การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
เมื่อวันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำร่างพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย[1]
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2553 | |
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
---|---|
คณะรัฐมนตรี | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59 |
พรรค | ประชาธิปัตย์ |
เสนอชื่อโดย | สภาผู้แทนราษฎร |
แต่งตั้งโดย | พระมหากษัตริย์ไทย |
ที่ทำการ | ทำเนียบรัฐบาล |
การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีที่มีความสำคัญรวมไปถึงกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รักษาการนายกรัฐมนตรีคนก่อนหน้านายอภิสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และกรณ์ จาติกวณิช อดีตนายทุนนายธนาคารและอดีตเพื่อนร่วมคณะเศรษฐศาสตร์กับนายอภิสิทธิ์ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[2] อภิสิทธิ์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง จากกรณีที่แต่งตั้งนายกษิตมาเป็นรมว.ต่างประเทศ อภิสิทธิ์ออกมากล่าวปกป้องนายกษิตว่า "คุณกษิตได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานของเขามาอย่างดี เคยเป็นเอกอัครราชทูตคนสำคัญของประเทศ มีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าเขาเคยร่วมแถลงการณ์ต่างๆหรือร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ แต่ถ้าเขาไม่ได้ทำอะไรที่ผิดกฎหมายเขาก็จะไม่ถูกดำเนินคดี"[3] พรทิวา นาคาศัย อดีตเจ้าของธุรกิจอาบอบนวด เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ อภิสิทธิ์ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้มีการเจรจาต่อรองตำแหน่งทางการเมืองแต่อย่างใด[4]
ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา
แก้ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่ามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาจำนวน 1,000 คนอพยพมาจากประเทศพม่า ได้ถูกราชนาวีไทยจับกุมพร้อมทั้งถูกทารุณกรรม จากนั้นถูกจับโยนลงทะเลโดยไม่มีเรือมารับ และขาดแคลนทั้งน้ำและอาหาร เรื่องนี้อภิสิทธิ์ออกมาตอบโต้ในเบื้องต้นว่า ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าวเกินความจริง และที่ว่าผู้ลี้ภัยเหล่านี้ใช้เรือใบโดยไม่มีเครื่องยนต์และห้องน้ำบนเรือ จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือพวกเขาขึ้นมายังชายฝั่ง ทางพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาปฏิเสธว่าสื่อรายงานไม่ถูกต้อง[5]
วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552 ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ออกมาขอร้องให้รัฐบาลไทยช่วยเข้าถึงตัวผู้รอดชีวิตบนเรือ 126 คนจากการดูแลของไทย[6] อภิสิทธิ์กล่าวว่า เขารู้สึกยินดีที่ได้ร่วมงานกับองค์กรระหว่างประเทศ แต่แท้ที่จริงแล้วองค์กรนี้จะต้องทำงานบนพื้นฐานของความร่วมมือกับวิธีปฏิบัติของรัฐบาลไทยที่ถูกต้อง กองทัพกล่าวว่าทางกองทัพเองไม่มีข้อมูลที่กระจ่างชัดเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในการควบคุมของกองทัพ[7]
นอกจากนี้สื่อยังได้รายงานผลการสอบสวนว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ได้หายตัวไปจากการกักขังที่ส่วนกลางและยังไม่พบว่าอยู่ที่ไหน ทางเจ้าหน้าที่ราชนาวีไทยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า "พวกเราอาจหยุดเดินเรือหรือพวกเขาจะกลับมา ทิศทางลมจะพาพวกเขาไปยังอินเดียหรือไม่ก็ที่อื่น"[8] จากนั้นอภิสิทธิ์ให้สัญญาว่าจะดำเนินการสอบสวนผู้นำทางทหารอย่างเต็มที่ แต่ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่หาว่าปกปิดการใช้อำนาจกองทัพไปในทางที่ผิด การสอบสวนถูกนำโดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ จากนั้นได้ทบทวนเพื่อดำเนินการกับกลุ่มคนที่โฆษณาชวนเชื่อให้ต่อต้าน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร[9] นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง เสนอแนะว่าสถานการณ์ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ปั้นน้ำเป็นตัวขึ้นมาทั้งนั้น เพื่อทำลายภาพลักษณ์และชื่อเสียงของประเทศไทย[10] นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวหาซีเอ็นเอ็นว่า รายงานข่าวไม่เป็นความจริงและยังเรียกร้องให้ประชาชนอย่าไปหลงเชื่อ[11][12]
แอนเจลีนา โจลี ทูตสันถวไมตรีแห่งข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ วิจารณ์รัฐบาลไทยว่าไม่สนใจไยดีต่อสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้ายของชาวโรฮีนจา และเสนอแนะว่ารัฐบาลไทยควรดูแลคนกลุ่มนี้ให้ดีกว่าตอนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพม่า กระทรวงการต่างประเทศออกมาตำหนิข้าหลวงใหญ่ฯ มีการบันทึกว่าข้าหลวงใหญ่ฯ ไม่มีอำนาจหน้าที่และการกล่าวว่าเรื่องนี้ไม่ควรจะอ้างถึงกระทรวงการต่างประเทศและอาคันตุกะของกระทรวงการต่างประเทศ[13][14] นายอภิสิทธิ์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งนักวิเคราะห์ชาวไทยและชาวต่างชาติ จากการที่ออกมาปกป้องกองทัพที่ใช้จ่ายเงินในการปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา "เราจะไม่เห็นรัฐบาลอภิสิทธิ์เจริญก้าวหน้าหลังจากกองทัพ เพราะมันเป็นผลประโยชน์ในตำแหน่งของเขา" ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักรัฐศาสตร์กล่าว[15][16]
ข้อกล่าวหาเรื่องทุจริต
แก้รัฐบาลอภิสิทธิ์ถูกกล่าวหาว่ามีการคอร์รัปชันหลายกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง หลังจากที่ถูกกดดันจากสาธารณชนอย่างมากแล้ว อภิสิทธิ์จึงแต่งตั้งบรรลุ ศิริพานิช เป็นหัวหน้าคณะกรรมการสอบสวนข้อกล่าวหาต่างๆ ภายในกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการของบรรลุได้พบว่า
- อดีตเลขารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้รับสินบนจากผู้ให้สัมปทานรถพยาบาล
- การซื้อพัดลมยูวีในราคาสูงกว่าราคาต้นทุนกว่า 10-20 เท่า
- งบประมาณในการก่อสร้างอาคารสูงเกินความจำเป็น
- มีหลายกรณีที่ทำให้ราคาเรื่องจักรและอุปกรณ์ทางการแพทย์มีราคาสูงขึ้น
วิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู อดีตเลขารัฐมนตรี และกฤษดา มนูญวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรี ทั้งหมดถูกพบว่ามีความผิด ต่อมา วิทยา ลาออกจากตำแหน่งหลังจากที่ความผิดถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ อย่างไรก็ตาม มานิตย์ ปฏิเสธที่จะลาออก[17][18] หลังจากการลาออก วิทยา ถูกสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าวิปฝ่ายรัฐบาล
หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดพัทลุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ใช้ทุนของรัฐบาลและเงินบริจาครวมกัน ไปซื้อสินค้าช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับชาวบ้านที่ประสบภัย ปลากระป๋องที่แจกจ่ายออกไปต่อมาถูกพบว่าเน่าเสีย นำไปสู่ข้อกล่าวหาในการทุจริตจัดซื้อปลากระป๋อง วิฑูรย์ นามบุตร รมว.พม.ออกมาปฏิเสธว่าการทุจริตได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว ให้ข้อมูลว่าปลากระป๋องถูกซื้อโดยใช้เงินบริจาคค่อนข้างมากกว่าเงินทุนของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ต่อมาเขาลาออกจากตำแหน่งภายใต้สภาวะที่กดดัน และถูกแทนที่ด้วยสมาชิกพรรคคนอื่น[19][20]
รัฐบาลอภิสิทธิ์เข้ามาบริหารประเทศภายใต้ข้อกล่าวหาที่ว่า โครงการชุมชนพอเพียงมูลค่า 26 พันล้านบาทเป็นโครงการที่ปนเปื้อนไปด้วยการทุจริต โครงการนี้เป็นนโยบายประชานิยมต่อต้านโครงการยุคทักษิณที่ทำในชนบทของเมืองไทย[21] อภิสิทธิ์ชี้แจงข้อกล่าวหาว่า “สิ่งที่กล่าวหาว่าบกพร่องต่อหน้าที่นั้นอาจเริ่มมาจากโครงการอุตสาหกรรมขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ (SML)... โครงการเอสเอ็มแอลนี้กำเนิดมาจากรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร”[22] กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน และน้องชายของเขา ประพจน์ สภาวสุ เป็นรองผู้อำนวยการ เรื่องอื้อฉาวนี้ขยายออกไปเป็นวงกว้าง เป็นสาเหตุให้กอร์ปศักดิ์ลาออกจากตำแหน่ง แต่ยังคงเป็นรองนายกรัฐมนตรีอยู่ พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้ขึ้นมา คณะกรรมการพบว่าทั้งกอร์ปศักดิ์และน้องชายของเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทุจริต[23][24] ต่อมากอร์ปศักดิ์ถูกเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขาของอภิสิทธิ์
รัฐบาลอภิสิทธิ์ถูกกล่าวหาว่าโยกย้ายข้าราชการไม่เป็นธรรม โดยเรื่องนี้ ดร.วงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมการปกครอง ได้ผู้สั่งย้ายเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และยื่นฟ้องร้องต่อ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ต่อมา คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม มีมติให้คืนตำแหน่งให้แก่ ดร.วงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ เนื่องจากการโยกย้ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย[25]และศาลปกครองมีคำสั่งคืนตำแหน่งให้นายพีรพล ไตรทศาวิทย์ ที่ถูกสั่งย้ายจากตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย[26]อย่างไรก็ตามคำสั่งนั้นออกมาหลังจากนายพีรพล ไตรทศาวิทย์ เกษียณอายุราชการ[27]และในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้คืนตำแหน่งให้คืนตำแหน่งกับ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ[28]ซึ่งถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 คำสั่งศาลออกมาภายหลังเกษียณอายุราชการ
ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้คืนตำแหน่งให้คืนตำแหน่งกับ คุณหญิง ณฐนนท ทวีสิน[29]ซึ่งถูกปลดจากตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คำสั่งศาลออกมาภายหลังเกษียณอายุราชการ
รัฐบาลอภิสิทธิ์ถูกกล่าวหาในการจัดสรรงบประมาณแก่ผู้ประสบเหตุไม่สงบทางการเมืองจากการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 โดยจัดสรรให้แก่รถไฟฟ้าบีทีเอส 5.5 ล้านบาท[30] และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม 212 ล้านบาท เงินช่วยเหลือผู้ประกอบการบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ไม่เกิน 5.5 ล้านบาท[31] ข้อกล่าวหานี้เกิดจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่พอใจที่นำภาษีของประชาชนไปใช้ในการชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
