นพพล เหลืองทองนารา
นพพล เหลืองทองนารา (เกิด 11 กันยายน พ.ศ. 2515) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
นพพล เหลืองทองนารา | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กันยายน พ.ศ. 2515 อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก |
พรรคการเมือง | ชาติพัฒนา (2544–2548) ประชาธิปัตย์ (2548–2550) มัชฌิมาธิปไตย (2550–2552) เพื่อไทย (2552–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้นพพล เหลืองทองนารา เกิดเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2515 ณ ตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เป็นบุตรของประพันธ์ และศุภลักษณ์ เหลืองทองนารา จบการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิต (บริหารงานบุคคล) มหาวิทยาลัยพายัพ และ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
มีพี่น้องสามคน หนึ่งในนั้นคือ นางสาวกมลชนก เหลืองทองนารา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม เขต 3
งานการเมือง
แก้นพพล เหลืองทองนารา เข้าสู่งานการเมืองจากการได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.) เทศบาลตำบลวงฆ้อง จังหวัดพิษณุโลก และเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด(ส.อบจ.) พิษณุโลก ตามลำดับ
ต่อมาใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลกในสังกัดพรรคชาติพัฒนา แต่พ่ายให้กับนางมยุรา มนะสิการ ซึ่งเป็นภริยาของนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ จากพรรคไทยรักไทย ต่อมาใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ย้ายไปลงสมัครในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ก็ยังคงพ่ายให้กับนางมยุราอีกครั้ง และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จึงย้ายมาสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย และสอบตกเป็นครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2551 เป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก กระทั่งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก โดยสามารถเอาชนะคู่แข่งอย่างมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ อดีต ส.ส. 2 สมัย จากพรรคชาติไทยพัฒนาได้
นพพล ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก ในปี 2562 และ 2566 ในนามพรรคเพื่อไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้นพพล เหลืองทองนารา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[1]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นายนพพล เหลืองทองนารา เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายนพพล เหลืองทองนารา[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายนพพล เหลืองทองนารา), ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง