นพดล มาตรศรี เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 2 สมัย ปัจจุบันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทยพัฒนา

นพดล มาตรศรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กันยายน พ.ศ. 2509 (58 ปี)
อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
พรรคการเมืองชาติไทยพัฒนา (พ.ศ. 2551–ปัจจุบัน)
คู่สมรสวาสนา มาตรศรี

ประวัติ

แก้

นพดล มาตรศรี (ชื่อเล่น กิมเลี้ยง) เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2509 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนอู่ทอง ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศิลปศาสตร์) และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ (นโยบายสาธารณะ) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา[1]

นพดล สมรสกับนางวาสนา มาตรศรี[2]

การทำงาน

แก้

นพดล มาตรศรี เคยเป็นผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด[3] และเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี นายนพดล เป็นนักการเมืองที่เป็นคนสนิทของ บรรหาร ศิลปอาชา[4]

กระทั่งในปี 2551 พรรคชาติไทยถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค และตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค จึงต้องมีการเลือกตั้งใหม่ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี นายนพดลจึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทยพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นสมัยที่ 2 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 4 ของพรรคชาติไทยพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นสมัยที่ 3

นายนพดล ได้รับเลือกในการประชุมใหญ่พรรคชาติไทยพัฒนา ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561[5] เป็นกรรมการบริหารพรรค

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สภาผู้แทนราษฎร
  2. ชื่นมื่น! 'กรวิทย์'หอบสินสอด3ล้านบาท สู่ขอลูกสาวส.ส.ดังเมืองสุพรรณบุรี
  3. "บิ๊กท็อป" ร่วมอวยพรวันคล้ายวันเกิด "ส.ส.นพดล"
  4. หามนพดลส.ส.สุพรรณคนสนิทเติ้งส่งรพ.
  5. ตามคาด'กัญจนา'หัวหน้าพรรคชทพ.'ประภัตร'นั่งเลขาฯ
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