จิตติพจน์ วิริยะโรจน์
จิตติพจน์ วิริยะโรจน์ (เกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ และอดีตรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ
จิตติพจน์ วิริยะโรจน์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
ประวัติ
แก้จิตติพจน์ เกิดวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน
การทำงาน
แก้จิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2551
ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานกรรมมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา จำนวนติดต่อกัน 4 วาระ เป็นเวลา 6 ปี ทำหน้าที่ตรวจ ติดตาม การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ อันได้แก่ กกต. ปปช. สตง. องค์กรอัยการ เป็นต้น รวมทั้งมีหน้าที่ตรวจสอบติดตามการบริหารงบประมาณของรัฐ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจทุกหน่วยงานที่มีการใช้งบประมาณแผ่นดิน
ในปี พ.ศ. 2553 หลังจากที่มีการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา[1] โดยมี นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา นายโคทม อารียา ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เป็นรองประธาน โดยคณะกรรมการมีหน้าที่ ตรวจสอบ ติดตาม ค้นหาความจริง และหาทางออกเกี่ยวกับวิกฤตการณ์อันเนื่องมาจากการสลายการชุมนุมในครั้งนั้น การทำงานของคณะกรรมการใช้เวลานานกว่า 2 ปี แต่รายงานของคณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมืองถูกระงับมิให้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะชน
นอกจากนี้ ยังได้รับเลือกตั้งเป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายที่สำคัญหลายฉบับ เช่นพ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา พ.ศ. 2554 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2554 เป็นต้น
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 เขาได้รับการเสนอชื่อให้เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 แทนรองศาสตราจารย์ทัศนา บุญทอง ที่ลาออกจากตำแหน่ง โดยมีผู้ได้รับการเสนอชื่อจำนวน 3 คน คือ พรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา (31 คะแนน) นายจิตติพจน์ (25 คะแนน) และสุวิศว์ เมฆเสรีกุล (21 คะแนน) ในที่สุดการลงคะแนนรอบที่ 2 นางพรทิพย์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
ในปี 2561 จิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคไทยรักษาชาติ[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ ส.ว.แดงอ้างผู้เสียชีวิตจากม็อบแดงเป็นพวกบริสุทธิ์ ควรได้เงินชดเชยเพิ่ม
- ↑ ไทยรักษาชาติ แนะ 4 รัฐมนตรีใน “พลังประชารัฐ” อย่าสวมหมวกหลายใบ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วุฒิสภา เก็บถาวร 2009-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน