ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล

ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ชื่อเล่น เอิร์ธ เป็นนักดนตรี นักธุรกิจ และนักการเมืองชาวไทย อดีตนักดนตรีกลางคืน มือเบสวงแบชเชอร์, ผู้ร่วมก่อตั้ง Stock Radars และ Bitcoin Center Thailand ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล เดิมสังกัดพรรคอนาคตใหม่ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้าน (ประธานวิปฝ่ายค้าน) ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 และรองประธานกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 และชุดที่ 26 มีชื่อเสียงจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีจำนวน 2 คน

ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล
ปกรณ์วุฒิในปี พ.ศ. 2567
ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
26 ธันวาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 124 วัน)
ผู้นำฝ่ายค้านชัยธวัช ตุลาธน
ก่อนหน้าสุทิน คลังแสง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 35 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 เมษายน พ.ศ. 2524 (43 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2562–2563)
ก้าวไกล (2563–ปัจจุบัน)
ศิษย์เก่าโรงเรียนเซนต์ดอมินิก
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาชีพนักดนตรี, นักธุรกิจ, นักการเมือง
เป็นที่รู้จักจากมือเบสวงแบชเชอร์
การอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในปี พ.ศ. 2565

ประวัติ แก้

ปกรณ์วุฒิเกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2524[1] ในครอบครัวฐานะปานกลางที่กรุงเทพมหานคร พ่อและแม่เป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนทั่วไป ไม่มีธุรกิจส่วนตัว ปกรณ์วุฒิจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์ดอมินิก[2], ระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท ในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3]

การทำงาน แก้

ในระหว่างการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปกรณ์วุฒิเคยเล่นดนตรีในวงดนตรีเดียวกับ อารมณ์ โพธิ์หาญรัตนกุล (คัตโตะ ลิปตา) และ ญาณวุฒิ จรรยหาญ (เอ็ด 7 วิ อดีตมือกลองวงเจ็ตเซ็ตเตอร์)[4] และหลังจบการศึกษาในระดับปริญญาโท ปกรณ์วุฒิเป็นนักดนตรีกลางคืนเป็นเวลา 4 ปี รวมถึงเป็นนักดนตรีแบคอัพให้กับค่ายเพลงขนาดใหญ่ในประเทศไทยค่ายต่าง ๆ จนในปี พ.ศ. 2546 ได้เข้าร่วมวงแบชเชอร์ ที่มี เจษฎา ลัดดาชยาพร (ปั้น) เป็นนักร้องนำ โดยปกรณ์วุฒิเล่นดนตรีในตำแหน่งมือเบส มีบทเพลงที่สร้างชื่อเสียงคือ "เสียดายของ"[3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ปกรณ์วุฒิได้รับการชักชวนจากเพื่อนให้มาร่วมก่อตั้งบริษัทและดำรงตำแหน่งหุ้นส่วนผู้จัดการ (Managing Partner) ของบริษัท สยามสแควร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งต่อมากลายเป็น Fintech Startup ที่สร้างและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับวิเคราะห์และซื้อขายหุ้นขึ้นเป็นรายแรก ๆ ของประเทศไทย ในชื่อ Stock Radars[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ได้ร่วมก่อตั้ง Bitcoin Center Thailand ซึ่งเป็นสถาบันที่ให้ความรู้ด้านคริปโทเคอร์เรนซี สกุลเงินดิจิทัล และเทคโนโลยีบล็อกเชน[5]

การเมือง แก้

ปกรณ์วุฒิได้รับการชักชวนจากเพื่อนของตนให้เข้าร่วมงานทางการเมืองและสมัครสมาชิกพรรคอนาคตใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2561 และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[1] ในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 37[6] และได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาได้รับเลือกเป็นรองประธานคนที่ 4 ในคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[7]

แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 พรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค ปกรณ์วุฒิจึงย้ายตามสมาชิกส่วนใหญ่ไปสังกัดพรรคก้าวไกล และเริ่มเป็นที่รู้จักจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จำนวน 2 คน คือ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการอภิปรายเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เรื่องการออกกฎกระทรวงเพื่อขยายอำนาจให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถล้วงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนได้โดยไม่จำเป็นต้องขอหมายจากศาล ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ขัดต่อรัฐธรรมนูญ[8] และ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการอภิปรายเมื่อปี พ.ศ. 2565 เรื่องการปกปิดทรัพย์สินในบัญชีที่จำเป็นต้องแจ้งต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เกี่ยวกับการถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น ผ่านตัวแทนอำพราง โดยไม่ปรากฏหลักฐานการซื้อขายหุ้นในบัญชีทรัพย์สิน และยังนำ หจก.นี้มาเป็นคู่สัญญากับรัฐเพื่อรับงานในกระทรวงคมนาคม เข้าข่ายฮั้วประมูลและการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ซึ่งอาจทำให้ขาดคุณสมบัติในการเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ[9] และกรณีนี้นำมาสู่การรับคำร้องของฝ่ายค้านโดยศาลรัฐธรรมนูญ และสั่งให้ศักดิ์สยามหยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2566[10] ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินให้ศักดิ์สยามพ้นจากรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567[11]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ปกรณ์วุฒิลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่ออีกครั้ง ในสังกัดพรรคก้าวไกล แต่ขยับขึ้นมาอยู่ในลำดับที่ 22[12] และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง รวมถึงได้รับเลือกเป็นรองประธานคนที่ 2 ในคณะกรรมาธิการคณะเดิม คือคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26[13] ต่อมาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2566 วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ตามที่ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรเสนอ โดยมีปกรณ์วุฒิเป็นประธานกรรมการ[14]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคก้าวไกล
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล

ตำแหน่งในคณะกรรมการของสภาชุดปัจจุบัน แก้

ตำแหน่ง คณะกรรมการ/คณะกรรมาธิการ
ประธานกรรมการ คณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
รองประธานกรรมาธิการ คนที่ 2 คณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.ก้าวไกล มืออภิปราย". มติชน. 22 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "เปิดประวัติ "ปกรณ์วุฒิ" จากมือเบสวง Basher สู่ ประธานวิปฝ่ายค้าน". ฐานเศรษฐกิจ. 30 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 ศรีดาวเรือง, อรสา (20 กรกฎาคม 2022). "รู้จัก 'ส.ส. ปกรณ์วุฒิ' จากมือเบสวง Basher สู่ร็อคสตาร์ในสภาไทย". WAY Magazine. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล (17 สิงหาคม 2022). "ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล - จากนักดนตรีสู่นักการเมือง". The Modernist (Interview). สัมภาษณ์โดย ณัฐภัทร มาเดช. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2024.
  5. วงษ์กิตติไกรวัล, มนต์ชัย (18 มกราคม 2018). "Bitcoin Center แค่สถานที่ หรือสัญญะของ Revolution?". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "เปิด 50 บัญชีรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์อนาคตใหม่ ลุ้นนั่ง ส.ส." พีพีทีวี. 24 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "คณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" (PDF). คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๕ (พ.ศ. ๒๕๖๒). สำนักกรรมาธิการ ๑ สำนักกรรมาธิการ ๒ และสำนักกรรมาธิการ ๓ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร: 36 – โดยทาง หอสมุดรัฐสภา.
  8. ""ปกรณ์วุฒิ" ไม่ไว้วางใจ "ชัยวุฒิ"ปมออกกฎกระทรวงล้วงข้อมูลปชช". เดลินิวส์. 3 กันยายน 2021. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "ก้าวไกล แฉ "ศักดิ์สยาม" ซุกหุ้นใช้ลูกจ้างเป็นนอมินีเอาบริษัทตัวเองรับงาน ก.คมนาคม". ผู้จัดการออนไลน์. 19 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี". ประชาชาติธุรกิจ. 3 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "เปิดตุลาการศาล รธน. 7:1 เสียง ให้ "ศักดิ์สยาม" พ้นรัฐมนตรี". ไทยพีบีเอส. 17 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 92 คน "พรรคก้าวไกล"". พีพีทีวี. 16 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. ขันทองคำ, อรพรรณ (5 ตุลาคม 2023). "กมธ.การสื่อสารฯ สผ. มีมติเลือก นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ นั่งประธาน กมธ". สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "เปิดชื่อ 28 'วิปฝ่ายค้าน' พบ 'ปกรณ์วุฒิ' ผงาดนั่งประธานฯ". กรุงเทพธุรกิจ. 29 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ถัดไป
สุทิน คลังแสง    
ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
(26 ธันวาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)
  ยังดำรงตำแหน่ง