วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์
วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ (เกิด 24 เมษายน พ.ศ. 2520) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย[1] และอดีตประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรมในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25
วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (17 ปี 23 วัน) | |
ก่อนหน้า | เกรียง กัลป์ตินันท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 เมษายน พ.ศ. 2520 อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2545–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2561, 2561–ปัจจุบัน) ไทยรักษาชาติ (2561) |
คู่สมรส | พิศทยา ไชยสงคราม |
บุพการี |
|
ชื่อเล่น | บอมบ์ |
ประวัติ
แก้วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2520 เป็นบุตรของ เกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีต สส.อุบลราชธานี เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (การพัฒนาชุมชน) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดศรีสะเกษ[1]
วรสิทธิ์ สมรสกับ พิศทยา ไชยสงคราม [2]นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี
การทำงาน
แก้วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ เป็นนักธุรกิจในพื้นที่อุบลราชธานี ถือครองหุ้นในกิจการอาทิ หจก.อุบลวรสิทธิ์ และบริษัท กัลป์ตินันท์ จำกัด[3] เขาเข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน พร้อมกับ โกวิทย์ ธรรมานุชิต และสมบัติ รัตโน แต่นายวรสิทธิ์ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรกเพียงคนเดียวที่มาจากพรรคพลังประชาชน ส่วนอีก 2 ที่นั่งเป็นของพรรคประชาธิปัตย์
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งต่อเนื่อง ในนามพรรคเพื่อไทย และในปี 2563 ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้วรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือกอีก 4 สมัยติดต่อกัน คือ
1.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคพลังประชาชน → พรรคเพื่อไทย
2.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย
3.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย
4.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 สภาผู้แทนราษฎร
- ↑ สะใภ้"กัลป์ตินันท์"ชิงนายกฯนครอุบล
- ↑ ดูชัด ๆ ก่อนอดีต ส.ส.‘วรสิทธิ์’ ได้หุ้น บ.รับเหมาฯ 30 ล. 8 ปีเสียภาษีกี่บาท?
- ↑ เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