ฉบับร่าง:เบญจา แสงจันทร์

(เปลี่ยนทางจาก เบญจา แสงจันทร์)
เบญจา แสงจันทร์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567
(5 ปี 136 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2523
จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–2567)
คณะก้าวหน้า (2567-ปัจจุบัน)
ศิษย์เก่าโรงเรียนชลราษฎรอำรุง
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อาชีพนักธุรกิจ
นักการเมือง

เบญจา แสงจันทร์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล 2 สมัย และอดีตกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล

ประวัติ

แก้

เบญจา แสงจันทร์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนชลราษฎรอำรุง ต่อมาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง[1]

เบญจามีความสนใจเกี่ยวกับกระดานสนทนา(เว็บบอร์ด) เช่น พันทิป.คอม ห้องราชดำเนิน, เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, และประชาไท ซึ่งประเด็นในการสนทนาค่อนข้างเปิดกว้าง และมีความเสรีทั้งในเชิงสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เบญจาเริ่มมีความสนใจในด้านการเมืองยิ่งขึ้น เริ่มตามอ่านงานวิชาการต่างๆ ของนักวิชาการ อาทิ นิธิ เอียวศรีวงศ์, เกษียร เตชะพีระ, และ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ธุรกิจ

แก้

ในช่วงปี พ.ศ. 2551 จนถึง พ.ศ. 2553 เบญจาประกอบอาชีพที่ปรึกษาโครงการผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ต่อมาเบญจาหันมาประกอบอาชีพที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ เป็นเวลา 3 ปี จากนั้นจึงผันตัวมาเป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการบริษัท บิลเลี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด

ภายหลังจากที่เบญจาตัดสินใจทำงานการเมือง เธอจึงลาออกจากทุกตำแหน่งในบริษัททันที

งานการเมือง

แก้

เดิมเบญจาไม่ได้สนใจในการลงเลือกตั้ง เพราะเธอเดิมทำธุรกิจอยู่ ทว่า ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เธออย่างมาก ด้วยคำพูดที่ว่า "ถ้าคุณอยากจะเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยในช่วงยุคสมัยที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปนี้ มันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าคุณไม่ลงมือทำมันด้วยตัวคุณเอง" ทำให้เธอตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 40 สังกัดพรรคอนาคตใหม่ ต่อมาพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ จึงย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกล และเบญจาได้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค

เบญจามีบทบาทที่โดดเด่น จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่องกลุ่มทุนพลังงานผูกขาด[2] จนทำให้เธอถูกบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายต่อเธอ จำนวน 100 ล้านบาท[3] และการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2565 ในประเด็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ และแผนบูรณาการใหม่ 3.3 หมื่นล้าน ตั้งแต่โครงการในพระราชดำริ, โครงการเทิดพระเกียรติ, ซุ้มเฉลิมพระเกียรติ, การจัดงานวันเฉลิมพระชนมพรรษา, พร้อมกับปิดท้ายด้วยการยืนยันว่างบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ต้องตรวจสอบได้ และหน่วยรับงบอย่างส่วนราชการในพระองค์ ก็ควรต้องเข้ามาชี้แจงกับกรรมาธิการงบประมาณเพื่อให้เกิดความโปร่งใส[4]

และในการเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เบญจาได้ลงสมัครแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 14 และได้รับเลือกตั้ง เบญจายังได้ดำรงตำแหน่งประธานของคณะทำงานพิเศษป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางเพศของพรรคก้าวไกล ซึ่งมีความสำคัญในการขับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่มีคดีล่วงละเมิดทางเพศรวมทั้งสิ้น 2 คน ออกจากพรรค[5]

วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2567[6] ต่อมาเบญจาได้ไปทำงานในคณะก้าวหน้า

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

เบญจา แสงจันทร์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคก้าวไกล
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Writer, Best (2023-11-07). "ประวัติ เบญจา แสงจันทร์ กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล". Thaiger ข่าวไทย.
  2. ""เบญจา" จวกรัฐบาลเอื้อทุนพลังงาน ประชาชนใช้ไฟฟ้าแพง". Thai PBS.
  3. Ltd.Thailand, VOICE TV (2023-06-08). "เปิด 7 คดี 'กัลฟ์' ฟ้องหมิ่น เรียก 100 ล้าน ปมวิจารณ์ค่าไฟแพง-ผูกขาดพลังงาน". VoiceTV.
  4. "จากทุนผูกขาดถึงงบสถาบันฯ ภาษีประชาชนต้องตรวจสอบได้ทุกบาท 'เบญจา แสงจันทร์'" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-06-16.
  5. "มติ "ก้าวไกล" ขับ "ส.ส.ปราจีนฯ" พ้นพรรค ส่วน "ส.ส.ฝั่งธน" คาดโทษ-ตัดสิทธิตำแหน่งในพรรค". mgronline.com. 2023-11-01.
  6. "มติ ศาลรัฐธรรมนูญ ยุบ "ก้าวไกล" เพิกถอนสิทธิการเมือง กก.บห.พรรค 10 ปี". Thai PBS.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