การศึกษา
แก้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบคุรุศึกษาแห่งชาติ[32] เพื่อพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย ด้านชินวรณ์ บุญยเกียรติ ได้ออกมาประกาศจะจัดการกับโรงเรียนที่รับเด็กฝากและรับเงินใต้โต๊ะและจะล่อซื้อบางโรงเรียนที่ผู้บริหารประกาศว่านโยบายนี้จะทำไม่ได้อย่างแน่นอน[33][34]
วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลได้ออก พระราชบัญญัติ เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔[35]
การคมนาคม
แก้คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติในหลักการโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553[36]ก่อนหน้านี้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ปรับปรุงเก้าอี้สำหรับผู้โดยสาร[37] ใช้งบประมาณ 12.17ล้านบาท เมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552
คณะกรรมการประสานงานความร่วมมือเศรษฐกิจไทย-จีน ที่มีนายสุเทพ เทือกสุพรรณ เป็นประธานการประชุมได้พิจารณาร่างบันทึกข้อตกลงร่วมในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายก่อนหน้าที่ที่ประชุมรัฐสภาเห็นชอบใน 5เส้นทางได้แก่ 1.สายเหนือ กทม.-เชียงใหม่ 2.สายอีสาน กทม.-หนองคาย 3.กทม.-อุบลราชธานี 4.สายใต้ กทม.ปาดังเบซาร์ และ5.สายตะวันออกกทม.-ฉะเชิงเทรา[38]
คณะรัฐมนตรีได้ออก ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร พ.ศ. 2553[39] ส่งผลให้ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลลดลงเป็นการชั่วคราว
คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณ 38 ล้านบาทเพื่อพัฒนาท่าอากาศยานปาย[40] และอนุมัติงบประมาณ 1,000 ล้านบาทเพื่อพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา-พัทยา[41]
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณวงเงิน 14,000 ล้านเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อ โครงการจัดหาหัวรถจักรและล้อเลื่อนตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ[42] รายละเอียดดังนี้ รถจักรดีเซลไฟฟ้า GE 50 คัน 6,500 ล้าน ปรับปรุงรถจักร 56 คัน 3,350 ล้าน จัดหารถโดยสารรุ่นใหม่สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ 115 คัน วงเงิน 4,980 ล้าน สร้างจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสถานีเพชรบุรี (รถไฟฟ้ามหานคร)และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง 10 ล้าน[43] และได้อนุมัติงบประมาณวงเงิน 4,000 ล้านเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อจัดซื้อรถเมล์ 1957 คัน แบ่งเป็นรถธรรมดา 1,579 คัน และรถปรับอากาศ 378 คัน ในส่วนของการเดินเรือได้อนุมัติงบประมาณ วงเงิน 1,854 ล้านบาท ในโครงการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือสงขลา โดยแบ่งออกเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก 593 ล้านบาท และเครื่องจักรอุปกรณ์ 1,261 ล้านบาท
ความมั่นคง
แก้อภิสิทธิ์ได้ลงนามอนุมัติให้ซื้อเครื่องบินรบยาส 39 จำนวน 6 ลำ จากประเทศสวีเดน ในวงเงิน 19,500 ล้านบาท ซึ่งมีแผนที่จะซื้อตั้งแต่สมัย รัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์[44]
วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554 แม่ทัพภาคที่ 4 ได้ประกาศกฎอัยการศึก [45]และใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกในพื้นที่ รวมถึงแม่ทัพภาคที่สองได้ประกาศพื้นที่ภัยสงคราม ในพื้นที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในวันที่ 30เมษายนพ.ศ. 2554 ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามพรบ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2547[46]อย่างไรก็ตามพื้นที่อำเภอ กันทรลักษ์ เป็นพื้นที่ตามประกาศกฎอัยการศึกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เพียงแต่ยังไม่ปรากฏการใช้อำนาจทางทหารตามพรบ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 เท่านั้น[47]
วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554 มีการนำเรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำมือสองของประเทศเยอรมนี จำนวน 6 ลำ ตามวงเงินงบประมาณจำนวน 7.6 พันล้านบาท เข้าสภากลาโหม เพื่อผ่านวาระเพื่อทราบในรัฐบาลอภิสิทธิ เวชชาชีวะ[48]
การตรวจสอบขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
แก้อภิสิทธิ์จัดตั้งกองกำลังทหารเฉพาะกิจที่คอยต่อสู้กับอันตรายจากความคิดเห็น ที่พิจารณาถึงบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในทางการเมือง รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดเว็บไซต์ที่ส่งเสริมให้ประชาชนแจ้งเว็บไซต์ผิดกฎหมาย มีเว็บไซต์กว่า 4,800 เว็บไซต์ถูกบล็อก เนื่องจากมีเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งถูกมองโดยนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่รณรงค์ร่วมกันเพื่อระงับการอภิปรายทางการเมืองภายในราชอาณาจักร[49]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจค้นที่ทำการของเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่มีความเห็นคัดค้านรัฐบาล 2 วันถัดมา อภิสิทธิ์ไปพบกับตัวแทนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยและสัญญาว่าจะเคารพสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ที่แสดงสีหน้าในขณะที่มีการพัฒนาบรรทัดฐานและมาตรฐานใหม่[50]
การปิดเว็บไซต์ภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ส่วนกรมสอบสวนคดีพิเศษ อาศัยอำนาจพระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาตรา 18 ข้อ 1 และ ข้อ 2 ในการออกหมายเรียกบุคคลที่ต้องสงสัยว่ากระทำการเป็นภายต่อความมั่นคงต่อรัฐ หรือความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย และพระราชกำนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในการออกหมายเรียกและจับกุม ส่วนเจ้าหน้าที่ทหารสามารถใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ได้[51]
ภายใต้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้มีกลุ่มบุคคลถูกจับกุมขักกังในเนื่องมาจากการพิมพ์ขอความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเว็บไซต์เฟซบุ๊กเป็นครั้งแรกเนื่องจากเป็นช่วงที่อยู่ในการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. 2548 จึงมีความผิดดังต่อไปนี้[52]
- ความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14
- ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
- ประมวลกฎหมายอาญามาตรา116 ผู้ใด กระทำให้ปรากฏ แก่ประชาชน ด้วยวาจา หนังสือ หรือ วิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำ ภายในความมุ่งหมาย แห่ง รัฐธรรมนูญ หรือมิใช่ เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือ ติชม โดยสุจริต เพื่อให้ เกิดความปั่นป่วน หรือ กระด้างกระเดื่อง ในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะ ก่อความไม่สงบขึ้น ในราชอาณาจักร ระวางโทษจำคุกเจ็ดปี
- พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 9 ข้อ 2 ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร
มีการออกหมายเรียก ตามาตรา 18 ตาม พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในบุคคลที่ต้องสงสัยต่อการกระทำผิดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554 รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้ประกาศพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย[53]
ขบวนการแบ่งแยกดินแดน
แก้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 อภิสิทธิ์ยืนยันว่าสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยลดลงตั้งแต่รัฐบาลของเขาเข้ามามีอำนาจเมื่อเดือนธันวาคม แต่คำยืนยันของเขาถูกโต้แย้งโดย ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความรุนแรง แท้ที่จริงแล้วเพิ่มขึ้นต่างหาก ตั้งแต่ต้นปี 2552 ที่ผ่านมาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกาศใช้กฎอัยการศึกใน 5 อำเภอ จังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอสะเดา ต่อมามีการยกเลิกกฎอัยการศึกคงเหลือเฉพาะอำเภอสะเดาในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[54] และรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 แทนกฎอัยการศึก ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยกเว้นอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ยกเลิกเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553 [55] อย่างไรก็ตาม วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้มีการประกาศ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ครอบคลุม 3จังหวัด ชายแดนภาคใต้อีกครั้งหนึ่ง[56]และรัฐบาลได้ต่ออายุพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ออกไปอีกสองเดือนในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ยกเว้นอำเภอแม่ลาน[57]
กรณีสิทธิบัตรยา
แก้อภิสิทธิ์สานต่อนโยบายเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เรียกร้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เขาเตือนว่าสิทธิบัตรยาที่อยู่ในสภาวะถูกกดดันอย่างนี้อาจบานปลายมากยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าสหรัฐอเมริกาทำสภาพการค้าของประเทศไทยให้ตกต่ำลง[58]
การออกกฎหมาย
แก้พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เสนอร่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เพิ่มโทษหนักกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ทัศนคติของบุคคลที่ดูหมิ่นและมีความต้องการให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยบนอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุก 3 - 20 ปี หรือปรับ 200,000 - 800,000 บาท[59] ในเวลาเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่ามี 29 เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาและข้อความแสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์.[60]
- พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๑๐) พ.ศ. ๒๕๕๔”[61]
- พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๓[62]
- พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒[63]
- พระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๕๔[64]
- กฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๖ ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๕๔)[65]
- พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[66]
- พระราชบัญญัติสหกรณ์(ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๓[67]
- พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓[68]
- พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๔)พ.ศ. ๒๕๕๓[69]
- ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ (พ.ศ. ....)[70]
- พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔[71]
- ร่างพระราชบัญญํติคอมพิวเตอร์ (พ.ศ. ....)[72]
- ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ (พ.ศ. ....)[73]
- ร่างพ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง [74]
- ร่างพ.ร.บ.การติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม [75]
- ร่างพ.ร.บ.สัญชาติ[76]
- ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ [77]
การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
แก้รัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ออกกฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 ) พุทธศักราช 2554 ให้ยกเลิกความในมาตรา 190 ของ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550[78]ให้ไว้ ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยก่อนหน้านี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 1 )พุทธศักราช 2554 ได้ ยกเลิกมาตรา 93 ถึง มาตรา 98 ของ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550[79]
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
แก้กัมพูชา
แก้อภิสิทธิ์แต่งตั้งกษิต ภิรมย์ แนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประท้วงประเทศกัมพูชาที่กระตุ้นให้บรรยากาศต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดำเนินไปข้างหน้า กษิตเคยเรียกสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ว่า "นักเลง" (ต่อมาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 กษิตส่งจดหมายขอโทษโดยให้ความหมายว่านักเลง หมายถึง เป็นคนที่ใจกล้า เป็นสุภาพบุรุษที่กล้าหาญและใจกว้าง)[80]
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เกิดเหตุปะทะกันระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพกัมพูชาบริเวณปราสาทเขาพระวิหารบริเวณใกล้กับชายแดนไทย-กัมพูชา รัฐบาลกัมพูชาอ้างว่าได้สังหารทหารไทยไป 4 ศพและถูกจับกุมมากกว่า 10 คน ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะออกมาปฏิเสธว่าทหารไทยไม่ได้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บก็ตาม ทหารกัมพูชา 2 คนถูกสังหาร กองทัพทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวหากันว่าเป็นฝ่ายยิงนัดแรกและรุกล้ำเข้ามายังเขตแดนก่อน[81][82]
วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุประชาชนกัมพูชาเหยียบกันตายบนสะพานแขวนข้ามแม่น้ำบาสัก รัฐบาลไทยได้ให้เงินช่วยเหลือจำนวน 3 หมื่นดอลล่าร์ในวันรุ่งขึ้น[83]
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ถึง 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้เกิดเหตุการณ์การปะทะที่รุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปี โดยยืนยันจากชาวบ้านในพื้นที่[84] เป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติอันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ[85] ในพื้นที่ ตำบลเสาธงชัย หมู่ที่ 2,3,9,10,12,13 และ ตำบุลรุง หมู่ที่ 5,7,10 อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 การปะทะได้เกิดขึ้นที่ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอบ้านกรวดเป็นอำเภอแรกของประเทศไทยที่ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติอันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศทั้งอำเภอโดยผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ในขณะนั้น[86] จนถึงวันที่ 26 เมษายน มีรายงานว่า ทหารไทยเสียชีวิต 5 นาย และได้รับบาดเจ็บมากกว่า 35 นาย ส่วนทหารกัมพูชาเสียชีวิต 7 นาย ได้รับบาดเจ็บ 17 นาย และอีก 1 นายหายสาบสูญ[87][88]
จีน
แก้รัฐบาลไทยรับการช่วยเหลือจากรัฐบาลจีนในการออกแบบและก่อสร้างศูนย์การแพทย์แผนไทย-จีน ที่สถานีอนามัยตำบลกมลาจังหวัดภูเก็ตที่ได้รับความเสียหายจากคลื่นสึนามิ เพื่อเป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพการแพทย์แผนไทย-จีน ให้บริการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว และพัฒนาวิชาการด้านการแพทย์ทางเลือก คาดเสร็จพร้อมบริการในปี 2554[89]
รัฐบาลได้ทำข้อตกลงร่วมทุนในการทำโครงการศูนย์การค้าดังกล่าวในประเทศไทยซึ่งคาดว่าจะใหญ่ที่สุดในอาเซียน ในการประชุม คณะกรรมการประสานงานความร่วมมือเศรษฐกิจไทย-จีน ที่มีสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 21 มีนาคม 2554 กระทรวงคมนาคมจะเสนอการร่างบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เพื่อพิจารณา โครงการนี้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสองประเทศ[90]
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ตอบรับการเชิญขอรัฐบาลจีนเข้าร่วมงาน เวิลด์เอ็กซ์โป 2010ณ นครเซี่ยงไฮ้ ระหว่างเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 3-6 กันยายน พ.ศ. 2553[91] ทั้งนีรัฐบาลไทยประกาศการขอเสนอตัวให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเวิลด์เอ็กซ์โป 2020 อีกด้วย
วันที่ 27 - 30 เมษายน พ.ศ. 2554 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของประเทศไทย เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนว่าตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประเทศจีนอย่างเป็นทางการ[92]
สิงคโปร์
แก้วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554 นาวาอากาศเอก ถาวรวัฒน์ จันทนาคม รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสมโคปไทเกอร์ 2011 (Cope Tiger 2011) เปิดเผยว่า กองทัพอากาศไทยร่วมกับกองทัพอากาศสิงคโปร์ และกองกำลังสหรัฐอเมริกา จัดการฝึกปฏิบัติการทางอากาศที่มีการสนธิกำลังทางอากาศ ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือใต้ ภายใต้รหัสการฝึก “Cope Tiger 2011” ระหว่างวันที่ 14-25 มี.ค.นี้โดยจัดตั้งกองอำนวยการฝึก ที่กองบิน 1 จ.นครราชสีมา[93]
วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554 Land Transport Authority ช่วยออกค่าเดินทางของญาติเยาวชนไทยผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถไฟจนถึงแก่ความพิการ ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554 ด้าน SMRT ได้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษา อีก 5,000 เหรียญสิงคโปร์ แก่ ด.ญ.ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ ผู้ประสบอุบัติเหตุ รวมถึงนักธุรกิจชาวสิงคโปร์ นายเดวิด กงออกค่าใช้จ่ายอีก 2 หมื่นบาท และนางแองเจลีน เฉิงได้ร่วมบริจาคด้วย[94][95]
วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการเพื่อหารือโครงการความร่วมมือระหว่างข้าราชการไทย-สิงคโปร์และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ[96]
อินโดนีเซีย
แก้นายกษิต ภิรมย์ ได้เดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[97] นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วมประชุม การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 18ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[98]
ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียได้เยือนประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554[99]
วันที่ 6-8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นายกษิต ภิรมย์ ได้เดินทางไปประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่ กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย[100]
วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เดินทางไปประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย[101]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 5 ( ADMM 5 ) ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[102]
วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะ เดินทางถึงท่าอากาศยานฮาร์ลิมเปอร์ดานา กุสุมา เพื่อเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum on East Asia ครั้งที่ 20 ที่จาการ์ตาหรือการประชุมเศรษฐกิจโลกในประเด็นเอเชียตะวันออกนายกรัฐมนตรีได้หารือกับ Mr.Klaus Schwab ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหาร World Economic Forum ที่โรงแรมแชงกรีล่า จาร์กาตา[103]
อิหร่าน
แก้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นายเอบราฮิม อาซีซี เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในโอกาสเยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมประชุมประจำปีเอสแคป สมัยที่ 67 โดยรองประธานาธิบดีอิหร่านกล่าวว่า อิหร่านพร้อมจะให้การสนับสนุนไทยในทุกเวทีพหุภาคี[104]
พม่า
แก้เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้เกิดเหตุปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังกองกำลังสหพันธรัฐว้า (UWSA) ในบริเวณพื้นที่เขตตอนบนหมู่ 1 บ้านป่าแลวตำบลป่าแลวหลวงจังหวัดน่าน[105]
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้เดินทางไปยังประเทศพม่าอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11-12 ตุลาคม พ.ศ. 2553 โดยรัฐบาลทั้งสองประเทศได้เล็งถึงประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่ายที่จะร่วมมือพัฒนาท่าเรือทวายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษรองรับการเปิดด่านสิงห์ขร จ.ประจวบคีรีขันธ์[106]
ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ถึง 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554 นายอู หม่องมินท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของพม่าเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อหารือความร่วมมือในการดูแลแรงงานพม่าให้เข้ามาในไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยการจดทะเบียนให้ถูกต้องและพิสูจน์สัญชาติโดยมีกำหนดการเดินทางเยี่ยมชม ศูนย์พิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าที่ต.มหาชัย อ.เมือง จังหวัดสมุทรสาครในวันที่ 14-15 มิถุนายน พ.ศ. 2554[107]โดยมี นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน คอยต้อนรับ
ฟิลิปปินส์
แก้นายเบนิกโน เอส อาคีโน ที่สาม ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26-27พฤษภาคม พ.ศ. 2554 โดยก่อนหน้านั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้หารือทวิภาคีกับปรธานาธิบดีฟิลิปปินส์ที่ กรุงจาการ์ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 18 โดยขอให้ช่วยโน้มน้าวประเทศกัมพูชาให้กลับเข้าสู้การเจรจาแบบทวิภาคี[108]
ฮ่องกง
แก้อภิสิทธิ์ได้เดินทางไปยังเขตบริหารพิเศษฮ่องกงในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[109] เพื่อพบปะสื่อนานาชาติและสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน
เนเธอร์แลนด์
แก้วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขาธิการรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงต่างประเทศ นายอิทธิพร บุญประคอง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายได้เดินทางไปพบ ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตกรุงเฮกเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการไต่สวนคดีที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในวันที่ 30 และ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 โดยมี ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตกรุงเฮก เป็นประธานฝ่ายไทย[110]
สหรัฐอเมริกา
แก้ระหว่างวันที่ 21-27 กันยนยน พ.ศ. 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางเข้าร่วมประชุมสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก และเข้าร่วมประชุม จี 20 ที่เมืองพิตส์เบิร์ก โดยในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้รับเกียรติจาก นาย ดันแคน นีเดราเออร์ ผู้อำนวยการ NYSE Euronext เป็นผู้ลั่นระฆังปิดตลาดหุ้นนิวยอร์ก[111]
ระหว่างวันที่ 20-26 กันยายน พ.ศ. 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปยังนครนิวยอร์กเพื่อประชุมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญครั้งที่ 65 และการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน - สหรัฐฯ (ASEAN-US Summit) ครั้งที่ 2[112]
สหรัฐอเมริกาได้มีคำสั่งย้ายเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยนาย Eric G. John ก่อนหน้านั้นนายกษิต ภิรมย์รัฐมนตรีต่างประเทศได้เชิญนาย Eric G. John เข้าพบเพื่อประท้วงอย่างเป็นทางการถึงกรณีผู้ช่วย รมต.ต่างประเทศสหรัฐได้เข้าพบกับนายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ และ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยแลประท้วงถึงการส่งตัวแทนเข้าร่วมการฟังบรรยายสรุปของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน [113]รวมถึงการส่งทูตไปฟังกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[114]ทั้งนี้ นางคริสตี้ เคนนี่ย์ เดินทางเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554[115]
วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้สั่งเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย อันเนื่องมาจากนายบารัค โอบามาประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกาแถลงถึงการเสียชีวิตของ อุซามะห์ บิน ลาดิน หัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์ [116] วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์) ได้ประกาศผลการจัดอันดับไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี 2554 อย่างเป็นทางการ โดยคงไทยเป็นประเทศที่อยู่ในบัญชีจับตามองเป็นพิเศษ (พีดับบลิวแอล) เช่นเดียวกับปี 2553 หรือต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงการณ์จะส่งหนังสือคัดค้านเรื่องนี้และแสดงความผิดหวังต่อท่าทีของสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (ยูเอสทีอาร์)[117]
มอนเตเนโกร
แก้กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยเดินทางไปเยือนมอนเตเนโกรอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เพื่อหาตลาดใหม่ร่วมมือการลงทุน[118] ถือเป็นการเดินทางเยือนของผู้แทนระดับสูงคนแรกของไทย นับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2550[119]
มีนาคม พ.ศ. 2553 รัฐบาลประเทศมอนเตเนโกร อนุมัติสัญชาติมอนเตเนโกร ให้กับ ทักษิณ ชินวัตร[120] อดีตนายกรัฐมนตรีของราชอาณาจักรไทย นับเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกและคนเดียวของประเทศไทยที่ได้รับสัญชาติจากประเทศนี้ในฐานะนักลงทุน[121]
ฝรั่งเศส
แก้นาย กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยเดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20-21 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ได้ลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 2 ซึ่งกระชับความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น[122] นาย สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.โสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะคณะกรรมการมรดกโลก เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส[123]
ออสเตรเลีย
แก้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและภริยา ให้การต้อนรับ เควนติน ไบนซ์ ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลีย ในโอกาสเดินทางมาเยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 22-26 เมษายน 2554[124]
นิวซีแลนด์
แก้รัฐบาลไทยได้ส่งเงินจำนวน 2.3 ล้านบาทเพื่อช่วยเหลือชาวนิวซีแลนด์ที่ประสบภัยพิบัติในเหตุการณ์แผ่นดินไหว[125]
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทยเชิญชวนนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เข้าร่วมความร่วมมือในกรอบลุ่มแม่น้ำโขง เมื่อครั้งเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 17 ที่ฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม[126]
ลาตินอเมริกา
แก้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธานการประชุม Latin Business Forum 2010 ครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล [127] ร่วมกับ นายคาร์ลอส โพซาดา อูกาซ รัฐมนตรีช่วยว่าการการค้าต่างประเทศและการท่องเที่ยวประเทศเปรู เอกอัครราชทูตจากกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาประจำประเทศไทย [128]
กาตาร์
แก้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปเยือนประเทศกาตาร์ นับเป็นการเยือนครั้งแรกในระดับนายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่ทั้งสองประเทศได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี 2523 และได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-กาตาร์ และ บันทึกความเข้าใจระหว่างสภาหอการค้าไทยและสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมกาตาร์[129]
สหราชอาณาจักร
แก้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13-15 มีนาคม พ.ศ. 2552 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรในระดับทวิภาคี[130] นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปเยือนสหราชอาณาจักรเพื่อเข้าร่วมการประชุมกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 20 ประเทศ ณ สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน พ.ศ. 2552 [131]
อินเดีย
แก้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเดินทางไปเยือน กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย เมื่อวันที่ 4-6 เมษายน พ.ศ. 2554เพื่อหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินเดีย รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินเดีย และ นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอินเดีย [132]
สวิตเซอร์แลนด์
แก้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเดินทางไปเยือน เมืองดาวอส และซูริก สมาพันธรัฐสวิส เพื่อร่วมประชุม เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม เมืองดาวอส และ เป็นประธานการประชุมเอกอัครราชทูต ประจำภาคพื้นยุโรป เมืองซูริค[133] ระหว่างวันที่ 28 มกราคม-31 มกราคม พ.ศ. 2554[134]
เวียดนาม
แก้อภิสิทธิ์เดินทางไปพบเหงียน เติ๊น สุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เพื่อพิจารณาถึงหนทางแก้ปัญหาวิกฤตการณ์การเงินโลก อภิสิทธิ์ไปถึงฮานอยใช้เวลาหนึ่งวันไปเยียมเยียน เหงียน เติ๊น สุงกล่าวว่า "การมาเยี่ยมเยียนของคุณจะช่วยให้มิตรภาพขยายกว้างและลึกซึ้งมากขึ้นและความร่วมมือระหว่างเวียดนามกับไทยซึ่งมีหลายแง่มุม"
ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ครั้งที่ 14 วันที่ 4 พฤษภาคม 2554 ณ ฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม [135]
วันที่ 30 พฤษภาคม 2554 นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เดินทางไปพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งสาธารณะ ประเทศเวียดนามที่กรุงฮานอย เพื่อพิจารณาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ร่วมกัน รวมทั้งทำพิธีส่งมอบผู้เสียหายฯ ให้กับฝ่ายเวียดนาม พร้อมจะได้ตรวจเยี่ยมหญิงชาวเวียดนามทั้งหมดที่ประเทศเวียดนาม[136]
ญี่ปุ่น
แก้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552[137] คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบขยายระยะเวลาพำนักในประเทศไทยจาก 30 วัน เป็น 90 วัน ให้แก่คนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ[138]
จากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ พ.ศ. 2554 รัฐบาลได้เสนอเงินช่วยเหลือโดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินช่วยเหลือราว 100-200 ล้านบาท[139] ด้านเซอิจิ โคจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นมิตรแท้ในยามยาก[140]
กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เดินทางไปร่วมการประชุมด้านธุรกิจ ที่ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[141]
มาตรการปราบปรามการประท้วง
แก้อภิสิทธิ์เผชิญหน้ากับจำนวนผู้ที่ไม่พอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลของเขาเอง และท่ามกลางข่าวลือที่ว่าจะมีการยึดอำนาจเกิดขึ้น ในเดือนธันวาคม 2552 รองศาสตราจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีต ส.ว.อ่างทอง เขียนบทความในหนังสือพิมพ์แนวหน้าโดยบอกว่า ประเทศอยู่ในภาวะสงครามกลางเมืองแล้ว แม้ว่ายังไม่มีการสังหารหมู่แต่อย่างใด อภิสิทธิ์ประกาศใช้พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 และแต่งตั้ง ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยขึ้นอีกครั้งภายหลังจากที่ยกเลิกพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์แฉุกเฉิน โดยให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยก่อนหน้านี้ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ได้เคยถูกจัดขึ้นมาแล้วก่อนประกาศพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยมีนายสุเทพ เทือกสุพรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย อีกทั้งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีอำนาจ ตาม ประกาศพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในการปิดเว็บไซต์ ดำเนินการต่อศาลเพื่ออกหมายจับกุม หมายเรียก กับผู้กระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้บางช่วงระยะเวลา รวมถึงประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 114 116 215 216[142] พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2546[143]
การสั่งฟ้องพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
แก้อภิสิทธิ์ให้สัญญาว่าจะใช้หลักนิติรัฐและสั่งฟ้องแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้ง 21 คน ที่ต้องรับผิดชอบจากการยึดท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งยังไม่ได้มีการออกหมายจับคดียึดสนามบิน[144] วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554 ศาลแพ่งได้ตัดสินให้แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต้องจ่ายชดเชยให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย 522 ล้านบาท และค่าฤชาทนายความ โจทย์ 8 หมื่นบาท โดยศาลได้พิเคราะห์ว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยส่วนหนึ่งได้เข้าไปในหอบังคับการบิน มีเจตนาที่จะยึด หรือก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย หรืออันตราอย่างหนึ่งอย่างใด รวมถึงเจตนาขัดขวางการทำงานของอากาศยานให้ชะงักหรือหยุด ลง[145] ในส่วนของศาลอาญาได้อนุมัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจฝากขังนายการุณ ใสงาม และ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์[146] ซึ่งต่อมาได้รับการประกันตัว ตำรวจได้สั่งฟ้องผู้ต้องหา 114 คนต่อพนักงานอัยการ เพื่อดำเนินคดีอาญาพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติว่าด้วย ความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538 มาตรา 6 ทวิ และมาตรา 11[147] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา135/1 มาตรา135/2 135/3 และ 135/4 [148]ในส่วนของศาลอาญาอัยการได้สั่งเลื่อนฟ้องคดีพันธมิตร ในคดีร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือ วิธีการอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือ ติชม โดยสุจริต เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน หรือ รัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือ กำลังประทุษร้าย เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือ กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาญาจักร หรือ เพื่อให้ประชาชน ล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้เกิดความวุ่นวาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 215 216 ในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ มากกว่า 8 ครั้ง[149]คดียังไม่แล้วเสร็จ[150]
เหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ. 2552
แก้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กล่าวหาผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้สั่งให้ทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และยังกล่าวหา พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรีว่ามีส่วนรู้ร่วมคิดในการก่อรัฐประหารขึ้นเพื่อรับรองให้อภิสิทธิ์ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ถึงแม้ว่าอภิสิทธิ์ปฏิเสธข้อกล่าวหา กลุ่มผู้ประท้วงเสื้อแดงจำนวน 100 คนจาก 1,000 คนในกรุงเทพมหานครในช่วงต้นเดือนเมษายนมีความต้องการให้อภิสิทธิ์ลาออกจากนายกรัฐมนตรี และต้องการให้ พล.อ.เปรม สุรยุทธิ์ และชาญชัย ลาออกจากตำแหน่งองคมนตรี[151] พ.ต.ท. ทักษิณเรียกร้องให้มีการปฏิวัติโดยประชาชนอย่างเปิดเผย เพื่อให้มีชัยชนะต่อชนชั้นสูงที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ ผู้ประท้วงเสื้อแดงแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติไปขัดขวางการประชุมอาเซียนซัมมิทที่พัทยา ความรุนแรงจากการปะทะกันได้เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดงกับกลุ่มเสื้อน้ำเงินที่สนับสนุนรัฐบาล และมีรายงานว่ากลุ่มคนเสื้อน้ำเงินได้ขว้างระเบิดมายังกลุ่มคนเสื้อแดง[152] การบุกรุกเข้าไปในที่ประชุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นสาเหตุให้การประชุมอาเซียนซัมมิทเป็นอันต้องยกเลิกไป ต่อมาอภิสิทธิ์จึงตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่พัทยาและชลบุรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน[153] ภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนี้มีการรวมตัวกันมากกว่า 5 คนถูกห้ามไม่ให้นำเสนอข่าวที่ยุยงให้เกิดความวิตกกังวล[154]
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เริ่มต้นขึ้นนั้น ผู้ประท้วงได้ยกระดับการชุมนุมสูงขึ้นในกรุงเทพฯ ผู้ประท้วงใช้รถยนต์ รถเมล์ และรถบรรทุกแก๊ส LPG จอดขวางตามถนนหลายจุดในใจกลางกรุงเทพมหานคร การต่อสู้ได้ปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านรัฐบาล กลุ่มผู้ประท้วงที่สนับสนุนรัฐบาล และประชาชนทั่วไป การเดินขบวนไปยังหน้าบ้านสี่เสาว์เทเวศน์ มีผู้สนับสนุนพันธมิตรคนหนึ่งขับรถเข้าชนกลุ่มนปช. ก่อนที่จะขับรถหนีไป[155] อภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากผู้ประท้วงกลุ่มเสื้อแดงยกระดับความตึงเครียดสูงขึ้นและกล่าวหาว่าผู้ที่ประท้วงต่อต้านรัฐบาลนั้นเป็นศัตรูของประเทศไทย[156] อภิสิทธิ์ยังได้ออกพระราชกำหนดมอบอำนาจให้รัฐบาลตรวจสอบการออกอากาศทางโทรทัศน์[157]
ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 13 เมษายน ทหารใช้แก๊สน้ำตาและปืนที่บรรจุกระสุนซ้อมปนกับกระสุนจริงและปืนM16แบบพับฐาน,M-60,M-249สลายการชุมนุมจากแยกดินแดง ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 70 คนสูญหาย2คน[158] [159] ผู้ประท้วงที่ต่อสู้กับกลุ่มคนเสื้อแดงไม่ให้เข้ามาวางเพลิงในชุมชนของตัวเองถูกปืนจากคนเสื้อแดงยิงตาย 1 คน[160][161] ในวันเดียวกันนั้น รัฐบาลสั่งให้ระงับการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ช่องดีสเตชัน และสมาชิกของกลุ่มนปช.ในเวลานั้น ถูกเผยแพร่ภาพที่มีการปะทะกันขึ้น และวิทยุชุมชนหลายแห่งถูกปิด[162] ความรุนแรงจากการปะทะมีจำนวนมากในกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่องในขณะที่มีการออกหมายจับพ.ต.ท.ทักษิณและแกนนำอีก 13 คน ต่อมาแกนนำนปช.เข้ามอบตัวกับตำรวจในวันที่ 14 เมษายน ภายหลังจากที่ความรุนแรงได้สิ้นสุดลง[163] หลังจากนั้นไม่นาน อภิสิทธิ์ได้ยกเลิกหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ และออกหมายจับแกนนำเพิ่มอีก 12 คน[164]
รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลของผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบนี้จำนวนมากกว่า 120 คนเกือบทั้งหมดเป็นกลุ่มนปช.[165] ทางกลุ่มนปช.ประกาศว่ามีสมาชิกอย่างน้อย 6 คนเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมและถูกทหารนำศพไปโยนทิ้ง รัฐบาลได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ มีการตั้งข้อสงสัยว่า มีกลุ่มนปช.ที่ถูกทหารยิงเสียชีวิตอย่างน้อย 1 คนที่ดินแดงโดยมีบาดแผลที่พิสูจน์ได้ว่าไม่ได้เกิดจากอาวุธสงคราม ถึงแม้ว่ากองทัพจะออกมาปฏิเสธ[166] อภิสิทธิ์มอบหมายให้สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ออกมายืนยันว่าผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลถูกเสื้อแดงยิงตาย 2 คนที่ดินแดง[167] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประมาณมูลค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท รวมถึงรถเมล์ที่ถูกเผาจำนวน 31 คัน[168]
วันที่ 21 เมษายน อภิสิทธิ์ประกาศ “สงครามสื่อ” มุ่งหมายจะเล่นงานข้อกล่าวหาของ นปช. อภิสิทธิ์ยังประกาศด้วยว่าจะแจกจ่ายวีซีดีเอกสารของรัฐบาลเกี่ยวกับสถานการณ์หลายล้านแผ่นไปยังประชาชน[169][170] ในเวลานั้น คำสั่งการตรวจสอบและฉุกเฉินของรัฐบาลยังคงอยู่ในที่ตั้ง ต่อมาประกาศยกเลิก พรก.ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 24 เมษายน[171]
การปฏิบัติต่อกลุ่ม นปช. ของอภิสิทธิ์โดยฉับพลันนั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขาใช้มาตรฐานอย่างหนึ่งต่อฝ่ายตรงข้าม และอีกอย่างหนึ่งต่อพันธมิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่าไว้ว่า “มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดว่าเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงได้รับการปฏิบัติจากรัฐบาลอย่างไร จะเพียงแค่กระตุ้นให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลหันไปพึ่งการทำผิดกฎหมายมากขึ้น” ในเวลานั้น ยังไม่มีหมายจับพันธมิตรที่ไปยึดสนามบินเมื่อหลายเดือนก่อนหน้า ขณะที่หมายจับ นปช. เพียงไม่กี่ชั่วโมงภายหลังจากเหตุรุนแรงปะทุขึ้น[172] ในการไปให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ อภิสิทธิ์กล่าวว่า “ผมเข้าใจความรู้สึก (นปช.) ในกรณีที่ดูขัดแย้งกับของพันธมิตรฯที่ล่าช้า ปัญหาคือการกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯไม่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่ผมเป็นรัฐบาล และกำลังอยู่ในขั้นตอนสืบสวน” เมื่อผู้สัมภาษณ์สังเกตว่าการยึดสนามบินยุติลงเพียงแค่ 2 สัปดาห์ก่อนที่อภิสิทธิ์จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขายืนยันว่า “ผมได้เรียกหัวหน้าตำรวจมาประชุมและแสดงความเป็นห่วงที่คดีกำลังตัดสินเป็นไปอย่างล่าช้า และพวกเขาทำคดีนี้คืบหน้าไปแล้ว”[173]
