ทัศนา บุญทอง
รองศาสตราจารย์ ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล [1][2]รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ คนที่ 2 เป็นอดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา 2 สมัย สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11
ทัศนา บุญทอง | |
---|---|
รองประธานวุฒิสภาไทย คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มีนาคม พ.ศ. 2551 – 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 (2 ปี 338 วัน) | |
ก่อนหน้า | สหัส พินทุเสนีย์ |
ถัดไป | พรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2485 |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติ
แก้รองศาสตราจารย์ ทัศนา บุญทอง หรือที่รู้จักในนาม รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2485 เป็นธิดาคนที่ 3 ของพี่น้อง 6 คน ของนายเนียบ กับนางลิ้ม บุญทอง สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสตรีวิทยา ระดับอนุปริญญาสาขาพยาบาลและอนามัย จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระดับปริญญาตรี จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยบอสตัน และระดับปริญญาเอก สาขาการศึกษาด้านสุขภาพและการอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา
ในปี 2559 รศ.ทัศนา ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[1]
การทำงาน
แก้งานด้านการศึกษา
แก้รศ.ทัศนา บุญทอง เคยทำงานเป็นพยาบาลประจำโรงพยาบาลศิริราช เป็นคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นคณบดีผู้ก่อตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นอกจากนั้นยังได้รับแต่งตั้งเป็นประธานโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิด มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
งานวิชาชีพ
แก้รศ.ทัศนา บุญทอง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสภาการพยาบาล (2 วาระ) วาระ พ.ศ. 2541-2545 และวาระ พ.ศ. 2545-2549 เป็นรองประธานสมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย เป็นนายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย และเป็นประธานที่ประชุมคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ของรัฐ
งานการเมือง
แก้รศ.ทัศนา บุญทอง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดปี พ.ศ. 2534 และในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาจากภาควิชาชีพ[3] และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2551[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้รับการสรรหาเป็นวุฒิสมาชิก สมัยที่ 2[5]
ในปี พ.ศ. 2557 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557[6] และในวันที่ 21 ตุลาคมของปีเดียวกัน ในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติได้เลือกรองศาสตราจารย์ทัศนา เป็นรองประธานคนที่ 2[7] และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติในอีก 9 วันต่อมา[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[11]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 รศ.ดร.ทัศนา บุญทอง นายกสภาการพยาบาล ผู้หญิงเก่งได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ฯ
- ↑ นายกสภาการพยาบาล
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภา (นายประสพสุข บุญเดช นายนิคม ไวยรัชพานิช นางสาวทัศนา บุญทอง)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ พระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, ราชกิจจานุบกษา, 13 ตุลาคม 2557
- ↑ ไม่พลิก!‘เทียนฉาย’นั่งประธานสปช. เก็บถาวร 2014-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,คม ชัด ลึก, 25 ตุลาคม 2557
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 218 ง, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖๘, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