จักรัตน์ พั้วช่วย
จักรัตน์ พั้วช่วย (เกิด 29 ธันวาคม พ.ศ. 2517) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 2 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ 4 สมัย ประธานคณะกรรมาธิการการบริการจัดการทรัพยากรน้ำในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 และอดีตเลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองหล่มสัก
จักรัตน์ พั้วช่วย | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 2 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (16 ปี 266 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2517 จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2548–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2561) พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้จักรัตน์ พั้วช่วย เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2517 เป็นบุตรของนายประวัติ พั้วช่วย และนางฐิตินันท์ พั้วช่วย อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองหล่มสัก มีพี่น้อง 2 คน คือ นายกิตติ พั้วช่วย นายกเทศมนตรีเมืองหล่มสักคนปัจจุบัน[1] และนายณัฐวุฒิ พั้วช่วย ส.อบจ.เพชรบูรณ์ นอกจากนี้ยังเป็นหลานอาของนายจรัส พั้วช่วย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรังสิต และรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
งานการเมือง
แก้จักรัตน์ เข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นเลขานุการนายกเทศมนตรีเมืองหล่มสักของนางฐิตินันท์ ผู้เป็นมารดา ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนามพรรคชาติไทย เมื่อปี พ.ศ. 2548 แต่พ่ายแพ้ให้กับนายไพศาล จันทรภักดี จากพรรคไทยรักไทย เพียงไม่กี่ร้อยคะแนน
ปี พ.ศ. 2550 ย้ายมาลงสมัครในนามพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก จนได้รับเลือกต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2566 รวม 4 สมัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้จักรัตน์ พั้วช่วย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ พั้วช่วยซิวชัย เฉือนวัฒนศัพท์ นายกเล็กหล่มสัก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นายจักรัตน์ พั้วช่วย เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายจักรัตน์ พั้วช่วย[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายจักรัตน์ พั้วช่วย), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย