เอกธนัช อินทร์รอด

นายเอกธนัช อินทร์รอด (ชื่อเดิม: คมสัน ชื่อเล่น: คม) เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต 3 (แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง) สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ , เคยเป็นอดีตนายทะเบียนพรรคเพื่อไทย, เคยเป็นอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์

เอกธนัช อินทร์รอด
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต 3
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าชมภู จันทาทอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 (55 ปี)
อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
พรรคการเมืองพรรคเพื่อไทย

ประวัติ แก้

นายเอกธนัช อินทร์รอด เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ที่ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เป็นบุตรของ ปราการ อินทร์รอด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย เขต 3 ท่าบ่อ ส.อบจ. 6 สมัย[1] ผู้ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ท่าบ่อปราการก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่แห่งหนองคาย ที่ชาวบ้านเรียกขาน "ยมทูตส่งวิญญาณ" เนื่องจากนำรถแห่ศพออกบริการฟรี สำหรับชาวบ้านในพื้นที่ ทุกหมู่บ้านที่มีงานศพ

เอกธนัช สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ ปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน แก้

เอกธนัช เคยประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว นั่นคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด รุ่งอรุณท่าบ่อก่อสร้างตามรอยครอบครัว และเป็นเคยเป็นหัวหน้าฝ่ายคดีแพ่ง บริษัท รัชดาอินเตอร์เนชั่นแนล บิสเนส ลอว์เยอร์ส จำกัด, และ เคยทำงานเป็นข้าราชการการเมืองประจำสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

งานการเมือง แก้

เอกธนัช ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัด พรรคเพื่อไทย และเคยได้รับเลือกติดต่อกันรวม 2 ครั้ง

ปี พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 73 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคได้รับเลือกตั้งแค่ 61 คน หลังจากนั้นจึงดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

ต่อมา นายปลอดประสพ สุรัสวดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลำดับที่ 7 ได้ลาออก จึงได้รับเลื่อนขึ้นมาเป็นแทน[2]

ปี พ.ศ. 2562 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดหนองคาย เขตการเลือกตั้งที่ 3 ใน อำเภอสังคม, อำเภอโพธิ์ตาก, อำเภอศรีเชียงใหม่, อำเภอท่าบ่อ และอำเภอเมืองหนองคาย (เฉพาะตำบลเวียงคุกและตำบลพระธาตุบังพวน) [3] ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในปี 2566

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

เอกธนัช อินทร์รอด ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย (เลื่อนแทน)
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคเพื่อไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดหนองคาย สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ทุบวังพญานาค “ทักษิณ” ยึดหนองคาย บ้านใหญ่ไม่ขลัง
  2. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายเอกธนัช อินทร์รอด)
  3. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-07. สืบค้นเมื่อ 2019-05-08.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖

แหล่งข้อมูลอื่น แก้