เหตุการณ์ความไม่สงบ พ.ศ. 2553
แก้เศรษฐกิจ
แก้จากเหตุการณ์ที่ค่าเงินบาททำสถิติแข็งที่สุดในรอบ 13 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ทำการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทโดยค่าเงินบาทได้ทำสถิติหลุดจาก 30 บาทต่อดอลล่าห์หลายครั้งภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[174] สัดส่วนหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เพิ่มเป็น 27.88% มากที่สุดในรอบ 5 ปี นับจากปี 2547 ที่มีสัดส่วนหนี้อยู่ที่ 29.87% ณ ต้นปี พ.ศ. 2552 [175] ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ของประเทศไทย ทำสถิติสูงสุดในรอบ 15 เดือน ประจำเดือนเม.ย.54 เท่ากับ 112.01 % สูงขึ้น 4.04% เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.53[176] ด้านราคาน้ำมัน รัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท ต่อลิตร[177]ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีนโยบายเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นทองคำโดยกำหนดให้ ทองคำเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศที่ 3 เปอร์เซ็นต์ รายงานจากสภาทองคำโลกแสดงให้เห็นถึงการสะสมทองคำของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยระบุถึงประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทองคำมากเป็นอันดับที่ 33 ของโลกในปี พ.ศ. 2553[178] ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554[179] มีรายงานว่าธนาคารแห่งประเทศไทยซื้อทองคำเป็นอันดับที่สามของโลกด้วยจำนวน 9.4 ตันรองจาก เม็กซิโก และ รัสเซียเท่านั้น ส่งผลให้อัตราทองคำที่เป็นทุนสำรองระหว่างระหว่างมากกว่า 108 ตันเป็นครั้งแรก [180]
เช็คช่วยชาติ
แก้วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อประเทศไทย จำนวนผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 800,000 คน โดยเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551[181] ในต้นปี พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจถูกคาดหวังว่าจะ ว่าจ้างตามสัญญา 3% ตลอดทั้งปี[182] อภิสิทธิ์ตอบรับวิกฤตเศรษฐกิจนี้โดยการแจกเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท (ประมาณ 75 ดอลลาร์) สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท (ประมาณ 500 ดอลลาร์) [183]อย่างไรก็ตามเฉพาะผู้ที่เป็นผู้ประกันตนเท่านั้น อันหมายถึงคนที่อยู่ในระบบประกันสังคม ผู้ว่างงานหรือตกงานไม่สามารถรับเงินจากเช็คช่วยชาติได้ นำมาสู่การวิพากวิจารณ์โดยเฉพาะจากคนในพรรคประชาธปัตย์ อดีตสมาชิกพรรค นายพรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ กล่าวไว้ในจดหมายลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคว่า การแจกเงินสองพันบาทโดยใช้ฐานข้อมูลประกันสังคมนั้นไม่สามารถจะนำเงินไปสู่คนยากคนจนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง ไปได้แค่เพียงคนชั้นกลางซึ่งมีข้อมูลอยู่ในทะเบียนฯ เท่านั้น นโยบายนี้เหยียบย่ำหัวใจคนยากคนจนที่ส่วนใหญ่ยากไร้ไม่มีที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย จะมีประกันสังคมได้อย่างไร [184]
ดัชนีเศรษฐกิจไทย
แก้ดัชนีเศรษฐกิจไทยในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สูงสุดที่ระดับ 1,145.82 จุดในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554[185]ซึ่งเป็นการทำลายสถิติดัชนีสูงสุด 15 ปี 3 เดือนเมื่อวันที่ 22กรกฎาคมพ.ศ. 2554 ซึ่งปิดที่ 1,121.04 จุด[186]ภายหลังดัชนีเศรษฐกิจไทยได้ขึ้นไปสู่ระดับ 1,107.36 ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554 สูงสุดในรอบ 15 ปี[187]ในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกใน พ.ศ. 2551[188]ทำให้ดัชนีหุ้นไทยล่วงลงต่ำสุดในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ที่ ระดับ 387.43 จุด ต่ำสุดในรอบ 5 ปี 5 เดือนโดยวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 387.37 จุด ในสมัย ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีโดยดัชนีเศรษฐกิจไทยจุดต่ำสุดของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะสูงกว่ารัฐบาลทักษิณ ชินวัตร 0.06 จุด หรือ 0.015 เปอร์เซ็นต์[189]ภายหลังที่นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[190] ดัชนีเศรษฐกิจไทย ปิดตลาดที่ 1050.85 ต่ำสุดในรอบ 1 เดือน ลดลงถึง -23.02 จุด หรือ 2.14% ภายในวันเดียว ซึ่งเป็นการลดลงที่มากที่สุดภายในภูมิเอเชียและภูมิภาคโอเชียเนีย
ผลสำรวจ
แก้ตามที่ผลสำรวจโดยเอแบคโพลในรอบเดือนพฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา อภิสิทธ์ได้รับเปอร์เซ็นต์ความพึงพอใจที่ 70% ส่วนเปอร์เซ็นต์ความพึงพอใจของคณะรัฐมนตรีอยู่ที่ 59% และ 9.4% พึงพอใจมาก ภาพรวมของคณะรัฐมนตรีถูกประเมินจากเต็ม 10 ได้ 6.5 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมาก[191]
ภาพรวม
แก้- การประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติอันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศเป็นครั้งแรก และประกาศใช้ถึงสองครั้ง ในบางพื้นที่ของอำเภอหรือตำบล 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ อย่างไรก็ตาม อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ประกาศใช้ทั้งอำเภอเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติอันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศทั้งอำเภอ
- แม่ทัพภาคที่ 2 พลโท ธวัชชัย สมุทรสาคร ได้ประกาศ พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ในพื้นที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาได้ประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ภัยสงคราม โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ทั้งนี้แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะเคยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2547[192]แต่นับเป็นครั้งแรกที่ทหารใช้อำนาจตามประกาศพระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 โดยขับไล่ประชาชนไม่อนุญาตให้อยู่ในพื้นที่ และประกาศเป็นเขตภัยสงคราม[193]
- การประกาศพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่ยาวนานมากที่สุดครั้งหนึ่งในราชอาณาจักรไทย วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553-22 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด 24 จังหวัดภายหลังได้ค่อย ๆ ลดจำนวนจังหวัดลง โดยก่อนหน้านี้ประกาศใช้มาแล้วครั้งหนึ่งช่วง เมษายน พ.ศ. 2552 เฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- การนำพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2546 หรือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1 135/2 135/3 และ 135/4[194] มาใช้ฟ้องร้องในข้อหาก่อการร้ายเป็นครั้งแรก[195] บุคคลที่โดนหมายจับตามข้อหานี้ เช่น อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และวีระกานต์ มุสิกพงศ์บุคคลที่ถูกคุมขังได้แก่จตุพร พรหมพันธุ์และนิสิต สินธุไพร
- บัตรประชาชนรูปแบบใหม่เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งปลอมแปลงได้ยากกว่ารุ่นก่อน ๆ และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้มากขึ้น[196] โดยได้ออก กฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2554) ออก ตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526[197]ใจความสำคัญคือการเพิ่ม micro text ป้องกันการปลอมแปลง ซึ่งเมื่อใช้แว่นขยายจะเห็นเป็นตัวอักษร “THAILAND” ต่อเนื่องกันเป็นเส้นสีแดง ซึ่งเป็นที่มาของการต้องออก กฎกระทรวง ฉบับที่ 23[198]เพื่อให้สามารถกระทำได้
- ประชาชนชาวไทยที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไปต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เป็นกฎหมายใหม่ภายใต้รัฐบาลนี้
- มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในมาตรา 93-98 มาตรา 190 และประกาศใช้เป็น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2554
การยุบสภาผู้แทนราษฎร และการเลือกตั้งใหม่
แก้ภายหลังจากได้ประสบปัญหากับกลุ่มแกนนำต่อต้านเผด็จการแห่งชาต (น.ป.ช.) ที่ได้ชุมนุมกันตั้งแต่ปี (2552 - 2553) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะครบวาระในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้จัดการปราศรัยมาหลาย ๆ ครั้ง และภายหลังผลการเลือกตั้งออกมา นายอภสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แพ้การเลือกตั้งให้แก่ พรรคเพื่อไทย โดยได้ที่นั่งในสภาเพียง 159 ที่นั่ง จากพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่ง 265 ที่นั่ง เขาจึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และกลับไปรับตำแหน่งอีกครั้งตามมติที่ประชุมใหญ่ของพรรค
การสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แก้หลังจากลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยังคงดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีต่อไปจนกว่าจะมีการเปิดประชุมสภา และตลอดระยะเวลาที่ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี เขาก็ไม่เหน็ดเหนื่อย และได้จัดการพัฒนาเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่สามารถนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และนายอภิสิทธิ์ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เมื่อสภาผู้แทนราษฎรลงมติเลือก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายอภิสิทธิ์ ก็ได้แถลงการณ์อำลาตำแหน่งและอำลาสถานที่และขอบคุณประชาชนและนักการเมืองที่ได้ช่วยสนับสนุนเขาตลอดระยะเวลา 2 ปีกว่า ๆ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "ในหลวง" ทรงลงพระปรมาภิไธย แต่งตั้ง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็นนายกฯคนที่ 27 แล้ว เก็บถาวร 2009-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์หนังสือพิมพ์มติชน เรียกดูข้อมูลเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551
