วิกิพีเดีย:การพัฒนาบทความ
บทความวิกิพีเดียบางบทมีความสมบูรณ์ตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากโครงแล้วค่อย ๆ เติบโตเป็นบทความที่สมบูรณ์เขียนอย่างดีในภายหลัง
หน้านี้อธิบายขั้นตอนในชีวิตของบทความและแสดงรายการวิธีที่คุณสามารถช่วยให้บทความเติบโตสู่ขั้นถัดไป แต่การลัดขั้นตอนใช่ว่าจะทำไม่ได้ แต่เรายังแนะนำอีกด้วย! การปฏิบัติตามหมวดหมู่ต่อไปนี้ควรจะให้ความคิดแก่คุณว่าตรงแบบแล้วบทความในวิกิพีเดียเติบโตอย่างไร
ขั้นของบทความ
แก้บทความยังไม่ได้สร้าง
แก้ขอบคุณครับ/ค่ะ
ทุกบทความเริ่มต้นจากเป็นความคิดในจิตของผู้ร่วมเขียน คุณสามารถสร้างบทความเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามในวิกิพีเดีย การค้นหาก่อนเป็นความคิดที่ดีเพื่อจะได้มั่นใจว่าไม่เคยมีผู้อื่นเขียนเรื่องเดียวกันไว้ก่อนแล้ว ถ้ามี อาจทำหน้าเปลี่ยนทางไปจะเหมาะสมกว่า (เพราะอาจใช้ชื่อต่างกันเท่านั้น) หากคุณเห็นลิงก์แดงเตะตาคุณ สร้างบทความเลยสิ! (ถ้าคุณยังไม่เคยสร้างบทความมาก่อน อ่าน บทความแรกของคุณ ด้วย)
สำหรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีคิดเรื่องที่จะมีส่วนร่วม ดู วิกิพีเดีย:การมีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย
ก่อนเริ่ม การอ่านแนวปฏิบัติและสอนวิธีการในเรื่องการสร้างบทความใหม่จะเป็นประโยชน์เพื่อให้ได้ความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณพึงตระหนัก เช่น ในเรื่องขอบเขต รูปแบบ การอ้างอิงและมุมมองที่เป็นกลางในวิกิพีเดีย
ถ้ายังนึกไม่ออกว่าจะสร้างบทความอะไรดี ดูที่
โครง
แก้ถ้าคุณไม่มีเวลาสร้างบทความเต็ม ๆ ลองสร้าง "โครง" ดูก่อนสิ โครงเป็นบทความสั้นมาก ๆ ซึ่งปกติมีเนื้อหาไม่กี่ประโยค โครงเป็น "ลูกเป็ดขี้เหร่" ของวิกิพีเดีย แต่ด้วยความพยายามบทความเหล่านี้ก็สามารถเติบโตไปเป็น "หงส์" ได้
ลองหาบทความโครงและเขียนต่อสิ
- หมวดหมู่:บทความที่ยังไม่สมบูรณ์
- หมวดหมู่:บทความที่มีเนื้อหาน้อยมาก
- Special:Newpages
- Special:Randompage
- Special:Shortpages
การวางโครงบทความ
แก้ให้ใส่แม่แบบโครงบทความต่อบรรทัดสุดท้ายของบทความ ตัวอย่างเช่น
บรรทัดสุดท้ายของบทความ
(เว้นบรรทัดแรก)
(เว้นบรรทัดที่สอง) {{โครง}}
การพัฒนาบทความ
แก้เมื่อโครงมีเนื้อหาแท้จริงแล้ว ก็เป็นบทความแท้จริงและสามารถลบแม่แบบโครงบทความออกได้ บทความส่วนใหญ่ตกอยู่ในหมวดนี้ บทความอาจมีจุดอ่อน ซึ่งเราส่งเสริมให้คุณพิสูจน์อักษร และเพิ่มเนื้อหาหาคุณมีความรู้หรือทำการศึกษาที่จำเป็นมาแล้ว
เมื่อบทความมีคุณภาพเพิ่มขึ้น บทความจะผ่านการพัฒนาขั้นต่าง ๆ ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้
ลองหาและปรับปรุงบทความที่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา ดังนี้