN TH-55 TH04
    พะเยา Phayao 486,304 6,335.1 76.8 0.722 พย PYO TH-56 TH41
    แพร่ Phrae 447,564 6,538.6 70.5 0.702 พร PRE TH-54 TH07
    แม่ฮ่องสอน Mae Hong Son 242,742 12,681.3 19.1 0.704 มส MSN TH-58 TH01
 
 
ลำปาง Lampang 761,949 12,534.0 60.8 0.748 ลป LPG TH-52 TH06
 
 
ลำพูน Lamphun 404,560 4,505.9 90.0 0.729 ลพ LPN TH-51 TH05
    อุตรดิตถ์ Uttaradit 462,618 7,838.6 59.0 0.711 อต UTD TH-53 TH10
ตราประจำจังหวัด ธงประจำจังหวัด ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[16] ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
    กาฬสินธุ์ Kalasin 982,578 6,946.7 141.4 0.718 กส KSN TH-46 TH23
    ขอนแก่น Khon Kaen 1,767,601 10,886.0 162.4 0.850 ขก KKN TH-40 TH22
    ชัยภูมิ Chaiyaphum 1,127,423 12,778.3 88.2 0.748 ชย CPM TH-36 TH26
    นครพนม Nakhon Phanom 703,392 5,512.7 127.6 0.778 นพ NPM TH-48 TH73
    นครราชสีมา Nakhon Ratchasima 2,628,818 20,494.0 128.27 0.815 นม NMA TH-30 TH27
    บึงกาฬ Bueng Kan 385,053 4,305 89.4 --- บก BKN TH-38 TH81
    บุรีรัมย์ Buri Ram 1,553,765 10,322.9 150.5 0.729 บร BRM TH-31 TH28
    มหาสารคาม Maha Sarakham 940,911 5,291.7 177.8 0.729 มค MKM TH-44 TH24
    มุกดาหาร Mukdahan 339,575 4,339.8 78.2 0.728 มห MDH TH-49 TH78
    ยโสธร Yasothon 539,542 4,161.7 129.6 0.782 ยส YST TH-35 TH72
    ร้อยเอ็ด Roi Et 1,309,708 8,299.4 157.8 0.732 รอ RET TH-45 TH25
    เลย Loei 624,066 11,424.6 54.6 0.731 ลย LEI TH-42 TH18
    ศรีสะเกษ Si Sa Ket 1,452,471 8,840.0 164.3 0.734 ศก SSK TH-33 TH30
    สกลนคร Sakon Nakhon 1,122,905 9,605.8 116.9 0.705 สน SNK TH-47 TH20
    สุรินทร์ Surin 1,381,761 8,124.1 170.1 0.751 สร SRN TH-32 TH29
    หนองคาย Nong Khai 509,395 3,027.0 168.3 0.755 นค NKI TH-43 TH17
    หนองบัวลำภู Nong Bua Lam Phu 502,868 3,859.0 130.3 0.714 นภ NBP TH-39 TH79
    อุดรธานี Udon Thani 1,544,786 11,730.3 131.7 0.907 อด UDN TH-41 TH76
    อุบลราชธานี Ubon Ratchathani 1,813,088 15,744.8 115.2 0.800 อบ UBN TH-34 TH75
    อำนาจเจริญ Amnat Charoen 372,137 3,161.2 117.7 0.712 อจ ACR TH-37 TH77
ตราประจำจังหวัด ธงประจำจังหวัด ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[16] ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
    กรุงเทพมหานคร Bangkok 5,682,415 1,568.7 1,400 0.933 กท BKK TH-10 TH40
     กำแพงเพชร Kamphaeng Phet 729,133 8,607.5 84.5 0.725 กพ KPT TH-62 TH11
     ชัยนาท Chai Nat 329,722 2,469.7 135.6 0.756 ชน CNT TH-18 TH32
     นครนายก Nakhon Nayok 259,342 2,122.0 119.1 0.758 นย NYK TH-26 TH43
     นครปฐม Nakhon Pathom 911,492 2,168.3 396.7 0.682 นฐ NPT TH-73 TH53
     นครสวรรค์ Nakhon Sawan 1,065,334 9,597.7 111.8 0.752 นว NSN TH-60 TH16
     นนทบุรี Nonthaburi 1,229,735 622.3 1,770.4 0.743 นบ NBI TH-12 TH38
     ปทุมธานี Pathum Thani 1,129,115 1,525.9 739.9 0.805 ปท PTE TH-13 TH39
     พระนครศรีอยุธยา Phra Nakhon Si Ayutthaya 808,360 2,556.6 305.9 0.729 อย AYA TH-14 TH36
     พิจิตร Phichit 541,868 4,531.0 122.0 0.693 พจ PCT TH-66 TH13
     พิษณุโลก Phitsanulok 813,852 10,815.8 78.6 0.724 พล PLK TH-65 TH12
     เพชรบูรณ์ Phetchabun 996,031 12,668.4 78.6 0.745 พช PNB TH-67 TH14