- ↑ Asia One, Finance minister from Thai elite faces raft of economic woes เก็บถาวร 2009-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 21 December 2008
- ↑ Far Eastern Economic Review, New Thai Prime Minister Says People Must Wait for Democracy เก็บถาวร 2009-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 24 January 2008
- ↑ BBC, Thai PM rules out cabinet deals, 18 December 2008
- ↑ Bangkok Post, [1], 20 January 2009
- ↑ The Nation, [2] เก็บถาวร 2009-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 21 January 2009
- ↑ The Nation, Thailand 'happy to cooperate', but Army plays dumb on detainees เก็บถาวร 2011-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 22 January 2009
- ↑ Al Jazeera, Thais admit boat people set adrift, 27 January 2009
- ↑ ABC, Thailand promises army-led probe of Rohingya scandal, 29 January 2009
- ↑ Reuters, Burmese Boat People Scandal Exposes Thai PM's Debt to Army, 26 January 2009
- ↑ The Nation, Don't believe what the world says about Rohingya เก็บถาวร 2009-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 4 February 2009
- ↑ Matichon, "กษิต"เมินซีเอ็นเอ็นตีข่าวโรฮิงญา ยันยึดสิทธิมนุษยชน เก็บถาวร 2011-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 27 January 2009
- ↑ The Nation, UNHCR warned over Angelina Jolie's criticism on Rohingya เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ The Nation, Thai govt warns Jolie and UNHCR over comments on Rohingyas, 11 February 2009
- ↑ Reuters, Burmese Boat People Scandal Exposes Thai PM's Debt to Army 26 January 2009
- ↑ Bangkok Post, Military Obligation: Thai PM's Baggage Confronts His Political Inheritance, 30 January 2009
- ↑ Thai-Asean News Network, New Health Minister to be Named after New Year เก็บถาวร 2011-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 29 December 2009
- ↑ Bangkok Post, Cabinet job swap could save Manit from the axe, 3 January 2010
- ↑ Bangkok Post, Witoon quits over fish, 4 February 2009
- ↑ Suranand Live, PM Abhisit is monopolizing the moral high ground เก็บถาวร 2011-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 8 Jan 2010
- ↑ Bangkok Post, Robbing the Poor Blind, 7 August 2009
- ↑ Bangkok Post, Abhisit moves to hose down sufficiency projects scandal, 6 August 2009
- ↑ KPI, Thai Politics Monitor August 2009[ลิงก์เสีย]
- ↑ Bangkok Post, Korbsak quits sufficiency project, 19 August 2009
- ↑ รัฐบาลอภิสิทธิ์ถูกกล่าวหาว่าโยกย้ายข้าราชการไม่เป็นธรรม[ลิงก์เสีย]
- ↑ ถูกสั่งย้ายจากตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ ตามคำสั่งนั้นออกมาหลังจากนาย พีรพล ไตรทศาวิทย์ เกษียณอายุราชการ
- ↑ ศาลปกครองกลางสั่งคืนตำแหน่งให้พัชรวาท
- ↑ ศาลปกครองสั่งคืนตำแหน่งปลัด กทม. “คุณหญิงณัษฐนนท”[ลิงก์เสีย]
- ↑ "รัฐบาลอภิสิทธิ์ถูกกล่าวหาในการจัดสรรงบประมาณแก่ผู้ประสบเหตุไม่สงบทางการเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-16.
- ↑ เงินช่วยเหลือผู้ประกอบการบริเวณสี่แยกราชประสงค์
- ↑ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-22. สืบค้นเมื่อ 2011-04-28.
- ↑ เพื่อพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ อนุมัติในหลักการโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-27. สืบค้นเมื่อ 2011-04-26.
- ↑ คณะกรรมการประสานงานความร่วมมือเศรษฐกิจไทย-จีน
- ↑ อนุมัติในหลักการโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- ↑ คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณ 38 ล้านบาทเพื่อพัฒนาท่าอากาศยานปาย
- ↑ อนุมัติงบประมาณ 1,000 ล้านบาทเพื่อพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา-พัทยา[ลิงก์เสีย]
- ↑ โครงการจัดหาหัวรถจักรและล้อเลื่อนตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
- ↑ จัดหารถโดยสารรุ่นใหม่สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ 115 คัน
- ↑ The Nation, Air Force to earmark next year's tie-over budget to buy Grippen fighters เก็บถาวร 2009-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
- ↑ ประกาศพื้นที่ภัยสงคราม%20%20เขาพระวิหาร%20[ลิงก์เสีย]
- ↑ การใช้อำนาจทางทหารตามพรบ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2547[ลิงก์เสีย]
- ↑ การจัดซื้อเรือดำน้ำมือสองของประเทศเยอรมนี จำนวน 6 ลำ
- ↑ Telegraph, Ten years jail for "insulting" Thai king, 3 April 2009
- ↑ The Nation, Better ways to save thai online freedom, 6 April 2009
- ↑ การใช้อำนาจทางทหารตามพรบ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2547[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. 2548
- ↑ ออกหมายเรียก ตามาตรา 18 ตาม พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศใช้กฎอัยการศึกใน 5 อำเภอ จังหวัดสงขลา[ลิงก์เสีย]
- ↑ Asia Times, Old and new massacres in Thailand เก็บถาวร 2010-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 10 July 2009
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
- ↑ พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
- ↑ Bangkok Post, [3], 5 March 2009
- ↑ The Nation, Democrats propose law to crack down on lese majeste, 19 November 2008
- ↑ The Nation, List of 29 controversial websites เก็บถาวร 2009-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-04-26.
- ↑ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๓[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๒
- ↑ พระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๕๔
- ↑ กฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๖ ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๕๔)
- ↑ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระราชบัญญัติสหกรณ์(ฉบับที่ ๒)พ.ศ. ๒๕๕๓[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๔)พ.ศ. ๒๕๕๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
- ↑ ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔[ลิงก์เสีย]
- ↑ ร่างพระราชบัญญํติคอมพิวเตอร์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์
- ↑ ร่างพ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ร่างพ.ร.บ.การติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม[ลิงก์เสีย]
- ↑ พ.ร.บ.สัญชาติ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ
- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 ) พุทธศักราช 2554
- ↑ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 1 )พุทธศักราช 2554 ได้ ยกเลิกมาตรา 93 ถึง มาตรา 98 ของ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-04-30.
- ↑ The Telegraph, Troops from Thailand and Cambodia fight on border, 3 April 2009
- ↑ Bloomberg, Thai, Cambodian Border Fighting Stops, Thailand Says, 3 April 2009
- ↑ เหตุเหยียบกันเสียชีวิตในพนมเปญ[ลิงก์เสีย]
- ↑ เกิดเหตุการณ์การปะทะที่รุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปี ศรีสะเกษ
- ↑ บันทึกเหตุการณ์ มหาอุทกภัย ปี 2554
- ↑ ประเทศไทยที่ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติอันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Thai, Cambodia troops clash again; peace hopes fade". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-02. สืบค้นเมื่อ 2011-05-01.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-27. สืบค้นเมื่อ 2011-05-01.
- ↑ รัฐบาลไทยรับการช่วยเหลือจากรัฐบาลจีนในการออกแบบและก่อสร้างศูนย์การแพทย์แผนไทย-จีน
- ↑ รัฐบาลได้ทำข้อตกลงร่วมทุนในการทำโครงการศูนย์การค้าดังกล่าวในประเทศไทย
- ↑ เชิญขอรัฐบาลจีนเข้าร่วมงาน เวิลด์เอ็กซ์โป 2010
- ↑ ตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประเทศจีน
- ↑ จัดการฝึกปฏิบัติการทางอากาศที่มีการสนธิกำลังทางอากาศ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
- ↑ "ช่วยออกค่าเดินทางของญาติเยาวชนไทยผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถไฟ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-06-14.
- ↑ โครงการความร่วมมือระหว่างข้าราชการไทย-สิงคโปร์และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
- ↑ นายกษิต ภิรมย์ ได้เดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ กรุงจาร์กาตา
- ↑ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วมประชุม การประชุมสุดยอดอาเซียน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียได้เยือนประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ กษิต ภิรมย์ ได้เดินทางไปประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ไปประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
- ↑ ประชุมเศรษฐกิจโลกในประเด็นเอเชียตะวันออกนายกรัฐมนตรีได้หารือกับ Mr.Klaus Schwab[ลิงก์เสีย]
- ↑ เอบราฮิม อาซีซี เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในโอกาสเยือนประเทศไทย
- ↑ เกิดเหตุปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างทหารพม่ากับกองกำลังกองกำลังสหพันธรัฐว้า (UWSA)[ลิงก์เสีย]
- ↑ รัฐบาลทั้งสองประเทศได้เล็งถึงประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่ายที่จะร่วมมือพัฒนาท่าเรือทวายเป็นเขตเศรษฐกิจ
- ↑ "อู หม่องมินท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของพม่าเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อหารือความร่วมมือในการดูแลแรงงานพม่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 2011-06-14.
