ข้าราชการพลเรือนสามัญ
ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน[1] (ฉบับปัจจุบันคือ พ.ศ. 2551) โดยการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ จะดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือในบางกรณีอาจมีการมอบหมายให้กรมต้นสังกัด เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกฯ ซึ่งการสอบจะแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)
ประวัติ
แก้ก่อนจะมีการจัดระบบการบริหารราชการ และระบบข้าราชการในประเทศไทย ได้กำหนดให้ข้าราชการมีบรรดาศักดิ์ มีลักษณะเป็นเป็นชั้นยศ (Rank) โดยแบ่งออกเป็น 9 ชั้น คือ
- บรรดาศักดิ์ชั้น "นาย"
- บรรดาศักดิ์ชั้น "พัน" หรือ "หมื่น"
- บรรดาศักดิ์ชั้น "ขุน" (เป็นข้าราชการสัญญาบัตร)
- บรรดาศักดิ์ชั้น "หลวง"
- บรรดาศักดิ์ชั้น "พระ"
- บรรดาศักดิ์ชั้น "พระยา"
- บรรดาศักดิ์ชั้น "เจ้าพระยา"
- ส่วนบรรดาศักดิ์ "สมเด็จเจ้าพระยา" นั้น ต้องยกเป็นตำแหน่งพิเศษออกไป เพราะพระราชทานพิเศษเฉพาะตัวจำนวนไม่มาก จึงเป็นกรณีพิเศษ
กระทั่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเป็นผู้วางรากฐานของข้าราชการพลเรือน ซึ่งทรงวางระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นครั้งแรก ให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472[2] จึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันข้าราชการพลเรือน
การวางระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกสรรผู้มีความรู้และความสามารถเข้ารับราชการ โดยกำหนดให้มีข้าราชการ 3 ประเภท คือ
- ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่รัฐบาลบรรจุแต่งตั้งไว้ตามระเบียบฯ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ
- ชั้นสัญญาบัตร (รองอำมาตย์ตรีขึ้นไป)
- ชั้นราชบุรุษ
- ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ คือ บุคคลที่รัฐบาลจ้างไว้ให้ทำการเฉพาะอย่าง หรือระยะเวลาชั่วคราว
- เสมียนพนักงาน คือ ข้าราชการระดับล่าง ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามอัตราที่ตั้งไว้
การแบ่งระดับข้าราชการ
แก้ในอดีตระบบราชการ ใช้การแบ่งระดับข้าราชการในรูปแบบของระบบศักดินา กระทั่งมีการวางระบบข้าราชการพลเรือนสามัญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 จึงเริ่มมีการวางรูปแบบระดับข้าราชการใหม่ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ
ยุคระบบชั้นยศ
แก้เป็นการแบ่งระดับข้าราชการออกเป็นชั้นยศต่างๆ โดยข้าราชการพลเรือนสามัญจะแบ่งเป็น 5 ชั้น คือ ชั้นจัตวา ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก และชั้นพิเศษ ส่วนข้าราชการพลเรือนวิสามัญจะแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ วิสามัญประจำราชการ ชั้นจัตวา และวิสามัญกิตติมศักดิ์ ยึดระบบชั้นยศ ลำดับอาวุโส และคุณสมบัติของบุคคลเป็นหลัก (Rank in Person)[3]
ยุคมาตรฐานกลาง 11 ระดับ
แก้เป็นการกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยการใช้ระบบจำแนกตำแหน่งตามลักษณะงาน คุณภาพและความยุ่งยากของงานแต่ละตำแหน่ง หรือที่เรียกว่าระบบ PC (Position Classification) โดยกำหนดเป็นระดับตำแหน่งเป็นมาตรฐานกลาง (Common level) 11 ระดับ หรือ "ซี" เพื่อไว้ใช้ในการเปรียบเทียบค่างานในแต่ละส่วนราชการให้เป็นไปตามมาตรฐานกลางนี้ เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และเมื่อมีการปฏิรูปการทำงานในภาคราชการพลเรือน ให้ข้าราชการมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่กว้างขึ้น จึงได้มีการเปลี่ยนระดับมาตรฐานกลางใหม่ แต่มิได้มีการยกเลิกระบบ PC แต่อย่างใด ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ยุคระบบลักษณะประเภทตำแหน่ง
แก้ในปัจจุบันข้าราชการพลเรือนสามัญ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีมาตรฐานกลางแต่ละระดับตำแหน่งแยกออกจากกัน และได้ยกเลิกมาตรฐานกลาง 11 ระดับเดิมที่ไม่ได้แยกประเภทตำแหน่ง (ยกเลิก ซี) แต่ยังคงมีการกำหนดตำแหน่งตามลักษณะของงาน และความยุ่งยากซับซ้อนของงานแต่ละตำแหน่ง (ระบบจำแนกตำแหน่ง) ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีผลตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ได้แก่
|
|
อินทรธนูและเครื่องหมายตำแหน่ง
แก้ข้าราชการพลเรือนทั้ง 4 ประเภทใช้อินทรธนูและเครื่องหมายตำแหน่งร่วมกัน สามารถเปรียบเทียบได้ดังแผนภาพนี้
เครื่องหมาย ตำแหน่ง |
1 แถบใหญ่-กึ่งกลางติดตราครุฑพ่าห์ 1 แถบเล็กบน-ขมวดวงกลม |
1 แถบใหญ่ 1 แถบเล็กบนขมวดกลม |
3 แถบเล็ก แถบบนขมวดกลม |
2 แถบเล็ก แถบบนขมวดกลม | ||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้าราชการ พลเรือนสามัญ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บริหาร (Executive) |
ระดับสูง (Higher Level) |
ระดับต้น (Primary Level) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
อำนวยการ (Managerial) |
ระดับสูง (Higher Level) |
ระดับต้น (Primary Level) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิชาการ (Knowledge Worker) |
ระดับทรงคุณวุฒิ (Advisory Level) |
ระดับเชี่ยวชาญ (Expert Level) |
ระดับชำนาญ การพิเศษ (Senior Professional Level) |
ระดับชำนาญการ (Professional Level) |
ระดับปฏิบัติการ (Practitioner Level) |
|||||||||||||||||||||||||||||||
ทั่วไป (General) |
ระดับทักษะพิเศษ (Highly Skilled Level) |
ระดับอาวุโส (Senior Level) |
ระดับชำนาญงาน (Experienced Level) |
ระดับปฏิบัติงาน (Operational Level) |
การบรรจุแต่งตั้ง
แก้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ซึ่ง ก.พ. กำหนดโดย หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.1/ ว15 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551
อัตราเงินเดือน
แก้ข้าราชการพลเรือนสามัญ ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งจะได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดินในอัตราที่กำหนดไว้ ตามคุณวุฒิที่บรรจุแต่งตั้ง เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557[4] ซึ่งกำหนดอัตราเงินเดือนไว้ 34 คุณวุฒิ ประกอบด้วยคุณวุฒิหลัก เช่น
- ปริญญาเอก บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 21,000 - 23,100 บาท
- ปริญญาโท บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 17,500 - 19,250 บาท
- ปริญญาตรี บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 15,000 - 16,500 บาท (ปริญญาตรี 5 ปี อัตราเงินเดือน 15,800 - 17,380 บาท)
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง บรรจุแต่งตั้งในประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือนระหว่าง 11,500 - 12,650 บาท
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพ บรรจุแต่งตั้งในประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือนระหว่าง 9,400 - 10,340 บาท
คุณสมบัติของบุคคลที่จะบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการ
แก้ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังนี้
- มีสัญชาติไทย
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
- เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และไม่มีลักษณะต้องห้ามลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยให้แก่ข้าราชการพลเรือน ต้องมีระยะเวลาในการรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนถึงวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยมีแนวทางยึดตามระดับตำแหน่ง ดังนี้[5]
ประเภททั่วไป
แก้- ระดับปฏิบัติงาน เริ่มขอ บ.ม. ถึง จ.ช.
- ระดับชำนาญงาน เริ่มขอ ต.ม. (ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ต.ช.)
- ระดับอาวุโส เริ่มขอ ท.ม. (ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ท.ช.)
- ระดับทักษะพิเศษ ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ว.ม. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช.)
ประเภทวิชาการ
แก้- ระดับปฏิบัติการ เริ่มขอ ต.ม.
- ระดับชำนาญการ เริ่มขอ ต.ช. (ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับชำนาญการพิเศษ ขอ ท.ม.- ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับชำนาญการพิเศษมาแล้ว 5 ปี ขอ ท.ช.)
- ระดับชำนาญการพิเศษ เริ่มขอ ท.ช. (ได้รับเงินเดือนขั้นสูงและได้ ท.ช. มาแล้ว 5 ปี ขอ ป.ม.)
- ระดับเชี่ยวชาญ ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ว.ม. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. เว้นกรณีลาออก)
- ระดับทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 13,000 บาท เลื่อนชั้นตราตามลำดับได้ทุกปีจนถึง ป.ม. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ป.ช. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. เว้นกรณีลาออก)
- ระดับทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 15,600 บาท ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ป.ช. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา เว้นกรณีลาออก)
ประเภทอำนวยการ
แก้- ระดับต้น เริ่มขอ ท.ช. (ได้รับเงินเดือนขั้นสูงและได้ ท.ช. มาแล้ว 3 ปี ขอ ป.ม.)
- ระดับสูง ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ว.ม. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. เว้นกรณีลาออก)
ประเภทบริหาร
แก้- ระดับต้น ได้ ท.ช. มาแล้ว 3 ปี ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้ว 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้ว 5 ปี ขอ ม.ว.ม. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. เว้นกรณีลาออก)
- ระดับสูงที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท เลื่อนชั้นตราตามลำดับได้ทุกปีจนถึง ป.ม. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ป.ช. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. เว้นกรณีลาออก)
- ระดับสูงที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ป.ช. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา เว้นกรณีลาออก)
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471
- ↑ http://www.ocsc.go.th/ocsccms/frontweb/view.jsp?contentID=CNT0000358[ลิงก์เสีย]
- ↑ "หนังสือสำนักงาน ด่วนที่สุด ที่ นร 1008.1/ว20 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2555 เรื่องการกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 2014-01-07.
- ↑ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552