     ลพบุรี Lop Buri 755,854 6,199.8 121.9 0.742 ลบ LRI TH-16 TH34
     สมุทรปราการ Samut Prakan 1,310,766 1,004.1 1,180.3 0.825 สป SPK TH-11 TH42
     สมุทรสงคราม Samut Songkhram 194,057 416.7 465.7 0.762 สส SKM TH-75 TH54
     สมุทรสาคร Samut Sakhon 491,887 872.3 563.9 0.758 สค SKN TH-74 TH55
     สระบุรี Saraburi 617,384 3,576.5 172.6 0.798 สบ SRI TH-19 TH37
     สิงห์บุรี Sing Buri 214,661 822.5 261.0 0.739 สห SBR TH-17 TH33
     สุโขทัย Sukhothai 601,778 6,596.1 91.2 0.738 สท STI TH-64 TH09
     สุพรรณบุรี Suphan Buri 845,950 5,358.0 157.9 0.744 สพ SPB TH-72 TH51
     อ่างทอง Ang Thong 284,970 968.4 294.3 0.720 อท ATG TH-15 TH35
     อุทัยธานี Uthai Thani 327,959 6,730.3 48.7 0.704 อน UTI TH-61 TH15
ตราประจำจังหวัด ธงประจำจังหวัด ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[16] ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
    จันทบุรี Chanthaburi 514,616 6,338.0 81.2 0.754 จบ CTI TH-22 TH48
    ฉะเชิงเทรา Chachoengsao 673,933 5,351.0 125.9 0.708 ฉช CCO TH-24 TH44
    ชลบุรี Chon Buri 1,509,125 4,363.0 345.8 0.889 ชบ CBI TH-20 TH46
    ตราด Trat 220,921 2,819.0 78.4 0.675 ตร TRT TH-23 TH49
    ปราจีนบุรี Prachin Buri 466,572 4,762.4 98.0 0.755 ปจ PRI TH-25 TH74
     ระยอง Rayong 626,402 3,552.0 176.4 0.802 รย RYG TH-21 TH47
     สระแก้ว Sa Kaeo 485,632 7,195.1 75.6 0.688 สก SKW TH-27 TH80
ตราประจำจังหวัด ธงประจำจังหวัด ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[16] ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
     กาญจนบุรี Kanchanaburi 839,776 19,483.2 43.1 0.733 กจ KRI TH-71 TH50
     ตาก Tak 525,684 16,406.6 32.0 0.735 ตก TAK TH-63 TH08
     ประจวบคีรีขันธ์ Prachuap Khiri Khan 509,134 6,367.6 80.0 0.868 ปข PKN TH-77 TH57
     เพชรบุรี Phetchaburi 464,033 6,225.1 74.5 0.798 พบ PBI TH-76 TH56
     ราชบุรี Ratchaburi 839,075 5,196.5 161.5 0.726 รบ RBR TH-70 TH52
ตราประจำจังหวัด ธงประจำจังหวัด ชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[16] ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
     กระบี่ Krabi 469,769 4,708.5 99.8 0.805 กบ KBI TH-81 TH63
     ชุมพร Chumphon 509,650 6,010.8 84.8 0.710 ชพ CPN TH-86 TH58
     ตรัง Trang 643,072 4,917.5 130.8 0.692 ตง TRG TH-92 TH65
     นครศรีธรรมราช Nakhon Si Thammarat 1,557,482 9,942.5 156.6 0.769 นศ NRT TH-80 TH64
     นราธิวาส Narathiwat 796,239 4,475.4 177.9 0.636 นธ NWT TH-96 TH31
     ปัตตานี Pattani 709,796 1,940.4 365.8 0.698 ปน PTN TH-94 TH69
     พังงา Phangnga 267,491 4,170.9 64.1 0.758 พง PNA TH-82 TH61
     พัทลุง Phatthalung 524,857 3,424.5 153.3 0.713 พท PLG TH-93 TH66
     ภูเก็ต Phuket 402,017 543.0 740.3 0.921 ภก PKT TH-83 TH62
     ยะลา Yala 527,295 4,521.1 116.6 0.687 ยล YLA TH-95 TH70
     ระนอง Ranong 190,399 3,298.0 57.7 0.678 รน RNG TH-85 TH59
     สตูล Satun 319,700 2,479.0 129.0 0.655 สต STN TH-91 TH67
     สงขลา Songkhla 1,424,230 7,393.9 192.6 0.681 สข SKA TH-90 TH68
     สุราษฎร์ธานี Surat Thani 1,057,581 12,891.5 82.0 0.849 สฎ SNI TH-84 TH60