- ↑ เบนิกโน เอส อาคีโน ที่สาม ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ อภิสิทธิ์ได้เดินทางไปยัง[[เขตบริหารพิเศษฮ่องกง[ลิงก์เสีย]
- ↑ เอกอัครราชทูตกรุงเฮกเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วม[ลิงก์เสีย]
- ↑ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางเข้าร่วมประชุมสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก และเข้าร่วมประชุม จี 20[ลิงก์เสีย]
- ↑ การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน - สหรัฐฯ (ASEAN-US Summit) ครั้งที่ 2
- ↑ สหรัฐอเมริกาได้มีคำสั่งย้ายเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
- ↑ การส่งทูตไปฟังกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-12. สืบค้นเมื่อ 2011-05-07.
- ↑ "ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้สั่งเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-02.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-05-07.
- ↑ กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยเดินทางไปเยือนมอนเตเนโกรอย่างเป็นทางการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-03. สืบค้นเมื่อ 2011-04-30.
- ↑ รัฐบาลประเทศมอนเตเนโกร อนุมัติสัญชาติมอนเตเนโกร ให้กับ ทักษิณ ชินวัตร
- ↑ ประเทศไทยที่ได้รับสัญชาติจากประเทศนี้ในฐานะนักลงทุน[ลิงก์เสีย]
- ↑ ลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 2[ลิงก์เสีย]
- ↑ คณะกรรมการมรดกโลก เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ[ลิงก์เสีย]
- ↑ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและภริยา ให้การต้อนรับ เควนติน ไบนซ์ ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลีย ในโอกาสเดินทางมาเยือนไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ช่วยเหลือชาวนิวซีแลนด์ที่ประสบภัยพิบัติในเหตุการณ์แผ่นดินไหว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-04-28.
- ↑ "นายกรัฐมนตรีของไทยเชิญชวนนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เข้าร่วมความร่วมมือในกรอบลุ่มแม่น้ำโขง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-04-30.
- ↑ ประชุม Latin Business Forum 2010 ครั้งแรกในประเทศไทย
- ↑ เอกอัครราชทูตจากกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาประจำประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
- ↑ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปเยือนประเทศกาตาร์ นับเป็นการเยือนครั้งแรกในระดับนายกรัฐมนตรี
- ↑ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรในระดับทวิภาคี[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เยือนสหราชอาณาจักรเพื่อเข้าร่วมการประชุมกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 20 ประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-29. สืบค้นเมื่อ 2011-05-02.
- ↑ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเดินทางไปเยือน กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย
- ↑ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเดินทางไปเยือน เมืองดาวอส และซูริก สมาพันธรัฐสวิส
- ↑ "นายก อภิสิทธิ์ เยือนแดนนาฬิกา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-02.
- ↑ "อภิสิทธิ์เดินทางไปพบเหงียน เติ๊น สุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-05-23.
- ↑ "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.
- ↑ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น[ลิงก์เสีย]
- ↑ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบขยายระยะเวลาพำนักในประเทศไทย
- ↑ รัฐบาลได้เสนอเงินช่วยเหลือโดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินช่วยเหลือราว 100-200 ล้านบาท
- ↑ "เซอิจิ โคจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นมิตรแท้ในยามยาก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2011-04-28.
- ↑ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เดินทางไปร่วมการประชุมด้านธุรกิจ ที่ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในกรุงโตเกียว
- ↑ การใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน กับเหตุการณ์ชุมนุมภายในประเทศ โดย สมลักษณ์ จัดกระบวนพล[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2546
- ↑ The Malaysian Insider, Thousands of Thaksin supporters rally against Thai government เก็บถาวร 2009-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 15 April 2009
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21.
- ↑ ศาลอาญาได้อนุมัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจฝากขัง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ตำรวจได้สั่งฟ้องผู้ต้องหา 114 คนต่อพนักงานอัยการ เพื่อดำเนินคดีอาญาพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-04-21.
- ↑ อัยการเลื่อนสั่งพธม.ยึดทำเนียบเป็น 9กพ.54
- ↑ อัยการเลื่อนสั่งพธม.ยึดทำเนียบ คดีไม่เสร็จ[ลิงก์เสีย]
- ↑ The Telegraph, Thai protesters bring Bangkok to a halt, 8 April 2009
- ↑ Nirmal Ghosh, “Live: Flashpoint Pattaya,” Straits Times, 11 April 2009
- ↑ New York Times, Thailand’s Failed Experiment?, 16 April 2009
- ↑ MCOT, Armour, troops on streets; Gunfire in scuffle after PM declares emergency เก็บถาวร 2012-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 12 April 2009
- ↑ MCOT, Hit-and-run driver plunges car into UDD protesters เก็บถาวร 2011-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 9 April 2009
- ↑ The Age, Sacrificing democracy won't end Thailand's chaos, 15 April 2009
- ↑ Committee to Protect Journalists, Thai government issues censorship decree, 14 April 2009
- ↑ The Times, Abhisit Vejjajiva won the media battle but the hardest job is yet to come[ลิงก์เสีย],14 April 2009
- ↑ The Times, Thai troops open fire on protesters in Bangkok เก็บถาวร 2011-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 13 April 2009
- ↑ Bangkok Post, “Red in retreat,” 14 April 2009
- ↑ Bangkok Post, “Red revolt,” 14 April 2009
- ↑ MCOT, Community radio stations ordered to close temporarily เก็บถาวร 2012-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 16 April 2009
- ↑ The Guardian, Thailand issues Thaksin arrest warrant over Bangkok violence, 14 April 2009
- ↑ The Telegraph, [4]
- ↑ BBC News, “Army pressure ends Thai protest,” 14 April 2009
- ↑ Bangkok Pundit, “It Begins,” 13 April 2009
- ↑ The Nation, One shot dead by red-shirted protesters เก็บถาวร 2009-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ MCOT, Bt10 million BMA property damage from protest; religious rites to be held เก็บถาวร 2011-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 16 April 2009
- ↑ The Nation, Govt to launch media war countering red shirts เก็บถาวร 2009-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Bangkok Post, UDD's planned video show self-defeating, 21 April 2009
- ↑ Reuters, Thailand lifts emergency, plans charter reforms, 24 April 2009
- ↑ AHRC, Thai courts’ use of legal double standards encourages extralegal means by opposition เก็บถาวร 2008-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 25 April 2009
- ↑ Financial Times, Interview with Abhisit Vejjajiva เก็บถาวร 2015-05-06 ที่ archive.today, 23 April 2009
- ↑ เหตุการณ์ที่ค่าเงินบาททำสถิติแข็งที่สุดในรอบ 13 ปี
- ↑ สัดส่วนหนี้ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)[ลิงก์เสีย]
- ↑ ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ)[ลิงก์เสีย]
- ↑ "รัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท ต่อลิตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-23. สืบค้นเมื่อ 2011-05-17.
- ↑ ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีนโยบายเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นทองคำ[ลิงก์เสีย]
- ↑ กำหนดให้ ทองคำเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศที่ 3 เปอร์เซ็นต์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ธนาคารแห่งประเทศไทยซื้อทองคำเป็นอันดับที่สามของโลกด้วยจำนวน 9.4
- ↑ MCOT, Thailand's January unemployment soars to 880,000 เก็บถาวร 2012-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 17 March 2009
- ↑ MCOT, Thai economy to contract 4.5-5 per cent: Finance Minister เก็บถาวร 2012-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 16 April 2009
- ↑ MCOT, Bt2,000 cheque dispersals end at Bangkok City Hall เก็บถาวร 2012-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 28 March 2009
- ↑ "ฐานข้อมูลประกันสังคมนั้นไม่สามารถจะนำเงินไปสู่คนยากคนจนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-01. สืบค้นเมื่อ 2011-05-21.
- ↑ ดัชนีเศรษฐกิจไทยในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สูงสุดที่ระดับ 1,145.82[ลิงก์เสีย]
- ↑ ดัชนีเศรษฐกิจไทยในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สูงสุดที่ระดับ 1,121.04[ลิงก์เสีย]
- ↑ ดัชนีเศรษฐกิจไทยได้ขึ้นไปสู่ระดับ 1,107.36[ลิงก์เสีย]
- ↑ ท่ามกลางวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกใน พ.ศ. 2551[ลิงก์เสีย]
- ↑ นายกรัฐมนตรีโดยดัชนีเศรษฐกิจไทยจุดต่ำสุดของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- ↑ "รัฐมนตรีประกาศยุบสภาอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2011-05-07.
- ↑ The Nation Most satisfied with Abhisit govt, poll finds เก็บถาวร 2012-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน May 29, 2009
- ↑ ประกาศใช้พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2547[ลิงก์เสีย]
- ↑ ขับไล่ประชาชนไม่อนุญาตให้อยู่ในพื้นที่ และประกาศเป็นเขตภัยสงคราม[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-23. สืบค้นเมื่อ 2011-04-28.
- ↑ ขับไล่ประชาชนไม่อนุญาตให้อยู่ในพื้นที่ และประกาศเป็นเขตภัยสงคราม (2)[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-13. สืบค้นเมื่อ 2011-04-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-04-26.
- ↑ กฎกระทรวง ฉบับที่ 23[ลิงก์เสีย]