การบริหารราชการ

จังหวัดเป็นราชการส่วนภูมิภาค โดยมีส่วนราชการระดับจังหวัดซึ่งรับคำสั่งจากราชการส่วนกลาง มีผู้ว่าราชการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาค

ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นตำแหน่งราชการฝ่ายพลเรือน มีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหาร ระดับสูง สายงานบริหารงานปกครอง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย โดยผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้[17]

  1. เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
  2. ดำรงตำแหน่งในตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังนี้
    • ประเภทบริหาร ระดับต้น ไม่น้อยกว่า 1 ปี
    • ประเภทบริหาร ระดับต้น และประเภทอำนวยการ รวมกันไม่น้อยกว่า 3 ปี

ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ[18]

การตั้งจังหวัดใหม่

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การตั้งจังหวัดใหม่ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2524 โดยให้พิจารณาเรื่อง ดังต่อไปนี้[19]

  1. เนื้อที่และสภาพภูมิศาสตร์ จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ตร.ก.ม.ขึ้นไป และเมื่อแยกไปตั้งเป็นจังหวัดใหม่แล้วจังหวัดเดิมควรมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 5,000 ตร.ก.ม. จังหวัดตั้งใหม่ควรมีเนื้อที่ 5,000 ตร.ก.ม.ขึ้นไป
  2. จำนวนอำเภอและกิ่งอำเภอในเขตการปกครอง จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีอำเภอในเขตการปกครองจำนวนไม่น้อยกว่า 12 อำเภอ และกิ่งอำเภอ และเมื่อแยกไปตั้งเป็นจังหวัดใหม่แล้ว จังหวัดเดิมควรมีอำเภอและกิ่งอำเภอในเขตการปกครองไม่น้อยกว่า 6 อำเภอและกิ่งอำเภอ ส่วนจังหวัดที่ตั้งใหม่ควรมีอำเภอและกิ่งอำเภอไม่น้อยกว่า 6 อำเภอและกิ่งอำเภอ
  3. จำนวนประชากร จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า 600,000 คน และเมื่อแยกไปแล้ว จังหวัดเดิมควรมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า 300,000 คน จังหวัดตั้งใหม่ควรมีประชากรไม่น้อยกว่า 300,000 คน
  4. ลักษณะพิเศษของจังหวัด
  5. ผลดีในการให้บริการประชาชน
  6. ปัจจัยเกี่ยวกับสถานที่ราชการที่มีอยู่แล้วและความพร้อมในด้านอื่น
  7. ปัจจัยเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่
  8. ความคิดเห็นของประชาชนและจังหวัด
  9. รายได้ของจังหวัดเดิม เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีสรรพากร เป็นต้น มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000,000 บาท และเมื่อแยกไปจัดตั้งจังหวัดใหม่แล้วจังหวัดเดิมควรมีรายได้คงเหลือไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาท ส่วนรายได้ของจังหวัดใหม่ก็ควรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาทเช่นกัน
  10. หลักเกณฑ์อื่น ๆ เช่น เหตุผลทางประวัติศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น

การเสนอตั้งจังหวัดใหม่ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา

จังหวัดที่เสนอขอ ปีที่เสนอขอ แยกออกจากจังหวัด องค์ประกอบ พื้นที่ (ตร.กม.) จำนวนประชากร (คน) อ้างอิง
ทุ่งสง 2563 นครศรีธรรมราช อำเภอทุ่งสง อำเภอบางขัน อำเภอนาบอน อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอฉวาง อำเภอช้างกลาง อำเภอถ้ำพรรณรา และอำเภอพิปูน 3,536.116 451,907 [20]
แม่สะเรียง 2564 แม่ฮ่องสอน อำเภอแม่สะเรียง 2,587.4 55,290 [21]

รายชื่อจังหวัดเรียงตามจำนวนและความหนาแน่นของประชากร

รายชื่อจังหวัดเรียงตามจำนวนประชากร

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2553 ประชากรจังหวัดหนองคายลดลงเนื่องจากการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

รายชื่อจังหวัดเรียงตามความหนาแน่นของประชากร

หน่วย: คนต่อตารางกิโลเมตร

วิธีคิด นำจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดมาหารกับพื้นที่

เชิงอรรถ

. ^ ตามข้อมูลของกรมการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยแบ่งการปกครองออกเป็น 75 จังหวัด[49] และต่อมา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 ทำให้จังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่ 76 ของไทย[50]

. ^ กรุงเทพมหานครเป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราชการส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานครเคยเป็นจังหวัด ซึ่งเป็นราชการส่วนภูมิภาค แต่บัดนี้มิใช่แล้ว

อ้างอิง

  1. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (0ก): 51–53. 28 พฤษภาคม 1916.
  3. ประกาศ ตั้งเมืองปราณบุรี ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๓ ตอนที่ ๔๑ ประกาศ ณ วันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ หน้าที่ ๑๐๖๒
  4. "ประกาศ ยุบจังหวัดกระบินทร์บุรีลงเปนอำเภอขึ้นจังหวัดปราจิณ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0): 430. 30 มีนาคม 2468. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
  5. "ประกาศ เรื่องยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0): 576. 21 กุมภาพันธ์ 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
  6. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2489" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29): 315. 9 พฤษภาคม 2489. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
  7. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2490" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (31): 516. 12 สิงหาคม 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
  8. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (21): 1. 7 กุมภาพันธ์ 2515. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
  9. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (69): 1. 28 กรกฎาคม 2520. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
  10. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดมุกดาหาร พ.ศ. 2525" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (121): 14. 27 สิงหาคม 2525. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
  11. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2536" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (125): 1. 2 กันยายน 2536. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
  12. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ พ.ศ. 2536" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (125): 4. 2 กันยายน 2536. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
  13. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2536" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (125): 7. 2 กันยายน 2536.
  14. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (18 ก): 1. 2011-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2011-03-22.
  15. การแบ่งภูมิภาคในประเทศไทย
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 http://somchaiblessings.blogspot.com/2012/05/human-development-in-thailand.html ดัชนีการพัฒนามนุษย์ในประเทศไทย
  17. ประกาศกระทรวงมหาดไทย
  18. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
  19. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การตั้งจังหวัดใหม่[ลิงก์เสีย]
  20. คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เดินหน้า ขอจัดตั้งจังหวัดที่ 78 ของไทย
  21. ร้องขอตั้ง 'อำเภอแม่สะเรียง' ขึ้นเป็นจังหวัดใหม่ แยกตัวออกจากแม่ฮ่องสอน
  22. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2566. สืบค้น 29 มกราคม 2567.
  23. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  24. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  25. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [5] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  26. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  27. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  28. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  29. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
  30. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
  31. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
  32. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  33. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
  34. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/y_stat53.html 2553. สืบค้น 30 มกราคม 2554.
  35. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552."203.113.86.149/stat/y_stat.htmlสืบค้น 30 มีนาคม 2553
  36. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html เก็บถาวร 2012-07-30 ที่ archive.today 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
  37. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat50.html เก็บถาวร 2012-07-28 ที่ archive.today 2551. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
  38. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat49.html เก็บถาวร 2010-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2550. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
  39. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat48.html เก็บถาวร 2009-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2549. สืบค้น 8 มกราคม 2552.
  40. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat47.html เก็บถาวร 2009-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2548. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
  41. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat46.html เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2547. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
  42. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2545." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat45.html เก็บถาวร 2010-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2546. สืบค้น 18 กันยายน 2555.
  43. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2510." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [6] 2511. สืบค้น 30 ตุลาคม 2562.
  44. ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร
  45. มีการแยก 8 อำเภอในจังหวัดหนองคายสถาปนาขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554
  46. กรมการปกครองมีการปรับปรุงแก้ไข และจำหน่ายรายการบุคคลในทะเบียนบ้านกลาง ทั่วราชอาณาจักร และโครงการตรวจสอบ แก้ไขรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน กรณีชื่อเกิน และซ้ำซ้อน
  47. มีการแยก 8 อำเภอในจังหวัดหนองคายสถาปนาขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554
  48. มีการแยก 8 อำเภอในจังหวัดหนองคายสถาปนาขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554
  49. "ประกาศกรมการปกครอง เรื่อง แจ้งข้อมูลทางการปกครอง" (PDF). กรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทย. 4 มีนาคม 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-20. สืบค้นเมื่อ 2010-05-08.
  50. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (18 ก): 1. 2011-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2011-03-22.

ดูเพิ่ม

สัญลักษณ์

แหล่งข้อมูลอื่น